การทำงานแบบ ฟรีแลนซ์ หรือการทำงานที่ไม่ได้มีสังกัดหรือองค์กรที่เป็นผู้จ่ายค่าจ้างในการทำงานอย่างชัดเจนนั้น เป็นหนึ่งในอาชีพที่หลายๆคนอยากจะทำเพราะมีความเป็นอิสระสูงและสามารถเลือกรับงานได้ตามความต้องการของตัวเอง
แต่อย่างไรก็ตามการทำงานแบบ ฟรีแลนซ์ ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลย เพราะเมื่อเราต้องรับงานเอง ไม่มีอะไรมารับประกันรายได้ของเราได้เลยว่าจะมีหรือไม่ รายได้ในเดือนนี้จะเท่ากับเดือนที่แล้วหรือไม่ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าถ้าเราอยากทำงานแบบ ฟรีแลนซ์ นั้นมีอะไรที่เราต้องรู้ก่อนหรือไม่
1. เข้าใจความเสี่ยงในทุกการลงทุน
อย่าลืมว่าการที่เราไม่มีรายได้ประจำที่แน่นอนนั้นทำให้เราอาจะเกิดปัญหาในการจัดการค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราได้ และการนำเงินมาลงทุนในงานแบบ ฟรีแลนซ์ หรือการลงทุนอื่นๆที่สามารถสร้างเงินให้เราได้ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเราจะมีงานให้ทำถึงเมื่อไหร่ จะมีงานทำทุกวันไหม หรืออยู่ดีๆ ผู้จ้างก็มายกเลิกงานซะงั้น อะไรๆ ก็ไม่แน่นอนจริงไหมคะ ดังนั้นระหว่างที่ยังมีงานให้ทำอยู่ เร่งมือให้เต็มที่เลยค่ะ
2. เลือกประกันออมทรัพย์ให้ดี
ถ้าหากเราต้องการนำประกันชีวิตมาใช้ในการลดหย่อนภาษีรายได้บุคคลธรรมดามากกว่าการออมทรัพย์ปกติแล้ว ควรเลือกประกันชีวิตที่มีช่วงของการส่งน้อยและคุ้มครองนาน เพราะเงินที่ส่งและเงินคุ้มครองจะน้อยและเราสามารถใช้ในการลดหย่อนได้เต็มจำนวน(ไม่เกิน 100,000 บาทนั่นเอง) ในทางกลับกันถ้าหากอยากออมทรัพย์มากกว่าการลดหย่อนภาษีก็ควรเลือกที่มีการส่งและระยะเวลาที่คุ้มครองนานขึ้นนั่นเอง เพื่อจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดในการลงทุนนั่นเอง
3. อยากลงทุนในกองทุนรวม
เลือกให้ดีว่าอยากได้แบบมีปันผลหรือไม่มีปันผลกันแน่ นั่นเพราะกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะไม่มีการจ่ายปันผลจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาในการลงทุนเลย ส่วนกองทุนระยะยาว(LTF) นั้นสามารถเลือกได้ว่าจะรับปันผลระหว่างการลงทุนหรือไม่ ซึ่งถ้าเราคิดว่าเราอยากได้เงินมาใช้บ้าง เราก็อาจจะเลือกรับปันผลก็ได้นั่นเอง ดังนั้นคิดดีๆว่าเราอยากใช้ปันผลนั้นหรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้หรือไม่ก่อนการลงทุนทุกครั้ง เพื่อจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดในการลงทุนนั่นเอง แถมยังเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีให้กับตนเองอีกด้วย
4. วางแผนการเกษียณไว้อย่างไร อย่าลืมปูทางไปให้ถึง
นี่หมายความว่าให้เราวางแผนและค่อยสร้างทางไปสู่การเกษียณในฝันของเรา ถ้าหากเราอยากมีวัยเกษียณที่ไม่ลำบากลำบนก็อย่าลืมลงทุนเพื่อออมทรัพย์เงินไว้ใช้ในวัยชราด้วย อาจจะเป็นการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)หรือกองทุนระยะยาว(LTF) ก็ได้เช่นกัน ใครที่ยังไม่ได้วางแผนสำหรับวัยเกษียณควรเริ่มวางแผนได้แล้วนะ ยิ่งวางแผนช้าก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะสุขสบายในวัยเกษียณน้อยด้วยนะ
5. เราใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้
หลายๆคนที่ไม่ได้ทำงานประจำก็อาจจะไม่นึกว่าตนเองจะสามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคม นั่นเพราะสิทธิ์ประกันสังคมเป็นสิทธิ์พนักงานมักจะใช้และทางบริษัทที่เป็นนายจ้างนั้นจะเป็นผู้สมัครให้ แต่เราซึ่งไม่มีงานประจำก็สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้เช่นกัน โดยไปสมัครด้วยตนเองได้และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนเองตามมาตรา 39 และ 40 นั่นอง ทีนี้เวลาเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลก็มีสิทธิประกันสังคมช่วยแล้วล่ะ ถึงแม้วาจะได้ค่ารักษาพยาบาลไม่มากนัก แต่ก็ดีกว่าต้องจ่ายเองทั้งหมดจริงไหม แถมยังเหมือนเราได้รายได้ระหว่างเข้าโรงพยาบาลอีกด้วย
6. ภาษี ณ ที่จ่ายยังไม่ใช่ภาษีที่ต้องจ่ายทั้งหมด
หลายๆคนคิดว่าการที่เราได้ค่าจ้างงานต่างๆมาแล้วเขาทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว นั้นคือการเสียภาษีที่เราต้องจ่ายไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นภาษี ณ ที่จ่ายเป็นภาษีเพียงบางส่วนที่เราทำการจ่ายไปก่อนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เราคำนวณภาษีออกมาและลบด้วยภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมดที่เราจ่ายไปแล้ว ยังเหลือเราก็ต้องไปจ่ายภาษีอีกนั่นเอง ดังนั้นอย่าเพิ่งวางใจเรื่องภาษีนะ เพราะอย่างไรเราก็หลีกเลี่ยงภาษีไม่ได้อยู่ดี อย่างน้อยก็ได้แค่ลดหย่อนภาษีลงเท่านั้น
7. ถึงไม่จ่ายภาษีแต่สรรพากรก็รับรู้ได้
ดังนั้นอย่าได้คิดจะไม่จ่ายภาษีในส่วนที่ขาดเชียว(จากข้อ 6) ไม่อยากนั้นก็เตรียมตัวรับโทรศัพท์ได้เลย ถึงเราไม่มีภาษีต้องเสียก็ยังต้องไปยื่นแสดงรายการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ภงด.1และภงด.3 อยู่ดี
การทำงาน ฟรีแลนซ์ อาจจะเสียเปรียบตรงที่มีรายได้ไม่แน่นอน และไม่ค่อยมั่นคง แต่ในเรื่องของความเป็นตัวเอง อิสระจากการทำงาน ฟรีแลน ซ์ถือว่าเป็นงานที่ตอบโจทย์ได้ดีกันเลยทีเดียว แต่ก็อย่าลืมว่าอย่างไรคุณก็ต้องเสียภาษีเพราะฉะนั้นอย่าลืมที่จะศึกษาเกี่ยวกับภาษีให้ดีด้วยนะ ส่วนใครที่มีงานประจำอยู่แล้ว งาน ฟรีแลนซ์ ก็สามารถนำมาทำเพื่อเป็นรายได้เสริมได้เหมือนกันนะ ใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงหลังเลิกงาน ก็สามารถมีรายได้เสริมได้แล้วจริงไหมคะ