เศรษฐกิจไม่ดี ต้องปรับตัวยังไงให้รอด?
ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ค่าครองชีพพุ่ง รายได้ไม่เพิ่ม แต่รายจ่ายกลับมากขึ้น หลายคนเริ่มตั้งคำถามว่า “จะอยู่รอดยังไง?” บทความนี้จะพาคุณไปดูแนวทาง เศรษฐกิจไม่ดี ต้องปรับตัวยังไงให้รอด? ที่ทำได้จริง เพื่อพยุงชีวิตให้อยู่รอดในวันที่เศรษฐกิจถดถอย
สัญญาณเศรษฐกิจไม่ดี มีอะไรบ้าง?
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันในเดือนกันยายน 2567 โดยอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนที่ 55.3 จุด สาเหตุหลักมาจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ
- ภาคธุรกิจ SME และโรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้น
การปิดกิจการของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SME) รวมถึงโรงงานต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น และความต้องการของผู้บริโภคที่ลดลง ส่งผลให้เกิดการว่างงาน และลดการผลิตในภาคอุตสาหกรรม
- ยอดขายรถยนต์ และอสังหาริมทรัพย์หดตัว
ยอดขายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2568 ลดลงถึง 24% ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์เผชิญกับการปฏิเสธสินเชื่อที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการปฏิเสธสูงถึง 55-60%
- การส่งออกชะลอตัว
การส่งออกของไทยในปี 2568 คาดว่าจะเติบโตเพียง 1-2% ลดลงจากปีที่แล้วที่เติบโตเกือบ 5% โดยได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าโลกและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว
แม้ว่าการลงทุนจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้น แต่การลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศยังคงชะลอตัว โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์และยานยนต์ เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
- ต้นทุนชีวิตสูงขึ้น
ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ส่งผลให้ประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แม้จะมีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐก็ตาม
- สงครามการค้า
การประกาศปรับเปลี่ยนอัตราภาษีนำเข้าไปมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้รับบผลกระทบ โดยเฉพาะประเทศจีนที่ออกนโยบายตอบโต้ด้วยเช่นกัน ทำให้ประเทศอื่น ๆ ที่เน้นการส่งออก-นำเข้าเกิดความตึงเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก็ต้องคอยจับตาดูสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด
ปรับตัวยังไงให้รอด ในยุคเศรษฐกิจแย่?
วางแผนการเงินใหม่ทั้งหมด
- ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ชัด
- ตัดรายจ่ายฟุ่มเฟือย
- ตั้งงบรายเดือนแบบเป็นจริง
- มีเงินฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เดือน (จากค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน)
สร้างรายได้เสริม
- หางานพาร์ทไทม์หรือฟรีแลนซ์
- ขายของออนไลน์ งบน้อยก็เริ่มได้
- ใช้ทักษะเดิมให้เกิดเงิน เช่น ตัดต่อ, แปลภาษา, ทำกราฟิก
ลงทุนอย่างระวัง
- หลีกเลี่ยงการลงทุนเสี่ยงสูง
- ศึกษาเงินฝากดอกเบี้ยสูง กองทุนความเสี่ยงต่ำ
- กระจายความเสี่ยง ไม่ทุ่มหมดหน้าตัก
จัดการหนี้อย่างเป็นระบบ
- ถ้ามีหนี้บัตรเครดิต เลือกรีไฟแนนซ์ หรือปรับโครงสร้างหนี้
- เลี่ยงการสร้างหนี้เพิ่ม หรือการกู้ใหม่โดยไม่จำเป็น
- ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอผ่อนชำระแบบยืดหยุ่น
พัฒนาทักษะใหม่ ๆ
- ลงเรียนออนไลน์ฟรี หรือที่จัดโปรโมชั่นราคาพิเศษ
- อัปเกรดตัวเองให้พร้อมตลาดแรงงานใหม่ เช่น เทคโนโลยี AI, ทักษะดิจิทัล, ภาษาที่สอง และสาม
- อาชีพสายดิจิทัลยังเติบโต แม้เศรษฐกิจซบ
สรุปเศรษฐกิจไม่ดีส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน และอุตสาหกรรม ทั้งนี้ก็อยู่ที่ใครปรับตัวได้เร็วกว่า แน่นอนว่าไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นเมื่อไร ดังนั้นควรโฟกัสในจุดที่เรายังสามารถควบคุมได้ ซึ่งก็คือการปรับตัว และวางแผนการเงิน และชีวิตอย่างมีสติ บางคนอาจใช้ช่วงเวลานี้สร้างตัวตนใหม่ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือเปลี่ยนเส้นทางอาชีพ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าในอนาคต