ประนอมหนี้ บัตรเครดิต ยังไง ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้จ่ายสบายขึ้น
ถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจมาได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นอย่างที่ควรจะเป็น หลายคนยังคงประสบปัญหาทางการเงิน มีภาระที่ทำให้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก เกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทัน สุดท้ายก็ตัดสินใจใช้บัตรเครดิตเป็นทางออก หมุนเวียนใช้จ่ายจนก่อเกิดหนี้ เมื่อจ่ายไม่ไหวมืดแปดด้าน ควรจะทำยังไงดี ในวันนี้เราจะพาทุกคนมาทราบถึงการ ประนอมหนี้ บัตรเครดิต ยังไง ช่วยปรับโครงสร้างหนี้ให้จ่ายสบายขึ้น
ประนอมหนี้ บัตรเครดิต ยังไง ช่วยปรับโครงสร้างหนี้
อันดับแรกก่อนจะไปดูกันว่าประนอมหนี้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต ยังไง เราขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับการปรับโครงสร้างหนี้กันก่อน ฟังดูเหมือนยาก แต่ความจริงแล้วทำได้ง่ายมาก หากเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ตามปกติ เราสามารถปรับโครงสร้างได้ด้วยการไปเจรจากับเจ้าหนี้ หรือประนอมหนี้นั่นเอง
โดยจะมีการทำสัญญาขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหา ซึ่งสามารถออกมาได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การขยายระยะเวลาเพื่อให้จำนวนเงินผ่อนชำระในแต่ละงวดน้อยลง การลดดอกเบี้ยชั่วคราว สัญญาใหม่จะเป็นออกมาแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับว่าการเจรจาเป็นแบบใดด้วย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ชัด อย่างเช่น คุณไม่สามารถผ่อนชำระหนี้สินได้ตามเดิม ไปเจรจากับเจ้าหนี้แล้วตกลงกันว่าจะมีการขยายระยะเวลาสัญญา จากเดิมที่ต้องผ่อนเดือนละ 5,000 บาท เหลือเป็นผ่อนเดือนละ 3,500 บาท ในช่วง 6 เดือนแรกจะมีการลดดอกเบี้ยชั่วคราว หลังจากนั้น 1 ปีก็จะปรับกลับมาเป็นการผ่อนชำระ 5,000 บาทตามเดิม
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้
ก่อนจะตัดสินใจว่าปรับโครงสร้างหนี้ดีไหม เราควรจะพิจารณาก่อนว่ามีวิธีการอื่นที่จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับปัญหาหนี้สินได้บ้างหรือเปล่า เพราะการปรับโครงสร้างหนี้บางวิธีการอาจส่งผลต่อประวัติบนเครดิตบูโรได้ อย่างเช่น การหยุดพักชำระหนี้ไปก่อน เพราะความจริงแล้วมีวิธีการมากมายที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินได้ ไม่ว่าจะเป็น การหารายได้เสริม การลดค่าใช้จ่าย หรือแม้แต่การรีไฟแนนซ์หนี้
ปรับโครงสร้างหนี้มีกี่แบบ
- การเปลี่ยนประเภทหนี้ จากหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง เราอาจเจรจาขอปรับเปลี่ยนให้เป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาในการชำระที่ชัดเจนขึ้นกว่าเดิม และมีดอกเบี้ยที่น้อยลงกว่าเดิมแทน
- รีไฟแนนซ์หนี้ วิธีการคือไปขอสินเชื่อส่วนบุคคลกับธนาคารอื่นเพื่อนำเอาเงินก้อนที่ได้มาปิดหนี้บัตรเครดิต วิธีนี้จะไม่เสียประวัติเครดิตบูโร ดอกเบี้ยถูกลง และยังสามารถเจรจากับธนาคารแห่งใหม่ในการยืดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ ให้ค่างวดรถน้อยลงกว่าเดิมได้ด้วย
- ขอปรับลดอัตราดอกเบี้ย วิธีการดังกล่าวจะต้องไปเจรจากับธนาคารเพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาหนึ่ง เรายังคงจ่ายเงินต้นตามปกติ แต่ในส่วนของดอกเบี้ยจะน้อยลงกว่าเดิม เพื่อให้เรามีเวลาปรับตัวในช่วงที่กำลังประสบวิกฤตการเงิน โดยจะมีกำหนดระยะเวลาเป็นเดือน ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 12 เดือน แล้วแต่การพิจารณาของธนาคาร
- ขอพักชำระเงินต้น สำหรับใครที่ประสบปัญหาทางการเงินหนัก เราอาจเจรจาขอธนาคารจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยไปก่อน จำนวนเงินที่ต้องจ่ายก็จะน้อยกว่าการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเงินต้นตามเดิม แต่ดอกเบี้ยน้อยลงกว่าเดิม เพราะวิธีนี้จะจ่ายแค่ดอกเบี้ยเลย แต่ข้อเสียก็คือเงินต้นจะไม่ลดเลยตลอดระยะเวลาที่เราขอพักชำระ
- ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ในกรณีที่เราไม่อยากเสียประวัติ สามารถเจรจากับธนาคารเพื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ เมื่อมีเวลามากขึ้น เราก็จะสามารถผ่อนค่างวดในจำนวนเงินที่ถูกลงได้ แต่ที่ต้องพิจารณาก็คือยิ่งเวลานานเท่าไหร่ เราก็ยิ่งต้องเสียดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้นด้วย
- พักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ในกรณีที่เราไม่มีเงินเลยแม้แต่น้อย เราสามารถเจรจากับธนาคารเพื่อขอพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยได้ในระยะเวลาหนึ่ง เท่ากับว่าในระยะเวลาที่เราตกลงกับธนาคาร เราไม่ต้องจ่ายชำระหนี้เลยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย จะช่วยให้เราสามารถจัดการปัญหาการเงินได้เร็ว และง่ายขึ้นกว่าเดิม และแน่นอนว่ามันจะส่งผลต่อประวัติเครดิตบูโร และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ธนาคารจะพิจารณาอนุมัติให้เราหยุดจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยด้วย
ข้อดี-ข้อเสียในการปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต
ข้อดี : การปรับโครงสร้างหนี้จะช่วยให้ภาระค่างวดที่ต้องชำระเป็นประจำลดน้อยลงกว่าเดิม บางวิธีอาจต้องใช้เวลานานหน่อย แต่ไม่เสียประวัติบนเครดิตบูโร ช่วยให้เรามีเวลาในการฟื้นฟูสถานภาพทางการเงินของตนเอง อาจได้อัตราดอกเบี้ยที่น้อยลง ไม่ต้องเสี่ยงขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นคดีความ และยังถือว่าเป็นการรับผิดชอบหนี้สินที่ก่อขึ้นมาโดยที่ไม่ปล่อยให้เป็นหนี้เสียแต่อย่างใด
ข้อเสีย : บางวิธีการอาจส่งผลต่อประวัติบนเครดิตบูโรของเราได้ ทำให้ในอนาคตเราอาจถูกปฏิเสธจากการขอสินเชื่อ เนื่องจากมีประวัติโชว์อยู่บนเครดิตบูโรว่าเคยปรับโครงสร้างหนี้มาก่อน หากเรายังผิดสัญญารอบนี้อีกก็อาจถูกอายัดทรัพย์ได้ และไม่ได้ช่วยให้เราลดหย่อนหนี้ได้ด้วย ยอดยังคงเท่าเดิม เพียงแต่ผ่อนนานขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น
สรุปแล้ว การปรับโครงสร้างหนี้บัตรเครดิต มีอยู่หลายวิธีเลยทีเดียว ตั้งแต่การไปเจรจากับธนาคารเก่าของเราเพื่อร่วมกันหาทางออกว่าจะสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตการเงินอย่างไร ไม่ว่าจะเป็น วิธีการเปลี่ยนประเภทหนี้ ปรับลดดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น หรือขยายระยะเวลา หรือจะไปขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่เพื่อทำการรีไฟแนนซ์หนี้บัตรเครดิตก็ได้เหมือนกันก็ได้เหมือนกัน สิ่งที่เราจะแนะนำก็คือ ไม่ว่าจะเลือกวิธีไหน ต้องพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองด้วย จะได้ไม่กลายมาเป็นปัญหาเรื้อรังในภายหลัง