เช็ก 7 ทางรอด เริ่มจ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหว ทำยังไงดี
ใครก็ตามที่เริ่มรู้สึกหาเงินมาหมุนในแต่ละเดือนไม่ทัน ภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่าปกติ และเริ่มจ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหว ทำยังไงดี? ซึ่งจะพาไปเช็คสัญญาณเตือนที่จะบอกให้คุณรู้ว่าเริ่มจ่ายไม่ไหว พร้อมวิธีแก้หนี้บัตรเครดิตแต่ละแบบว่าควรหาทางออกอย่างไร รวมถึงแหล่งสถาบันการเงิน หรือธนาคารไหนที่จะช่วยคุณเจอทางออกของเรื่องนี้ได้บ้างซึ่งอย่ารอช้า! ไปเริ่มกันเลย
สัญญาณเริ่ม จ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหว ทำยังไงดี
ก่อนอื่นเลย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มจ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ไหวซึ่งไม่ยากเลยเพราะสามารถเช็คสัญญาณเตือนเบื้องต้นที่จะช่วยบอกให้คุณรู้ว่าเริ่มจ่ายค่าบัตรไม่ไหว ดังนี้
- เริ่มผ่อนไม่ตรงเวลา ผ่อนชำระไม่เต็มจำนวน เริ่มจ่ายแค่ขั้นต่ำ สิ่งเหล่านี้จะเป็นสัญญาณเตือนเบื้องต้นว่าสภาพคล่องทางการเงินของคุณกำลังมีปัญหา
- ใช้จ่ายบัตรเต็มวงเงิน มีบัตรหลายใบที่มียอดใช้จ่ายทุกบัตรเครดิต เช่น ถือบัตรทั้งหมด 3 ใบแต่มีการรูดใช้จ่ายเต็มวงเงินถึง 2 ใบใบละ 30,000 บาท ส่วนอีกใบเริ่มมีการรูดใช้จ่ายบางส่วนนี่ถือเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ
- กดเงินสดจากบัตร บ่อยขึ้น หยิบยืมทุกเดือนและจ่ายแค่ขั้นต่ำเพื่อนำไปหมุนเวียนไม่ว่าจะใช้จ่ายส่วนตัว ฉุกเฉิน หรือเพื่อคนในครอบครัว
- เริ่มหยิบยืมคนใกล้ตัว เนื่องจากต้องนำไปเงินไปทยอยคืนค่าบัตรเครดิตแต่ละเดือน หรือไม่พอในการใช้จ่ายในชีวิตประวันซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทและไม่สนิท
- หันไปกู้เงินนอกระบบแทนเนื่องจากไม่สามารถกู้เงินจากแหล่งสถาบันการเงิน หรือหยิบยืมคนใกล้ตัวได้แล้ว
สิ่งเหล่านี้มักจะเริ่มมาจากพฤติกรรมการเงินที่เริ่มไม่พอใช้่ขยับมารูดบัตรจนเต็มวงเงิน หรือจ่ายแค่ขั้นต่ำไปทุกเดือน เมื่อกู้แหล่งการเงินไม่ได้ก็ ทยอยมาหยิบยืมคนใกล้ตัว เมื่อไม่ได้อีกก็จะหันไปกู้เงินนอกระบบที่ยิ่งทำให้ปัญหาทางการเงินของคุณวนไปแบบไม่รู้จบซึ่งเราสามารถหยุดวงจรนี้ได้
7 วิธีหยุดวงจรหนี้บัตรเครดิต
-
ทำรายรับ-รายจ่าย
เป็นวิธีพื้นฐานที่จะช่วยให้คุณเห็นความเป็นมาของเงินจากรายได้และรายจ่ายแต่ละเดือนว่ามีที่มาที่ไปแบบไหน ใช้จ่ายไปกับประเภทไรบ้าง ค่าใช้จ่ายคงที่มีอะไรบ้าง ส่วนไหนสามารถลดค่าใช้จ่ายได้บ้างเพื่อนำไปวางแผนการแก้หนี้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ควรปกปิดข้อมูล
-
ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
สิ่งนี้สามารถอิงมาจากการทำรายรับรายจ่ายที่จะเห็นว่ามีลิสต์รายการค่าใช้จ่ายใดบ้างที่ฟุ่มเฟือย หรือไม่จำเป็นซึ่งหากไม่รู้ว่าอะไรไม่จำเป็นลองนึกถึงชานมไข่มุก 1 แก้วที่จ่ายทุกวัน แค่กินก็อร่อย รู้สึกดี แต่ไม่กินก็ได้ หรือเสื้อผ้าที่ต่อให้ซื้อ หรือไม่ซื้อก็ไม่ส่งผลกระทบกับการไปทำงาน หรือชีวิตส่วนตัว แต่หากเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่ารถที่ต้องผ่อนเพื่อมีรถับไปทำงาน ค่าเช่าบ้านที่ต้องอยู่เพื่อมีแหล่งอาศัย ลดการทานข้าวนอกบ้านมาทานในบ้านมากขึ้น หรือพกข้าวไปทานที่ทำงานแทนออกไปข้างนอก เป็นต้น
-
เปิดใจคุยกับธนาคาร
เข้าไปคุยกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เป็นหนี้โดยตรง เพื่อร่วมวางแผนหาทางออกร่วมกันโดยควรเล่าสาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมถึงไม่สามารถชำระเงินคืนได้
-
เข้าร่วมโครงการแก้หนี้
โครงการแก้หนี้ อาทิ Debtclinicbysam ซึ่งจะเป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นหนี้เสีย (NPL) ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันเพื่อเข้าสู่กระบวนการเจรจาหาทางออกเพื่อให้ลูกหนี้ผ่อนไหวและสามารถทยอยจ่ายคืนธนาคาร หรือสถาบันการเงินได้ครบจำนวน
-
รีไฟแนนซ์
รีไฟแนนซ์หนี้ทั้งหมดเป็นเงินก้อนเดียว เพื่อที่จะช่วยผ่อนชำระจากเงินกู้หลาย ๆ ก้อนให้เป็นเงินก้อนเดียวที่ค่อนข้างจะจัดการได้ง่ายกว่าซึ่งค่อนข้างลดภาระการผ่อรลงได้มากจากการเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้นและในค่างวดที่คำนวณแล้วว่ามีความสามารถในการจ่ายได้เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบสูงกว่า
-
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณปรับตัวในช่วงที่เงินขาดมือ หรือขาดสภาพคล่องทางการเงิน เช่น การขอปรับลดเงื่อนไขการผ่อน หรือจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยอย่างเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง
-
หาช่องทางรายได้เพิ่มเติม
เพิ่มรายได้อีกทาง เช่น การขายของออนไลน์ เปิดติวเตอร์ ทำบล็อก รับหิ้วของ ขายเสื้อผ้ามือสอง หรืออื่น ๆ ที่เรากำลังสนใจอยากหางานเพื่อเพิ่มรายได้อีกช่องทาง โดยอาจจะมาจากความถนัดที่มีอยู่เพื่อนำมาลองหารายได้ หรือขายของที่ไม่ใช้แล้วเพื่อนำเงินก้อนนั้นช่วยโป๊ะหนี้
สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาให้ลองนำทั้ง 7 วิธีไปลองพิจารณาดูว่าวิธีไหนจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์แบบเราซึ่งควรเรื่มต้นจากการประเมินสุขภาพทางการเงินว่ามีปัญหาหรือไม่และมาเริ่มลงมือทำแผนรายรับรายจ่ายเพื่อแยกยอดให้แน่ชัดว่ามีการใช้จ่ายอะไรไปบ้างในแต่ละเดือนและสามารถตัดลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอะไรได้บ้าง จากนั้นก็ไปคุยข้อเท้จจริงกับธนาคารว่าไม่สามารถผ่อนได้เพื่อหาทางออกร่วมกัน หรือจะเข้าร่วมโครงการแก้หนี้ต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างหนี้ รีไฟแนนซ์เป็นหนี้ก้อนเดียวเพื่อจัดการบริหารทางการเงินให้ดีขึ้นนั่นเอง