ไขข้อข้องใจ ปรับโครงสร้างหนี้ เสียประวัติไหม ติดเครดิตบูโรหรือเปล่า มีคำตอบ
เมื่อรายรับไม่พอรายจ่ายทำให้ค้างจ่ายหนี้ แต่ก็ไม่หนี ไม่จ่ายเพราะไม่รู้จะหมุนยังไงให้ทันเลยปล่อยทิ้งไว้ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า แม้จะเป็นหนี้ที่ไม่ต้องมีหลักประกันอาทิ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรืออื่น ๆ ก็สามารถถูกฟ้องดำเนินคดียึดทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มีได้จึงแนะนำให้เข้ากระบวนการเจรจาต่อรองเพื่อแก้หนี้ โดยหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยแก้หนี้ คือ ปรับโครงสร้างหนี้เสีย แต่จะประวัติเสียไหม ? วันนี้มีคำตอบ
การปรับโครงสร้างหนี้ คืออะไร ?
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้ที่เรายังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระเพราะการผิดนัดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ทำให้ถูกคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระและมีประวัติค้างจ่ายในข้อมูลเครดิตบูโร โดยในปัจจุบันยังมีการปรับโครงสร้างหนี้หลายวิธี เช่น ลดค่างวดโดยการขยายเวลาในการจ่ายหนี้ หรือเป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยซึ่งแต่ละวิธีจะมีผลแตกต่างกันต่อประวัติเครดิตบูโรจึงควรสอบถามสถาบันทางการเงินให้ดีก่อนตัดสินใจ
5 วิธีปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะกับตนเอง
การปรับโครงสร้างหนี้แม้จะเป็นวิธีที่น่าสนใจแต่ถึงอย่างไรเราก็ควรจะประเมินสถานการณ์ของตนเองก่อนตัดสินใจว่าวิธีไหนจะเหมาะสมมากกว่ากัน มาดูกันเลย
1.เปลี่ยนประเภทหนี้ สำหรับใครที่มีรายรับไม่ได้เปลี่ยนแปลง หรือลดลงมาก แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่ดอกเบี้ยลดลงการเปลี่ยนประเภทหนี้ถือเป็นวิธีที่น่าสนใจ เช่น หากเป็นหนี้บัตรเครดิตแต่ผิดนัดชำระจ่ายไม่ตรงเวลาจะถูกคิดดอกเบี้ยต่อปีสูงถึง 16% ต่อปี การขอสินเชื่อแบบมีระยะเวลากำหนดโดยมีระยะเวลาจ่ายคืนที่ชัดเจนขึ้นและอัตราดอกเบี้ยลดลงต่ำกว่า 16% เป็นวิธีที่ดีกว่าแต่ทั้งนี้จะต้องมั่นใจว่าสามารถจ่ายคืนชำระได้จริงตามงวดที่กำหนดจึงจะเป็นวิธีที่เหมาะกับคุณ
2.รีไฟแนนซ์ จะเป็นวิธีที่ใช้ในการปิดหนี้ก้อนเก่าเพื่อย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่ต้องมั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าซึ่งส่วนใหญ่มักจะรีไฟแนนซ์กับหนี้บ้าน หรือรถยนต์ แต่จริง ๆ แล้วยังรวมถึงการรีไฟแนนซ์หนี้อื่น ๆ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสดได้อีกด้วย แต่วิธีนี้อาจฟังแล้วดูดี แต่ก็ต้องคิดถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าเปลี่ยนแปลงสัญญา ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับที่อาจจะเกิดขึ้นจากเจ้าหนี้รายเดิมจึงต้องลองคำนวณดูว่าคุ้มค่าหรือไม่ ?
3.ลดอัตราดอกเบี้ย ต่อมาจะเป็นวิธีการขอลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนี่เดิมที่มีอยู่ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้ที่มีอยู่ต้องจ่ายลดลงบางส่วน แต่ส่วนใหญ่วิธีนี้สถาบันทางการเงินมักจะอนุมัติสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้กะทันหันเช่น ตกงาน ซึ่งลดอัตราดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือน จึงเหมาะกับคนที่กำลังตกงาน หรือขาดรายได้กะทันหันเพราะเป็นการแก้ปัญหาหนี้ระยะสั้น ๆ เท่านั้น
4.พักชำระเงินต้น จะเป็นวิธีที่เราจะไม่ต้องจ่ายเงินต้น แต่ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่มักจะพักชำระเงินต้นประมาณ 3 เดือน – 1 ปีซึ่งจะเหมาะกับคนที่รายได้ลดลงไม่นานและจะกลับมามีเงินในการชำระหนี้ตามเดิม แต่สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือ เรายังคงจ่ายดอกเบี้ยอยู่ตลอด แต่เงินต้นไม่ลดลงตามกำหนดเวลาเดิมซึ่งถ้าหากจำเป็นหลังพักชำระหนี้ จะต้องตกลงกับสภาบันการให้ดีว่าหลังจากพักชำระหนี้ไปแล้วจะต้องจ่ายเงินคืนแบบไหน ที่สำคัญ! ให้ประเมินตนเองว่าเราจ่ายไหวไหม พร้อมกับดูรายละเอียดเงื่อนไขจำนวนเงินต้นอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ หรืออาจจะมีการทำสัญญาใหม่เกิดขึ้น (แล้วแต่กรณี)
5.ขยายเวลาชำระหนี้ จะเป็นวิธีที่ทำให้เราเป็นหนี้นานขึ้น แต่ผ่อนชำระค่างวดแต่ละงวดลดลงซึ่งเราสามารถขอขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้นได้เป็นหลักปี อาทิ เช่นจากเดิมที่จ่ายอยู่ที่ 15 ปีเปลี่ยนเป็น 20 ปี แต่ทั้งหมดนี้จะขึ้นอยู่กับยอดหนี้ ประเภทหนี้ ฐานะทางการเงินของลูกหนี้ รวมถึงอายุของลูกหนี้ว่าเหมาะสมต่อการขยายเวลาในการชำระหนี้หรือไม่ ? เพื่อพิจารณาความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นซึ่งอาจจะไม่อนุมัติหากอายุสัญญาเดิมใกล้กับเวลาที่เกษียณอายุจากงาน
การปรับโครงสร้างหนี้ เสียประวัติไหม คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการเงิน ว่าจะมีเงื่อนไขในการกำหนดเรื่องเครดิตบูโรอย่างไร แต่ส่วนใหญ่จะไม่เสียประวัติ หากมีการเข้ามาขอเจรจา หรือเจ้าหนี้ยังทวงติดตามได้ แต่ลูกหนี้ก็จะต้องไม่เพิกเฉย ไม่สนใจ หรือหนีหายเพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ประวัติเสีย ยังทำให้ถูกฟ้องและถูกบังคับคดีชำระเงินคืนแบบเต็มจำนวน ไม่ลดลง แต่ถ้าหากมีการเจราจา ปรับโครงสร้างภาษีจะช่วยลดหนี้ที่มีอยู่รวมถึงภาระการผ่อนแต่ละงวดได้อย่างเหมาะสมซึ่งเราจะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของแต่ละวิธีในการปรับโครงสร้างหนี้ว่าวิธีไหนดีกว่ากัน ก่อนตัดสินใจ