เงินเดือนเท่านี้ ควรออมเท่าไหร่ ? สูตรการออมมนุษย์เงินเดือน 2567
การออมเงินสำหรับใช้ในวัยเกษียณ หรือเก็บเงินสำรองเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน ถือเป็นทักษะทางด้านการเงินที่มนุษย์เงินเดือน หรือคนที่มีรายได้ประจำควรมี เพราะถ้าเราใช้เงินจนหมด แต่ไม่เก็บเงินเลยสักบาท หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ตกงานกระทันหัน หรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน อาจทำให้เราไม่มีเงินก้อนนำมาใช้จ่ายในส่วนนั้นได้ เพื่อให้เราสามารถบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะแนะนำเทคนิคการออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน 2567 ตอบทุกปัญหาทั้ง เงินเดือนเท่านี้ ควรออมเท่าไหร่? พร้อมสูตรการคำนวณ เพื่อให้คุณจัดการเงินได้อย่างเหมาะสมในทุกเดือน
ข้อดีของการออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน
-
- สร้างความมั่นคงทางการเงิน: การออมเงินช่วยให้คุณมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ป้องกันปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ลดความเสี่ยงในการกู้หนี้สิน
- บรรลุเป้าหมายในชีวิต: ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน ซื้อรถ เก็บเงินเกษียณ การออมเงินอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น
- เสริมสร้างวินัยทางการเงิน: การออมเงินช่วยปลูกฝังนิสัยการใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด รู้จักวางแผน จัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
- ลดความเครียด: การมีเงินออมช่วยลดความกังวลเรื่องการเงิน ลดความเครียดจากภาระหนี้สิน ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต
- เตรียมพร้อมสู่อนาคต: อนาคตนั้นไม่แน่นอน การออมเงินช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ มั่นใจในชีวิต
- ฝึกวินัยทางการเงิน: การทำรายรับ-รายจ่าย โดยแบ่งเงินเป็นสัดส่วน จะช่วยฝึกการออมเงิน และทำให้เรามีความรู้ทางด้านการเงินมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายและประเภทของการออมเงิน มีกี่แบบ?
หลังจากที่เรารู้จักกับข้อดีของการออมเงิน (Saving Money) เราลองมาดูวัตถุประสงค์ของการออมเงิน และประเภทของการลงทุนกันบ้าง โดยการกำหนดเป้าหมายในการออมเงิน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเงินในปัจจุบัน และความต้องการของเรา โดยเราสามารถกำหนดเป้าหมายในการออมเงิน และแบ่งประเภทของการออมเงินได้ ตามรายละเอียดดังนี้
4 เป้าหมายหลักในการออมเงิน
- ออมเผื่อกรณีฉุกเฉิน เพื่อเก็บไว้ใช้ในกรณีเจ็บป่วย หรือมีเหตุให้ต้องใช้เงินก้อนอย่างเร่งด่วน โดยควรแยกเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- ออมเพื่อวัยเกษียณ เป็นการออมระยะยาว เพื่อใช้จ่ายเมื่อพ้นวัยทำงาน และมีเพียงพอสำหรับการดูแลสุขภาพ ทำกิจกรรมเพื่อความสุข และลดภาระของลูกหลาน
- ออมเพื่อเติมฝัน เป็นการออมระยะสั้นถึงปานกลาง 1-5 ปี เพื่อนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการ เช่น ท่องเที่ยว ซื้อของที่อยากได้ หรือบริจาคเพื่อสังคม
- ออมเพื่อการลงทุน เป็นการออมระยะสั้นถึงปานกลาง 1-5 ปี เพื่อนำไปใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการ เช่น ท่องเที่ยว ซื้อของที่อยากได้ หรือบริจาคเพื่อสังคม
7 ประเภทของการออมเงินในปี 2567
- บัญชีออมทรัพย์ เหมาะสำหรับ: เก็บออมเงินระยะสั้น ต้องการสภาพคล่องสูง
- บัญชีเงินฝากประจำ เหมาะสำหรับ: เก็บออมเงินระยะยาว ต้องการดอกเบี้ยสูง
- กองทุนรวม เหมาะสำหรับ: ลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว ช่วยกระจายความเสี่ยง
- ประกันชีวิต เหมาะสำหรับ: เตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยง ปกป้องครอบครัว
- ทองคำ เหมาะสำหรับ: ลงทุนเพื่อเก็บรักษามูลค่า ป้องกันเงินเฟ้อ
- อสังหาริมทรัพย์ เหมาะสำหรับ: ลงทุนระยะยาว เก็บสะสมมูลค่า และขายต่อในอนาคตได้
- ธุรกิจส่วนตัว เหมาะสำหรับ: สร้างรายได้ เสริมสร้างอาชีพ เป็นนายของตัวเองได้
เงินเดือนเท่านี้ ควรออมเท่าไหร่? ออมเงินยังไงดี
ใครที่สงสัยว่าการออมเงิน ควรแบ่งเป็นสัดส่วนยังไงดี? การออมเงินควรแบ่งเป็นประมาณ 1 ใน 4 ของรายได้แต่ละเดือน โดยกำหนดจำนวนเงินและสัดส่วนในการออมเงินในเหมาะสมกับเป้าหมายและได้ของตัวเอง แล้าเราควรกำหนดจำนวนเงินยังไง ดูตามตารางการออมเงินได้ดังนี้
อ้างอิงรูปภาพ: https://www.bot.or.th/th/
ควรออมเงินกี่% ของเงินเดือน แบ่งสัดส่วนยังไงดี
สูตรในการบริหารจัดการเงิน มีทั้งหมด 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่สูตรการออมเงินแบบ 80/20 หรือสูตรการออมเงินแบบ 50/30/20 โดยความแตกต่างของการทั้งสองสูตรการคำนวนเงินนี้ จะไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งเราสามารถดูตัวอย่างในการออมเงินได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
- สูตรการออมเงิน 80/20: การแบ่งรายได้ออกเป็น 2 ส่วน 80% สำหรับการใช้จ่าย และ 20% สำหรับการออมเงิน ซึ่งเราสามารถปรับจำนวนเงินได้ตามเป้าหมาย เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้สม่ำเสมอ และอยากจัดการเงินแบบง่าย ๆ ไม่ต้องใช้สูตรยุ่งยาก
ตัวอย่างการออมเงิน: รายได้เดือนละ 60,000 บาท แบ่งเงินออม 20% ของรายได้ ทั้งหมด 12,000 บาท จะเหลือเงินในการใช้จ่ายทั้งหมด 48,000 บาท
- สูตรการออมเงิน 50/30/20: การแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ส่วน 50% สำหรับค่าใช้จ่าย 30% สำหรับการออมเงิน หาความสุขให้ตัวเอง และ 20% สำหรับการออมเงิน เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้ชีวิตสบาย ๆ ไม่ตึงเกินไป สามารถปรับสัดส่วนการออมเงินได้ช่วงอายุและรายได้
ตัวอย่างการออมเงิน: รายได้เดือนละ 60,000 บาท แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 50% สำหรับค่าใช้จ่าย ทั้งหมด 30,000 บาท 30% สำหรับหาความสุขให้ตัวเอง ทั้งหมด 18,000 บาท และ 20% สำหรับการออมเงินทั้งหมด 12,000 บาท
การออมเงินเปรียบเสมือนการวางรากฐานสู่อนาคตที่มั่นคง แต่ละคนมีเป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน การเลือกประเภทของการออมเงินให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจึงควรกำหนดเป้าหมายและปรับสูตรการออมเงิน ให้เหมาะสำหรับตัวเอง จะช่วยจัดการให้ง่ายขึ้น