ลูกหนี้มีเฮ! แบงก์ชาติประกาศมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ดอกเบี้ยต่ำลงภายใน 5 ปี
ปัญหาหนี้สินเป็นปัญหาที่ยังคงอยู่คู่กับประชาชนชาวไทย นั่นก็เป็นเพราะว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพสักเท่าไหร่ ทำให้ถึงแม้ว่าเราอาจจะได้รายได้เป็นจำนวนไม่น้อย แต่เมื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมันก็แทบจะไม่เพียงพอ หากเกิดปัญหาฉุกเฉินขึ้นมาอย่างเช่นประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาล หนึ่งในทางเลือกของหลายคนก็อาจจะเป็นการกู้หนี้ยืมสิน ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ที่ไปขอกู้หนี้ยืมสินเป็นผู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถหาเงินมาคืนได้ตามปกติ บางคนพยายามอย่างถึงที่สุดแล้ว แต่ก็ยังคงไม่สามารถบริหาร และวางแผนการเงินให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ จนกลายเป็นปัญหาหนี้เสียและหนี้สินเรื้อรัง ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง เพื่อช่วยแก้ปัญหาสภาพทางการเงินของลูกหนี้ให้หมดไปจากสังคมไทย เพื่อที่ทุกคนจะได้ลืมตาอ้าปากกันนั่นเอง
เปิดมาตรการแก้หนี้เรื้อรังจากแบงก์ชาติ
มาตรการแก้หนี้เรื้อรังเกิดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่าหนี้ครัวเรือนในชุดข้อมูลใหม่ที่รวมสินเชื่อภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ และที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับอย่างเช่นสินเชื่อเพื่อการศึกษา สินเชื่อสหกรณ์ สินเชื่อรถยนต์ ทำให้หนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาสแรกของปี 2556 เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจจาก 86.3% กลายเป็น 90.6% รวมเป็นจำนวนเงินสูงถึง 16 ล้านล้านบาท
ด้วยเหตุนี้ ทางแบงก์ชาติจึงเตรียมการออกแนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย ซึ่งจะครอบคลุมปัญหาวงจรหนี้ตลอดทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการก่อหนี้อย่างมีคุณภาพ การดูแลหนี้สินก้อนเดิม โดยเฉพาะหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นรายได้หรือกลุ่มหนี้เรื้อรัง จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
เจ้าหนี้ต้องปิดหนี้ให้จบภายในระยะเวลา 4 ปี
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนด Intended Outcome ให้ลูกหนี้สามารถปิดหนี้เรื้อรังได้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 4 ปีเท่านั้น โดยจากกำหนดการปิดหนี้ตามกลุ่มของลูกหนี้ General PD นั่นก็คือลูกหนี้ที่ผ่อนชำระหนี้ปีที่ 1 ถึงปีที่ 2 และยังไม่สามารถปิดหนี้ได้ ยกตัวอย่างกลุ่มที่ชำระหนี้ด้วยสัดส่วนดอกเบี้ยที่สูงกว่าเงินต้น อย่างเช่น ลูกหนี้ที่กู้เงินเป็นจำนวน 200,000 บาท ดอกเบี้ย 23% ต่อปี จ่ายชำระดอกเบี้ยขั้นต่ำ 4 เปอร์เซ็นต์ต่อเนื่อง เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 ดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วกลับสูงกว่าเงินต้นเสียอย่างนั้น กลุ่มนี้จะถูกจัดให้เป็นลูกหนี้เรื้อรัง
ดังนั้น จึงต้องมีการผลักดันให้ลูกหนี้สามารถหลุดออกจากวงจรการเป็นหนี้สินด้วยการปิดหนี้ให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของเงินต้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้มีการกำหนดให้สถาบันทางการเงินหรือแม้แต่ผู้ให้บริการทางการเงิน ทำการส่ง Notification Letter ให้กับลูกหนี้ของตนเพื่อแจ้งว่าลูกหนี้เหล่านั้นเป็นลูกหนี้เรื้อรัง เนื่องจาก มีการจ่ายชำระดอกเบี้ยสูงกว่าเงินต้นเป็นระยะเวลาติดต่อกันตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ลูกหนี้ควรมีการเพิ่มจำนวนเงินในการชำระหนี้เพื่อให้สามารถปิดหนี้ได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
บังคับธนาคารลดดอกเบี้ยช่วยลูกหนี้ 8-12 %
ทางธนาคารแห่งประเทศไทยมีมาตรการที่ช่วยให้ลูกหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้เรื้อรังสามารถชำระหนี้ได้สบายมากขึ้นกว่าเดิม ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถติดหนี้ให้สำเร็จได้ในระยะเวลา 3 ปี จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Severe PD ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้จะต้องเข้าสู่มาตรการจัดการหนี้สินอย่างเข้มข้น
โดยจะมีการกำหนดให้ผู้ให้บริการมอบทางเลือกให้กับลูกหนี้ ด้วยวิธีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถปิดหนี้ได้ในระยะเวลา 4 ปี ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถติดหนี้ได้ด้วยตัวเองภายในปีที่ 3 และการเป็นหนี้สินเข้าสู่ปีที่ 4 เจ้าหนี้จะถูกบังคับลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยเหลือที่ประมาณ 8% หรือ 12% ต่อปี แล้วแต่ความเสี่ยงของลูกหนี้แต่ละคน
อย่างเช่น หากเราเป็นลูกหนี้ธนาคารโดยจ่ายดอกเบี้ย 24% ต่อปี เจ้าหนี้จะต้องลดดอกเบี้ยของเรามากที่สุดอยู่ที่ 12% ต่อปี ลูกหนี้ก็จะสามารถผ่อนชำระหนี้ด้วยดอกเบี้ยที่ถูกลงเป็นจำนวนกว่า 12% ต่อปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยที่ลดน้อยลงเกือบครึ่งหรือเกินครึ่ง ดังนั้นจึงต้องเร่งกระบวนการชำระหนี้สินให้จบโดยเร็ว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี
หากลูกหนี้เข้าสู่มาตรการดังกล่าวและยังไม่สามารถติดหนี้ในระยะเวลา 4 ปีได้อีก ก็จะถูกติดธงบนฐานข้อมูลของเครดิตบูโร มีการติดรหัสลูกหนี้เช่นเดียวกับลูกหนี้กลุ่มอื่นที่มีปัญหา ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถขอสินเชื่อได้ไปจนถึงในปีที่ 5 ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีหนี้เสียหรือการค้างชำระหนี้สินแต่อย่างใด สาเหตุที่ต้องทำเช่นนี้เพื่อให้ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาหนี้สินเรื้อรังให้เร็วที่สุด ไม่เช่นนั้นผลกระทบที่จะตามมาจะโดนทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้เอง
การป้องกันหนี้สินเรื้อรังในอนาคต
เป็นหนึ่งในมาตรการแก้หนี้เรื้อรังของทางธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะทำควบคู่กันไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้สินเรื้อรังต่อไปในอนาคต ด้วยการกำหนดให้ผู้ให้บริการมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ยเริ่มต้นไปจนถึงดอกเบี้ยสูงสุด มีการเปรียบเทียบข้อมูลดอกเบี้ย ระยะเวลาในการปิดหนี้ ให้ลูกหนี้เห็นภาพว่าระหว่างการจ่ายขั้นต่ำ และการจ่ายชำระเต็มจำนวนจะส่งผลต่อตัวลูกหนี้อย่างไร
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมให้ลูกหนี้ชำระหนี้อย่างตรงเวลา หรือมีการชำระหนี้มากกว่าดอกเบี้ยหรือขั้นต่ำ เจ้าหนี้จะต้องมีการแจ้งเตือนก่อนวันครบกำหนดชำระ มีข้อมูลเปรียบเทียบดอกเบี้ย รวมไปถึงระยะเวลาการปิดหนี้บนใบแจ้งหนี้อย่างครบถ้วน เพื่อให้ลูกหนี้ได้เห็นว่าการจ่ายชำระขั้นต่ำหรือการจ่ายชำระเต็มจำนวนจะส่งผลดีผลเสียต่อตนเองอย่างไร
รวมกลุ่มเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการแก้หนี้เรื้อรัง
- กลุ่มหนี้เสียในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ส่วนมากจะเป็นหนี้ส่วนบุคคลและหนี้สินในการเกษตร ประกอบไปด้วยหนี้สินกับสถาบันทางการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล 70% สถาบันทางการเงินที่มิใช่ธนาคาร 20% ธนาคารพาณิชย์ 10% ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้ฟื้นฟูและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างรวดเร็ว
- กลุ่มนี้เรื้อรังที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่ไม่สามารถปิดหนี้ได้ เป็นหนี้สินที่มักจะเกิดจากการกู้เจ้านั้นไปโปะเจ้านี้ การจ่ายชำระบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดขั้นต่ำ การกู้สหกรณ์จนถึงวัยเกษียณ หนี้สินของเกษตรกรที่ชำระเฉพาะดอกเบี้ย ทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่าลูกหนี้ที่ปกติแต่เรื้อรังส่วนนี้ควรหาวิธีการปิดหนี้ให้เร็วที่สุด และหลุดจากกับดักทางการเงิน เพื่อลดโอกาสที่จะพัฒนาจนกลายเป็นหนี้เสีย
- ลูกหนี้ใหม่ที่อาจกลายเป็นหนี้เรื้อรังหรือหนี้เสียในอนาคต อย่างเช่นกลุ่มหนี้เกษตรกร หนี้สินบัตรเครดิต หนี้สินสินเชื่อส่วนบุคคล ทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหวังว่าหนี้ใหม่เหล่านี้จะต้องมีคุณภาพ รูปนี้จะต้องมีประวัติการชำระเงินคืนที่ดี เพื่อที่จะได้เงื่อนไขสินเชื่อที่ดีขึ้นกว่าเดิม ประชาชนสามารถบริหารทั้งการเงินและหนี้สินของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ จึงมีการสนับสนุนให้กลุ่มลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระเงินคืนดี ได้รับเงื่อนไขสินเชื่อที่ดีมากกว่า
- กลุ่มนี้ที่ยังไม่ถูกนับตัวเลขรวมในหนี้สินครัวเรือน และอาจมีปัญหาในอนาคต อย่างเช่นสินเชื่อสหกรณ์ หนี้นอกระบบ หรือนี่กองทุนให้ยืมเพื่อการศึกษา ทางธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหวังว่าระบบติดตามหนี้สินครัวเรือนจะครอบคลุมเพียงพอ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่ในระบบตามต้นทุนที่ตรงไปตามความเสี่ยงของตนเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่รายได้ไม่แน่นอน ลูกหนี้จะต้องได้รับสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยเหมาะสมกับความเสี่ยงของตนเอง
สรุปแล้ว มาตรการแก้หนี้เรื้อรังของทางธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นมาตรการที่จะช่วยให้ลูกหนี้ที่มีหนี้สินเรื้อรัง หรืออาจมีโอกาสพัฒนาไปเป็นหนี้สินเรื้อรังสามารถนำเอาเงินที่ขอสินเชื่อไปใช้ให้เกิดคุณภาพ สามารถบริหารจัดการทางการเงินและหนี้สินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปิดหนี้ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบในแง่ลบที่จะตามมาในภายหลัง ในขณะเดียวกันเอง มาตรการก็ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการเช่นเดียวกัน ผู้ให้บริการจึงจะปล่อยสินเชื่ออย่างรัดกุมและรอบคอบมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียกับทั้งตนเองและลูกหนี้ตามมาในอนาคต