ผ่อนรถไม่ไหว ทำยังไงดี และ ค้างค่างวดรถ ได้กี่เดือน?
การซื้อรถยนต์ ถือเป็นเป้าหมายของใครหลายคนในปีนี้ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะในการเดินทาง การทำงาน หรือการทำธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงแสดงถึงความมั่นคงในชีวิตด้วย ถึงแม้ว่าการมีรถยนต์จะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก แต่การผ่อนชำระรถยนต์ให้ตลอดรอดฝั่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน ไหนจะ ประกันรถ ค่าซ่อมบำรุงต่าง ๆ หากรายได้ไม่เพียงพอต่อการผ่อนชำระ หรือมีเหตุจำเป็นอื่น ๆ ก็อาจทำให้เราไม่สามารถผ่อนรถยนต์ต่อไปได้ สำหรับใครที่อยากรู้ว่า ผ่อนรถไม่ไหว ทำยังไงดี และ ค้างค่างวดรถได้กี่เดือน แล้วสามารถรับมือหรือแก้ปัญหากับหนี้รถยนต์ได้อย่างไรบ้าง มาอ่านความรู้เกี่ยวกับการผ่อนรถยนต์ สำหรับคนที่ผ่อนรถไม่ไหวได้ ในบทความนี้กัน
ค้างค่างวดรถยนต์ได้กี่เดือน?
ตามปกติแล้ว หากเรามีรถยนต์ แต่ไม่สามารถผ่อนรถได้ต่อเนื่องจากปัญหาทางการเงินต่าง ๆ เราสามารถค้างค่างวดรถได้ช้าสุดประมาณ 90 วัน หรือ 3 เดือน ติดต่อกัน 3 งวด โดยก่อนที่เราจะค้างค่างวดรถ เราควรปรึกษากับทางบริษัทรถยนต์ หรือผู้ดูแล เพื่อหาทางออกและประนีประนอม โดยจะมีการติดต่อค้างค่างวดรถต่อเนื่องอีก 30 วัน ทั้งนี้ การค้างค่างวดรถ จะทำให้เราเสียเครดิต และหมดความน่าเชื่อถือในการชำระหนี้ได้ เราจึงควรจ่ายค่างวดรถให้ครบ และตรงตามเวลามากที่สุด
ผ่อนรถไม่ไหว ทำยังไงดี ?
เรียกได้การซื้อรถยนต์ ถือเป็นการลงทุนก้อนใหญ่ที่หลายคนวางแผนไว้นาน บางคนอาจวางแผนที่จะผ่อนชำระรถยนต์เป็นเวลาหลายปี แต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เช่น ตกงาน เจ็บป่วย หรือมีค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่นๆ เราก็ไม่สามารถผ่อนชำระรถยนต์ได้
แล้วผ่อนรถยนต์ไม่ไหว ต้องทำยังไง? สิ่งแรกที่ควรทำคือประเมินสถานการณ์ของตัวเองว่าสามารถผ่อนรถยนต์ต่อได้หรือไม่ หากสามารถผ่อนรถยนต์ต่อได้ ควรหาวิธีลดรายจ่าย หรือหารายได้เพิ่ม เพื่อที่จะมีเงินมาชำระค่างวดรถได้ แต่หากไม่สามารถผ่อนรถยนต์ต่อได้ ก็ต้องตัดสินใจว่าจะขายรถทิ้ง หรือคืนรถให้กับไฟแนนซ์ โดยแต่ละข้อ มีข้อดีที่แตกต่างกันดังนี้
ขายรถยนต์ หรือเปลี่ยนสัญญาให้ผู้อื่นผ่อนต่อ
- ขายรถทิ้ง: เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่ต้องเสียประวัติเสียในเครดิตบูโร และไม่ต้องรับภาระหนี้สินต่อ แต่การขายรถทิ้งอาจได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เนื่องจากรถมีสภาพเก่าลง และอาจมีค่าซ่อมแซมเพิ่มเติม หากต้องการขายรถทิ้ง ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับราคาซื้อขายรถมือสอง โดยเปรียบเทียบราคาจากแหล่งต่างๆ เช่น เว็บไซต์ซื้อขายรถมือสอง เต็นท์รถมือสอง หรือร้านรับซื้อรถมือสอง เป็นต้น
- ขายดาวน์รถ: สำหรับใครที่อยากขายดาวน์รถ เราก็สามารถแจ้งให้ผู้ที่ต้องการซื่อรถต่อจากเรา นำเงินสดมาให้ จากนั้นทำการเปลี่ยนสัญญา ก็จะถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้น
- เปลี่ยนสัญญารถยนต์ : วิธีนี้ง่ายกว่าหัวข้อแรก แต่อาจทำให้เราไม่ได้รับกำไรจากการขายรถ โดยจะแตกต่างจากการขายรถยนต์ ตรงที่การเปลี่ยนสัญญารถยนต์ เปรียบเสมือนการยกรถยนต์ให้ผู้อื่นฟรี ๆ แต่ก็มีข้อดี ตรงที่ทำให้เราไม่ต้องผ่อนรถต่อ และไม่เสียเครดิตด้วย
รีไฟแนนซ์รถ หรือคืนรถให้ไฟแนนซ์
- รีไฟแนนซ์: วิธีนี้เป็นทางเลือกที่อาจทำให้ไม่ต้องเสียประวัติเสียในเครดิตบูโร และอาจได้เงินก้อนมาใช้ โดยผู้เช่าซื้อจะขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น เพื่อนำมาปิดยอดหนี้สินเชื่อรถยนต์เดิมกับไฟแนนซ์เดิม ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง และผ่อนชำระค่างวดน้อยลง
- คืนรถให้ไฟแนนซ์: ถือเป็นทางเลือกที่อาจทำให้เสียประวัติเสียในเครดิตบูโร แต่ไม่ต้องรับภาระหนี้สินต่อ และอาจได้เงินคืนบางส่วนจากค่าขายทอดตลาดของรถ อีกทั้งการคืนรถให้ไฟแนนซ์ ไม่เสียส่วนต่าง เหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถหาผู้ซื้อรายใหม่ต่อได้
คืนรถให้ไฟแนนซ์ ต้องเสียส่วนต่างไหม?
ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 573 แจ้งว่า “ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ด้วยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่เจ้าของโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง” จึงทำให้การคืนรถยนต์ ไม่ได้เป็นการผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใด โดยเราสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ตลอดเวลา เพื่อเป็นการคืนรถให้แก่ไฟแนนซ์ อีกทั้งยังต้องจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่จนถึงวันที่คืนรถทั้งหมด ก็จะทำให้เราไม่ต้องรับผิดชอบสำหรับค่าส่วนต่างจากคืนรถ และการที่ไฟแนนซ์นำรถไปขายต่อ
ตัวอย่างการคำนวณค่าส่วนต่าง : สมมติว่าคุณซื้อรถยนต์ราคา 1,000,000 บาท ผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 5 ปี ผ่อนเดือนละ 20,000 บาท
- หากผ่อนชำระไปแล้ว 2 ปี เหลือยอดหนี้ 600,000 บาท แต่คุณไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดรถได้อีกต่อไป จึงตัดสินใจคืนรถให้ไฟแนนซ์
- หากราคาประเมินของรถ ณ วันที่คืนรถเท่ากับ 600,000 บาท คุณจะได้รับเงินคืน 0 บาท เนื่องจากราคาประเมินของรถเท่ากับยอดหนี้ที่เหลืออยู่ หากราคาประเมินของรถ ณ วันที่คืนรถเท่ากับ 800,000 บาท คุณจะได้รับเงินคืน 200,000 บาท เนื่องจากราคาประเมินของรถสูงกว่ายอดหนี้ที่เหลืออยู่
- หากราคาประเมินของรถ ณ วันที่คืนรถเท่ากับ 400,000 บาท คุณจะต้องชำระส่วนต่าง 200,000 บาท เนื่องจากราคาประเมินของรถต่ำกว่ายอดหนี้ที่เหลืออยู่
หากผู้เช่าซื้อต้องการคืนรถให้ไฟแนนซ์โดยไม่เสียค่าส่วนต่าง ควรชำระค่างวดที่ค้างชำระ ค่าปรับ ค่าดำเนินการคืนรถครบถ้วน และขอเอกสารรับรองการชำระหนี้จากไฟแนนซ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในอนาคต