DCC Fee คืออะไร เลือกไม่จ่ายได้หรือไม่ สายช้อปต้องรู้
จากกระแสเรื่อง รูดบัตรเครดิต บวกเพิ่ม 1% เมื่อซื้อสินค้า และบริการที่จดทะเบียนต่างประเทศ ทั้งบัตรแบบ Visa และ Mastercard ที่เป็นค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ หรือเรียก DCC Fee โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 พ.ค. 2567 นี้เป็นต้นไป แต่ถ้าหากคุณไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมอันแสนแพง ไม่ต้องกังวลไป! เรามี 5 วิธีหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม DCC Fee 1% มาให้ทุกคนได้ลองทำตามกัน ช่วยให้คุณจ่ายบัตรเครดิตด้วยราคาที่ถูกลง ไม่มีค่าธรรมเนียมแฝง
ช้อปยังไงไม่ต้องจ่าย DCC Fee
-
ชำระด้วยสกุลเงินท้องถิ่นถูกกว่า
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและบัตรเครดิต ลงความเห็นว่าการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ด้วยใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ถือว่าคุ้มค่ามากกว่าการที่เราต้องเสียค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินต่างประเทศในอัตรา 2.5% ของยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่เยอะ เพื่อขช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียม DCC Fee ลองจ่ายด้วยสกุลเงินต่างประเทศนะ
-
เลือกใช้บัตรเครดิต ฟรีค่าธรรมเนียม DCC Fee
อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อยากจ่ายค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน ยังมีบัตรเครดิตบางธนาคาร ที่ยังฟรีค่าธรรมเนียมในส่วนนี้อยู่ ได้แก่ บัตรเครดิต ttb all free ที่ไม่มี ค่าธรรมเนียม FX Rate 2.5% และ DCC 1, บัตรเครดิต JCB ที่ยังไม่มีการประกาศคิดค่าธรรมเนียม, หรือเปลี่ยนไปจ่ายด้วยบัตร บัตร AMEX (American Express) ทั้งนี้ เราควรติดตามข่าวสารอัปเดตและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของค่าธรรมเนียมตลอดการใช้งาน เพื่อให้สายช้อปสามารถซื้อสินค้าและบริการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมแพง
-
ใช้สินค้าหรือบริการในประเทศ ชำระเงินด้วยสกุลบาท
อย่างที่เรารู้กันว่าในปัจจุบัน มีร้านค้าและแพลตฟอร์มจากต่างประเทศที่เปิดให้บริการผู้ใช้งานในไทย แต่ถ้าหากเราจ่ายด้วยสกุลเงินต่างประเทศ อาจทำให้โดนเก็บค่าธรรมเนียมได้ โดยร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนต่างประเทศ เช่น AIRASIA BERHAD, NETFLIX, APPLE, TikTok, AGODA, Booking, Klook, IHERB, ALIPAY, TAOBAO, PAYPAL, FACEBOOK, GOOGLE, AIRBNB, EXPEDIA, EBAY, SPOTIFY, ALIBABA, TRIP.COM, STEAMGAMES, VIU, AMAZON เป็นต้น
ซึ่งถ้าใครอยากหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม DCC Fee ลองใช้บริการกับแพลตฟอร์มหรือร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่รับการชำระเงินสกุลบาท (THB) เช่น Grab Thailand, Lazada Thailand, Shopee Thailand, Panda Thailand เป็นต้น ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินแสนแพง อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในไทยด้วย
-
ใช้บัตร Travel Card เมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ
สำหรับใครที่เป็นสายเที่ยวและกังวลว่า หากไปเที่ยวต่างประเทศ จะทำอย่างไรเมื่อต้องรูดบัตรเพื่อเที่ยวหรือช้อปปิ้งกัน? ไม่ต้องกังวล เพราะยังมีบัตรเติมเงิน (Prepaid Card) หรือ “Traval Card” ซึ่งเป็นบัตรที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวใช้งานทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน อีกทั้งเรายังสามารถซื้อสกุลเงินเก็บไว้ได้เลยในแอปพลิเคชันของธนาคารที่รองรับการใช้บริการ โดยบัตร Travel Card มีทั้ง Youtrip กสิกรไทย, Travel Card กรุงไทย และ Planet ไทยพาณิชย์ เป็นต้น
-
พกเงินสดติดตัวให้พอ และเปรียบเทียบสกุลเงินก่อนแลก
เมื่อเราท่องเที่ยวในต่างประเทศ เราควรพกเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้ท่องเที่ยว เพื่อจะได้ป้องกันไม่ให้ต้องกดเงินสดที่ตู้ ATM ต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้เราต้องเสียค่าธรรมเนียมต่างประเทศอันแสนแพงถึง 2.5% นอกจากนี้ เรายังควรใช้เงินสกุลท้องถิ่นโดยตรงและเปรียบเทียบค่าเงินของสกุลเงินต่างประเทศแต่ละแบบ เพื่อคำนวนว่าเรทเงินไหนดีที่สุด จะช่วยให้เราประหยัดเมื่อซื้อสินค้าออนไลน์ได้
มาจนถึงตอนนี้ทุกคนคงทราบแล้วว่า DCC Fee คืออะไร และการทำตามวิธีหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม DCC Fee 1% เหล่านี้ คุณสามารถหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม DCC Fee 1% ประหยัดค่าใช้จ่าย และวางแผนการเงินของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณประหยัดเงินและไม่ต้องกังวลกับการจ่ายค่าธรรมเนียมแสนแพงอีกต่อไป