รีโนเวทบ้านเก่า vs ซื้อบ้านใหม่ เลือกแบบไหนดี?
บ้าน คือ ที่อยู่อาศัยเพื่อการพักพิงของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตบนโลกใบนี้อย่างมีความสุข และเชื่อว่าทุกคนต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองที่สุดก็ว่าได้ ดังนั้น ถึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม เราถึงต้องทำงานหนัก เพื่อหารายได้มากขึ้นในการสร้างโอกาสการเป็นเจ้าของบ้านในฝันให้ได้สักครั้ง
และเมื่อบ้านหลังเก่าทรุดโทรมลงตามเวลาจึงมีความคิดอยากจะปรับปรุงสภาพบ้านหลังเก่าให้เป็นบ้านหลังใหม่ และทันสมัยขึ้น นั่นก็คือ การรีโนเวทบ้านเก่า หรืออีกหนึ่งทางเลือก คือการซื้อบ้านหลังใหม่ที่กว้างขวางขึ้น และมีดีไซน์ทันสมัยกว่าบ้านหลังเก่า นี่จึงเป็นอีกปัญหาโลกแตกของคนมีบ้าน ก่อนคิด รีโนเวทบ้านเก่า กับ ซื้อบ้านใหม่ ควรเลือกแบบไหนดีที่สุด
รีโนเวทบ้าน คุ้มกว่า ซื้อบ้านใหม่จริงไหม?
ก่อนตัดสินใจจ่ายเงิน ควรคิดก่อนจะรีโนเวทบ้านเก่า กับ ซื้อบ้านใหม่ ควรเลือกแบบไหนดีกว่านั้น ควรเริ่ม จากการหาข้อมูลเกี่ยวกับการรีโนเวทบ้านหลังเก่ากับซื้อบ้านใหม่มาเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย รวมถึง ความแตกต่างของการรีโนเวทบ้านและการซื้อบ้านใหม่จะเลือกแบบไหนที่คุ้มที่สุด สำหรับใครที่คิดอยาก รีโนเวทบ้านเก่า เรามีเคล็ดลับควรรู้ ก่อนคิด รีโนเวทบ้านว่าคุ้มกว่าซื้อบ้านใหม่จริงไหม?
การตั้งงบ และเป้าหมายการรีโนเวท
ควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการรีโนเวทบ้านไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เช่น การต่อเติมบ้านให้ ทันสมัยขึ้น หรือเพื่อการซ่อมแซมบ้านเก่าที่ทรุดโทรมให้มีสภาพแข็งแรงและสวยงามขึ้น ดังนั้น การวาง เป้าหมายที่ชัดเจนย่อมทำให้เราสามารถวางแผนในงบประมาณการรีโนเวทบ้านครั้งนี้ได้ง่ายขึ้นและยัง
สามารถควบคุมงบประมาณบ้านได้อย่างเหมาะสมไม่บานปลายเป็นไปตามงบประมาณที่ต้องการ ค่าใช้ จ่ายในการรีโนเวทบ้านค่อนข้างสูงและมีโอกาสบานปลายได้ง่าย เพราะมีความแตกต่างกันในเรื่องราย ละเอียดในการก่อสร้างบ้าน เช่น ค่าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง ค่าจ้างแรงงานผู้รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น
การเตรียมงบประมาณสำรองไว้ส่วนหนึ่ง เป็นเรื่องที่จะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต สำหรับเงินสำรองโดยประมาณควรมี 20-30% เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ใน ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น งบประมาณการก่อสร้างอยู่ที่ 200,000 บาท ควรมีเงินสำรองไว้ ประมาณ 40,000 – 60,000 บาท
ควรรู้กฎหมายเกี่ยวกับการรีโนเวท
การรีโนเวทบ้านเป็นการก่อสร้างบ้าน ต่อเติมบ้านในสิ่งปลูกสร้างซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ชัดเจน ก่อนคิดที่จะรีโนเวทบ้าน ควรรู้และเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการต่อเติมบ้าน ตามพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 และ 39 ทวิ กล่าวคือ การจะดัดแปลง ต่อเติมอาคาร ต้องแจ้ง และต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานในพื้นที่ก่อนเสมอ ตามมาตรา 21 พร้อมต้องยื่นแบบแปลน รวมถึง ชื่อสถาปนิกและวิศวกรที่ควบคุมงานเพื่อให้พนักงานอนุญาตก่อนถึงจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ ถ้าฝ่าฝืนก็เป็นการกระทำผิดกฎหมายในสิ่งปลูกสร้าง
ควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายในการก่อสร้างบ้านไว้จะช่วยให้สามารถวางแผนการรีโนเวทหรือก่อสร้าง
บ้านได้ถูกต้องไม่เสียทั้งเวลาและงบประมาณก่อสร้าง เช่น กฎหมายห้ามต่อเติมอาคารเต็มพื้นที่ ดินต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไม่น้อยกว่า 30% คือ ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของที่ดิน และที่ว่างโดยรอบอาคาร ถ้าอาคารสูงน้อยกว่า 15 เมตร ต้องมีที่ว่างโดยรอบ 1.00 เมตร ถ้าอาคาร สูงตั้งแต่ 15 เมตร ต้องมีที่ว่าง โดยรอบ 2.00 เมตร เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้อยู่อาศัย และบ้านใกล้เรือนเคียง รวมถึงการก่อสร้างนั้นต้องไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านอีกด้วย เป็นต้น
จัดหาทีมก่อสร้างหรือผู้รับเหมาก่อสร้างบ้านที่มีประสบการณ์ที่เชื่อถือได้
ต่อไปเป็นเรื่องของทีมก่อสร้าง หรือผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ในการสร้างบ้าน เราควรหาข้อมูลที่มี ความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์อย่างมืออาชีพ เพื่อค้นหาทีมก่อสร้างหรือผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งแบบใน นามบุคคลธรรมดาหรือบริษัทรับเหมาสร้างบ้าน อาจมีคนรู้จักแนะนำจากการเคยใช้บริการ หรือมีประวัติ การทำงานที่น่าเชื่อถือในผลงานการสร้างบ้านที่ผ่านมา
แนะนำว่าควรทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายและระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน กำหนดเวลาที่แน่นอน และควรมีการรับประกันผลงานหลังงานเสร็จจะดีมากหากเป็นไปได้ เพื่อไม่ต้องปวดหัวจากปัญหาการก่อสร้างบ้านตามมาภายหลังในกรณีส่งมอบงานไม่สมบูรณ์ ทำงานล่าช้า ทิ้งงาน รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างของผู้รับเหมาทั้งสิ้น เป็นต้น
กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจนเพื่อควบคุมการก่อสร้างตามข้อตกลงหรือสัญญาว่าจ้าง
เมื่อสามารถวางเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณในการรีโนเวทบ้านแล้ว และมีทีมงาน รับเหมาก่อสร้างเพื่อเตรียมพร้อมในการเริ่มต้นก่อสร้างบ้าน สุดท้ายก่อนตกลงเริ่มงาน ควรมีการทำสัญญา ว่าจ้างรับเหมาก่อสร้างและควรมีการกำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ชัดเจนในสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้าน สำหรับระยะเวลาในการก่อสร้างบ้านหรือรีโนเวทบ้านนั้นมีผลต่องบประมาณบ้านอย่างมาก เพราะเมื่อการ ดำเนินการก่อ สร้างบ้านมีระยะเวลาที่นานเกินไปหรือเกินกำหนดสัญญา ย่อมจะมีผลให้เกิดปัญหาตามมา อีกมากมาย อาจเกินการควบคุม ทั้งเวลาและงบประมาณบ้านอาจบานปลาย การกำหนดระยะเวลาที เหมาะสมนั้น ควรพิจารณาจากรายละเอียดในการก่อสร้างหรือรีโนเวทบ้านซึ่งสามารถกำหนดตามระยะ เวลาส่งมอบงานได้ตามความเป็นจริง ข้อนี้สามารถตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เป็นต้น
การกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างที่ชัดเจน เป็นการช่วยลดปัญหางานล่าช้า เพื่อเป็นการ ควบคุมงานให้รอบคอบและให้งานก่อสร้างได้ดำเนินต่อเนื่องให้แล้วเสร็จในเวลาที่กำหนดไว้ หากเกิดปัญหาขึ้นอาจทำให้เสียเวลาในการแก้ไขงานใหม่ อย่างไรก็ตามการกำหนดระยะเวลา อาจจะมีการคลาดเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างการก่อสร้างตามความเหมาะสม
การวางแผนก่อนตัดสินใจเรื่องบ้านเป็นเรื่องใหญ่ สำหรับใครที่คิดจะรีโนเวทบ้านเก่าและที่สำคัญต้องคิด อย่างรอบคอบ และต้องยอมรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการรีโนเวทบ้านอาจบานปลายเสียทั้ง เวลาและงบประมาณบ้านที่สูง ดังนั้น หากใครอ่านบทความนี้จบแล้ว อาจตัดสินใจเลือกซื้อบ้านใหม่แทน การรีโนเวทบ้านเก่าก็เป็นไปได้ แต่เราต้องยอมรับภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในการผ่อนบ้านไปอีกหลายปีให้ได้ อย่างไร ก็ตามอยากบอกทุกคนว่า การมีบ้านและดูแลบ้านเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าเราจะเลือกแบบไหน ควรเลือก แบบที่สามารถตอบโจท์ความต้องการและพิจารณาถึงความคุ้มค่าทั้งเรื่องเวลาและงบประมาณบ้านที่ต้องจ่ายไปนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด