อายุความ หนี้ บัตรเครดิต กี่ปี ต้องทำยังไงบ้าง?
เมื่อเจอเหตุฉุกเฉินทำให้ขาดสภาพคล่อง ความสามารถในการจ่ายหนี้ลดลง หลาย ๆ คนอาจต้องตัดสินใจหยุดชำระหนี้บางรายการ อย่างหนี้บัตรเครดิต สำหรับใครที่สามารถกลับมาจ่ายได้เหมือนเดิมในเวลาไม่นานก็ถือว่าโชคดีไป แต่ส่วนหนึ่งก็เลือกปล่อยจอยจนถึงขั้นกลายเป็นคดีความ ถูกฟ้องร้องจากทางธนาคาร ในวันนี้เราจึงมาสรุปให้ว่า อายุความ หนี้บัตรเครดิต กี่ปี และต้องแก้ไขยังไง
คดี หนี้บัตรเครดิต เกิดได้ยังไง?
ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ค้างจ่ายหนี้บัตรเครดิตก็จะโดนดำเนินคดีทุกรายไป แต่ทางธนาคาร/สถาบันทางการเงินจะมีเงื่อนไข และมาตรการในการดำเนินการอยู่ โดยปกติแล้วหากมีการติดตาม แจ้งเตือน หรือทางถามไปในทุกช่องทางแล้ว ลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้จำนวนขั้นต่ำ 2,000 บาท ติดต่อกันประมาณ 3 เดือนประวัติการชำระหนี้จะกลายเป็นหนี้เสีย หรือที่เรียกว่าติดเครดิตบูโร และหากนานติดต่อกันถึง 6 เดือนก็จะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ที่ธนาคารจะทำการฟ้องร้องนั่นเอง
สาเหตุการเกิดหนี้บัตรเครดิตเรื้อรัง
- ชำระหนี้ไม่ตรงเวลา หรือมักจ่ายช้ากว่ากำหนดอยู่บ่อยครั้ง
- จ่ายขั้นต่ำทุกเดือน จะถูกเรียกเก็บดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมเพิ่ม อีกทั้งยืดระยะการชำระหนี้ให้ยาวนานกว่าเดิม
- ไม่มีวินัยในการใช้บัตร รวมถึงการชำระหนี้ หลักการใช้บัตรเครดิตที่ดี ควรรูดจ่ายแต่พอดี เพื่อให้สามารถชำระคืนได้ในแต่ละเดือน
อายุความ หนี้ บัตรเครดิต กี่ปี
โดยทั่วไป อายุความ คดีบัตรเครดิต หลังจากศาลตัดสินคือ 2 ปี นับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งหมายถึงเจ้าหนี้มีเวลา 2 ปีในการดำเนินการบังคับคดีเพื่อเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษา ถือเป็นการให้โอกาสทั้งลูกหนี้ และเจ้าหนี้ในการจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยลูกหนี้จะมีเวลาในการหามาชำระหนี้ให้หมด ขณะเดียวกันเจ้าหนี้ก็มีเวลาในการติดตามทวงถามอย่างเป็นธรรม
เมื่อถูกฟ้องคดีบัตรเครดิต ต้องทำยังไง?
- ทำความเข้าใจหมายศาล ทบทวนรายละเอียดที่ระบุไว้ทั้งหมด
- จ้างทนายไกล่เกลี่ย เพื่อช่วยรักษาผลประโยชน์ของเรา
- เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต้องใช้ เช่น เอกสารมอบอำนาจ, เอกสารผู้ค้ำประกัน หรือเอกสารแสดงรายรับ-รายจ่าย เป็นต้น
หลังถูกฟ้องร้อง ไม่ไปตามนัด จะเกิดอะไรขึ้น
- ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
- อายัดเงินเดือนหรือรายได้อื่น ๆ
- ยึดทรัพย์สินที่ได้รับหลังการพิพากษา
หลังจากได้รับหมายศาลแล้ว แม้ว่าเราจะไม่สามารถใช้หนี้ได้ ก็ต้องไปตามที่ศาลนัดไว้ในฐานะจำเลย การไปตามที่นัดหมายจะแสดงให้เห็นว่าเราไม่มีเจตนาหนีหนี้ อีกทั้งลูกหนี้ยังมีสิทธิยื่นขออุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือนนับตั้งแต่มีคำพิพากษา เพื่อเลื่อนการบังคับคดีหรือขอให้พิจารณาเงื่อนไขการชำระเงินใหม่ได้