ติดบูโร ซื้อรถได้มั้ย ทำอย่างไรให้ออกรถได้ผ่านฉลุย
การเป็นหนี้ไม่ใช่ว่าจะไม่ดีเสมอไป ถ้าหากการก่อหนี้นั้นเกิดเป็นรายได้ หรือสร้างประโยชน์ให้กับเราในอนาคตโดยไม่สูญเปล่าก็จะถือเป็นหนี้ดี แต่ก็มีหนี้เสีย ที่มักจะมีผลตามมาซึ่งอาจจะส่งผลต่อการทำธุรกิจ หรือที่รู้จักกันว่าการติดเครดิตบูโร ซึ่งเราจะพาไปทำความรู้จักว่าคืออะไร รู้ได้อย่างไรว่าติดเครดิตบูโร พร้อมไขข้อสงสัยหากติดบูโร ซื้อรถได้มั้ย ทำอย่างไรให้ออกรถได้ผ่านฉลุย และข้อควรรู้ต่าง ๆ เพื่อให้คุณรับมือได้ทันและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
รู้จักเครดิตบูโร ข้อมูลทางการเงิน
การติดเครดิตบูโรหรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “การติดแบล็กลิสต์” จะหมายถึง การมีประวัติค้างชำระ หรือผิดนัดชำระหนี้กับทางสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่มีการส่งข้อมูลสินเชื่อของลูกหนี้ให้แก่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือภาษาอังกฤษชื่อว่า National Credit Bureau (NCB) ที่จะทำการรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่ได้รับจากสถาบันการเงิน หรือะนาคารมาใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาสินเชื่อให้กับลูกค้าแต่ละรายซึ่งเปรียบเสมือนการตรวจสุขภาพทางการเงินของลูกค้าว่ามีประวัติการเงินที่ดี หรือประวัติทางการเงินที่เสียนั่นเอง
รู้ได้อย่างไรว่าติดเครดิตบูโร?
หากจะถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีประวัติการเงินที่ดี หรือประวัติเสียทางการเงินหรือไม่ ? ส่วนหนึ่งน่าจะเดาได้จากพฤติกรรมเพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ติดเครดิตบูโรจะเป็นบุคคลที่มีภาระหนี้ค้างชำระค่าใช้จ่ายในบัตรเครดิตกับทางสถาบันการเงินที่ได้สมัครไว้โดยปล่อยยอดหนี้ค้างชำระจนล่วงเลยเวลาครบกำหนดเนื่องจากไม่พร้อมชำระหนี้ ไม่มีเงินเพียงพอต่อการชำระจนมักจะกลายเป็นผู้ติดบูโร หรือติดแบล็กลิสต์ในที่สุดและเพื่อให้เกิดความมั่นใจ หายสงสัยว่าตนเองติดเครดิตบูโร หรือไม่สามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ง่าย ๆ ดังนี้
วิธีตรวจสอบเครดิตบูโร
ในปัจจุบันเรามีวิธีการตรวจสอบเครดิตบูโรด้วยกันทั้งหมด 2 วิธีหลัก ๆ ที่สามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้
-
ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเอง
สามารถทำได้ทั้งทางออนไลน์และไปติดต่อที่ทางศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ โดยหากไม่สะดวก เวลาน้อยแนะนำให้ตรวจสอบเครดิตบูโรผ่านแอพธนาคารซึ่งจะมีตัวเลือกเปิดให้ “ตรวจสอบสถานะเครดิตบูโร” ที่สามารถรับเอกสารผ่านทางอีเมล์ หรือให้จัดส่งเอกสารมาตามที่อยู่ผ่านทางไปรษณีย์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายตามที่แต่ละธนาคารกำหนด ส่วนระยะเวลาจัดส่งก็จะอยู่ที่ 2 – 7 วัน แต่สำหรับใครที่ไปติดต่อด้วยตนเอง แนะนำให้พกบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทางเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่
-
ตรวจเครดิตบูโรโดยให้คนอื่นแทนตนเอง
เหมาะกับคนที่ไม่สะดวก ไม่มีเวลาและไม่อยากทำผ่านแอพก็สามารถให้ตัวแทน (ผู้รับมอบอำนาจ)ไปติดต่อที่ทางศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติซึ่งต้องเตรียมเอกสารหนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดาพร้อมลายเซ็นผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ รวมถึงสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจที่ต้องลงลายมือชื่อแล้วนำไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอตรวจสอบสถานะเครดิตบูโรได้โดยตรง โดยระยะเวลาในการรับเอกสารขึ้นอยู่เจ้าหน้าที่ในการดำเนินการ รวมถึงการเตรียมเอกสารว่ามีความพร้อมหรือไม่
หมายเหตุ: ภายหลังจากรับเอกสารพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง สามารถยื่นคำร้องเพื่อแก้ไขข้อมูลได้ในภายหลัง
หลักเกณฑ์ในการประเมินผู้ติดเครดิตบูโร
ต่อมาจะเป็นหลักเกณฑ์ในการประเมินผู้ติดเครดิตบูโรโดยจะใช้หลักเกณฑ์ตามดัชนีตัวเลข ดังนี้
– หมายเลข 10: ผู้ใช้บัตรเครดิตบัญชีนี้มีสถานะ “ไม่ติดเครดิตบูโร” ซึ่งเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมการจ่ายเงินตามนัดหมายครบถ้วน ตรงต่อเวลาและไม่มียอดหนี้ชำระค้างใด ๆ
– หมายเลข 11: ผู้ใช้บัตรเครดิตบัญชีนี้มีสถานะ “ปิดบัญชี” คือเคยมีประวัติการติดเครดิตบูโร แต่ได้มีการชำระเครดิตบูโรกับการขอสินเชื่อที่ค้างไว้หมดสิ้นจนสามารถปิดบัญชีได้เรียบร้อย
– หมายเลข 12: ผู้ใช้บัตรเครดิตบัญชีนี้มีสถานะ “พักชำระหนี้” โดยจะอยู่ภายใต้โครงการของรัฐทำให้ไม่ติดเครดิตบูโร
– หมายเลข 20: ผู้ใช้บัตรเครดิตบัญชีนี้มีสถานะ “มีหนี้ชำระค้าง” ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน) ทำให้ผู้ได้รับหมายเลขนี้ติดเครดิตบูโรและอาจจะมีโอกาสถูกปฎิเสธในการขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินค่อนข้างสูง
ติดบูโร ซื้อรถได้มั้ย
ต่อมาจะเป็นคำถามที่หลายคนสงสัยว่า “ติดบูโร ซื้อรถได้มั้ย” ซึ่งโดยปกติแล้วการขอสินเชื่อเพื่อออกรถนั้นนอกจากสถาบันการเงินจะประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราแล้ว ทุกครั้งมักจะมีการตรวจสอบประวัติเครดิตบูดรของผู้ขอสินเชื่อรถด้วยเพื่อนำมาประกอบการอนุมัติ ? โดยหากมีประวัติการผ่อนชำระล่าช้า หรือมีค้างชำระอาจจะมีสิทธิ์ที่จะผ่านได้ค่อนข้างยาก
แต่ทั้งนี้ ก็ใช่ว่าคุณจะออกรถไม่ได้เลย แต่เงื่อนไขอาจจะค่อนข้างเข้ม โดยธนาคารมักจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้ที่ติดเครดิตบูดรไว้ว่า ผู้ขอสินเชื่อจะต้องเป็นผู้ที่ปิดบัญชีหนี้มาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ต้องมีเงินดาวน์รถอย่างน้อย 30 – 40% ของยอดรถทั้งหมด เช่น รถราคา 1,080,000 บาท จะต้องมีเงินดาวน์ประมาณ 324,000 – 432,000 บาท รวมถึงต้องมีรายได้สม่ำเสมอและมีอาชีพที่มั่นคง อีกทั้งยังจำเป็นต้องหาบุคคลอื่น ๆ มาเป็นผู้ค้ำประกันว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นสามารถหาเงินชำระคืนให้สถาบันการเงิน หรือธนาคารได้ทั้งหมด
ทริคการแก้เครดิตบูโร
ทิ้งท้ายด้วยทริค! แก้เครดิตบูโรที่จะช่วยสานฝันคนอยากมีรถ แต่ติดเครดิตบูโรให้กลับมามีโอกาสขอสินเชื่อกับธนาคาร หรือสถาบันการเงินโดยมีโอกาสผ่านสูง ดังนี้
- ชำระหนี้ที่ค้างไว้ สิ่งสำคัญเลยคือ การชำระหนี้ที่ค้างไว้โดยสามารถทำเรื่องเจรจาขอชำระหนี้ติดเครดิตบูโรที่ค้างไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินซึ่งสามารถจ่ายคืนเป็นงวด ๆ เพื่อให้คืนสถานะบัตรเครดิตเป็น “ไม่ติดหนี้ชำระ” ภายในระยะเวลา 3 ปีซึ่งนับตั้งแต่หนี้ก้อนแรก หากเลย 3 ปี ข้อมูลเครดิตบูโรใหม่จะเข้ามาทดแทน
- เพิ่มข้อมูลบัตรเครดิต หลังจากที่ชำระหนี้ที่ค้างไว้ทั้งหมดแล้ว ก็ใช่ว่าจะทำสร้างความเชื่อมั่นได้ทันทีทันใด นอกจากจะต้องรอ 6 เดือนหลังจากปิดบัญชีแล้ว ระหว่างรอก็ควรสร้างพฤติกรรมทางการเงินที่ดี โดยอาจจะสร้างข้อมูลเครดิตที่มูลค่าไม่สูงอย่างการทำบัตรเครดิต ที่ให้มีการใช้จ่ายและผ่อนจ่ายตรงเวลาซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรับสินเชื่อกับธนาคารนั้น ๆ นั่นเอง
คงจะได้คำตอบแล้วว่า ติดบูโร ซื้อรถได้มั้ย ? ตอบเลยว่า โอกาสน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะให้ปิดบัญชีที่ค้างชำระหนี้ให้หมดก่อนถึงจะยื่นขอสินเชื่อและก่อนจะยื่นขอก็จะต้องมีระยะรอคอยประมาณ 6 เดือนหลังจากปิดบัญชี และต้องมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดีจากการสร้างเครดิตใหม่จึงจะช่วยเพิ่มโอกาสในการยื่อขอสินเชื่อรถให้ผ่านฉลุย แต่ถ้าหากเป็นรถมือสอง ก็มีบางแหล่งที่ปล่อยให้กู้ แม้ติดเครดิตบูโร แต่อาจจะต้องแลกมาด้วยดอกเบี้ยที่สูง พอ ๆ ก็เงินดาวน์ 25 – 30% ในการวางมัดจำ รวมถึงคนค้ำประกันและข้อกำหนดอื่น ๆ ซึ่งถือได้ว่าเข้มพอสมควร