เจาะลึก! ซื้อคอนโดครั้งแรก ภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมดเท่าไร?
คอนโด ที่ถือเป็นสินทรัพย์ครองใจคนยุคใหม่ที่ไม่ต้องการพื้นที่มาก แต่ได้ความสะดวกสบายที่ครบครันซึ่งหากตั้งอยู่ในทำเลดี ๆ ยิ่งง่ายทั้งการเดินทาง การเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบสุด ๆ แต่เมื่อผ่านไปสักพักก็เริ่มจะพบกับค่าใช้จ่ายแฝงซึ่งเป็นคำถามยอดนิยมเกี่ยวกับ ภาษี คอนโด ที่จะพาคุณไปคลายข้อสงสัยว่า ซื้อคอนโดครั้งแรก ภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมดเท่าไร และมีวิธีการคำนวณอย่างไร ?
ทำไมเราต้องจ่ายภาษีที่ดิน และคอนโด
หากสังเกตในชีวิตประจำวันเราต้องจ่ายภาษีทุกวันสิ่งที่สังเกตได้ง่ายสุดก็คงเป็น VAT7% ที่เราจ่ายผ่านการซื้อสินค้าต่าง ๆ ซึ่งในประเทศไทยไม่ได้มีแค่ภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นแต่ยังมีภาษีอื่น ๆ อีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ภาษีที่ดิน และคอนโด ซึ่งเป็นภาษีสำหรับคนที่ถือครองที่ดิน โดยรัฐจะจัดเก็บภาษีเพื่อนำรายได้ไปพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงลดการเก็งกำไรที่ดินทำให้เราต้องจ่ายภาษีที่ดินเหล่านี้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศให้ดีขึ้นนั่นเอง
การคำนวณภาษีที่ดิน และคอนโด
เมื่อรู้ว่าเราต้องจ่ายภาษีที่ดินและคอนโดไปทำไมกันแล้ว ต่อมาก็จะพูดถึงการคำนวณค่าภาษีเพื่อให้เราสามารถนำไปประเมินเบื้องต้นว่าแต่ละปีเราต้องจ่ายภาษีที่ดินและคอนโดเท่าไร? ผ่านขั้นตอนและวิธีการคำนวณ ดังนี้
- การตรวจสอบราคาประเมิน ถือเป็นขั้นตอนแรกที่ควรทำซึ่งจะช่วยให้เราได้คำตอบว่าภาษีที่เราต้องจ่ายประมาณเท่าไรในการประเมินเบื้องต้นไม่ใช่ราคาซื้อขายจริง โดยสามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ประเมินราคาที่ดินที่ กรมธนารักษ์ (https://assessprice.treasury.go.th/)
- ตรวจสอบประเภท ถัดมาก็จะต้องมาตรจสอบประเภทและการใช้งานเนื่องจากหากต่างกันจะทำให้เสัยภาษีคอนโดต่างกันด้วยซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
คอนโดประเภทที่อยู่อาศัย
คอนโดประเภทที่อยู่อาศัย คือคอนโดที่ใช้ในการอยู่ส่วนตัว โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า หรือการลงทุนเชิงพาณิชย์ แต่ทั้งนี้สามารถมีคอนโดมากกว่าหนึ่งที่ได้ แต่จะมีเพียงหลังเดียวเท่านั้นที่จะใช้อยู่อาศัยเป็นหลักซึ่งจะเรียกกันว่า คอนโดหลังแรก ซึ่งจะมีการคิดอัตราภาษี ดังนี้
รายละเอียด | อัตราภาษี (%)
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้าน: | ยกเว้นภาษี
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 50 ล้าน แต่ไม่เกิน 75 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.03
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 50 ล้าน แต่ไม่เกิน 75 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.03
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 75 ล้าน แต่ไม่เกิน 100 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.05
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 100 ล้านบาท | เสียภาษีร้อยละ 0.10
ต่อมาจะเป็นกรณีคอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีที่ดินซึ่งหมายถึงเป็นว่าเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ในคอนโดหลังแรก มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจะคิดอัตราการเสียภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้
รายละเอียด | อัตราภาษี (%)
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินไม่เกิน 10 ล้าน | ยกเว้นภาษี***
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 10 ล้าน แต่ไม่เกิน 50 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.02
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 50 ล้าน แต่ไม่เกิน 75 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.03
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 75 ล้าน แต่ไม่เกิน 100 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.05
- คอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีราคาประเมินเกิน 100 ล้านบาท | เสียภาษีร้อยละ 0.10
กรณีที่ซื้อคอนโดอีกหลัง หรือซื้อเพิ่มเป็นหลังที่สองเป็นต้นไป โดยถือครองกรรมสิทธิ์จะไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเนื่องจากกรมที่ดินมองว่าคอนโดหลังนั้นไม่ได้อยู่อาศัยเป็นหลัก แต่เป็นเพียงหลังสำรองการคิดอัตราภาษีคอนโดหลังที่สองเป็นต้นไปแบบขั้นบันได ดังนี้
รายละเอียด | อัตราภาษี (%) |
- คอนโดมิเนียมหลังที่สองที่มีราคาประเมินไม่เกิน 50 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.02
- คอนโดมิเนียมหลังที่สองที่มีราคาประเมินเกิน 50 ล้าน แต่ไม่เกิน 75 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.03
- คอนโดมิเนียมหลังที่สองที่มีราคาประเมินเกิน 75 ล้าน แต่ไม่เกิน 100 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.05
- คอนโดมิเนียมหลังที่สองที่มีราคาประเมินเกิน 100 ล้าน | เสียภาษีร้อยละ 0.10
คอนโดประเภทเชิงพาณิชย์ (ปล่อยเช่า)
ตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดินและคอนโด
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นถึงการแบ่งประเภทและการใช้งาน รวมถึงการคิดอัตราภาษีคอนโดมิเนียมและเพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้นจะขอยกตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดินและคอนโด
โดยใช้สูตร ภาษีที่ต้องจ่ายต่อปี = (มูลค่าราคาประเมิน – มูลค่ายกเว้น ถ้ามี) x อัตราภาษี
หากคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างคอนโดมิเนียมหลังแรกแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานครในราคาประเมินอยู่ที่ 2.5 ล้าน (จะได้รับการยกเว้นภาษี)
แต่ถ้าหากซื้อในราคาประเมิน 70 ล้าน จะต้องเสียภาษีร้อยละ 0.03
โดยภาษีที่ต้องจ่าย = (65,000,000 – 50,000,000) x 0.03%) จะต้องจ่ายค่าภาษีที่ดินและคอนโดที่ 4,500 บาทต่อปี ส่วนคอนโดหลังที่สองเป็นต้นไปจะไม่มีมูลค่ายกเว้น
หากใครที่กำลังตัดสินใจซื้อคอนโดครั้งแรก ภาษี คอนโด ที่ต้องจ่ายทั้งหมดจะต้องถูกนำไปคำนวณเพื่อชำระเป็นแบบรายปี และอัตราภาษีจะขึ้นอยู่กับประเภท และการใช้งานซึ่งใครที่ซื้อคอนโดมิเนียม หรืออัตราภาษีเพิ่มเป็นหลังที่สองเป็นต้นไปก็จะต้องไม่ได้รับมูลค่ายกเว้นเหมือนคอนโดหลังแรก และต้องทำการจ่ายเงินตามระยะที่กำหนดเพื่อมิให้ถูกปรับในการผิดนัดชำระนั่นเอง