สินเชื่อเงินสด เป็นสินเชื่อบุคคลชนิดหนึ่งแต่ให้วงเงินสินเชื่อในรูปแบบบัตรเครดิต กล่าวคือให้วงเงินเบิกเกินบัญชีไว้จำนวนหนึ่ง การคิดอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มคิดเมื่อสมาชิกเบิกเงินออกจากบัญชี จะแตกต่างจากสินเชื่อบุคคลที่จะเริ่มคิดดอกเบี้ยทั้งก้อนทันทีที่โอนเงินเข้าบัญชีสมาชิก
ดังนั้นสินเชื่อเงินสดนั่นก็คือสินเชื่อเงินด่วนฉุกเฉิน เมื่อลูกค้าได้รับการอนุมัติเป็นสมาชิกแล้ว สมาชิกจะเบิกเงินจากวงเงินสินเชื่อเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อมีรายการเบิกเงินทางธนาคารจะแจ้งรายการเบิกเงินเป็นประจำทุกเดือนส่งให้สมาชิก เพื่อแจ้งให้ชำระ สมาชิกสามารถเลือกชำระคืนทั้งจำนวนที่เบิกไปในเดือนนั้น หรือชำระคืนเพียงบางส่วน 5% ก็ได้ เช่นเดียวกับบัตรเครดิต โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยในส่วนที่สมาชิกยังไม่ได้ชำระจนกว่าจะชำระหมด แตกต่างจากบัตรเครดิตตรงที่สินเชื่อเงินสดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสด แต่บัตรเครดิตต้องเสียค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสด โดยประมาณ 4% ของยอดที่เบิกรวมกับดอกเบี้ยด้วย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการกู้เงิน อัตรา ดอกเบี้ยสินเชื่อเงินสด มักอยู่ในลักษณะร้อยละต่อปี ซึ่งผู้ให้กู้ เช่น ธนาคาร หรือบริษัทเรียกเก็บจากผู้กู้เพื่อเป็นผลตอบแทนจากการให้กู้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีหลายประเภท หลายอัตรา โดยทั่วไปนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินกู้หรือสินเชื่อ ในที่นี้ผู้ให้กู้หมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
หลายคนอาจจะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของดอกเบี้ย ซึ่งมี 2 รูปแบบคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว ลองมารู้จักกับดอกเบี้ยเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ที่พบบ่อย ๆ กันค่ะดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่และแบบลอยตัว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขเฉพาะ ไม่ขึ้นหรือลงตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งจะคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้หรือในช่วงเวลาที่ได้กำหนด ไว้เช่น กำหนดให้ชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี เป็นเวลา 4 ปี เป็นต้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะประกาศออกมาเป็นคร่าว ๆ เช่น อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
อันดับต่อไปเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ MLR/ MOR และ MRR ว่าคืออะไร หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้จากลูกค้า ซึ่งมีลักษณะเป็นดอกเบี้ยลอยตัว มาดูความหมายที่แท้จริงว่า ตัวย่อที่ได้มา มาจากอะไรและความหมายคืออะไร MLR ย่อมาจาก Minimum Loan Rate หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีที่มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอที่จะทำการกู้ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจนั่นเอง ส่วน MOR ย่อมาจาก Minimum Overdraft Rate นั้นหมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี สุดท้าย MRR ย่อมาจากMinimum Retail Rate ซึ่งหมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย
ทั้งนี้ เราสามารถหาข้อมูลอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อยู่ได้จาก website ของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง และ website ของแบงก์ชาติ สำหรับค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบระหว่างธนาคาร อัตราดอกเบี้ยย้อนหลังนั้น ทางสถาบันการเงินอาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บสำหรับสินเชื่อประเภทต่าง ๆ โดยบวกอัตราเพิ่มหรือลดเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเหล่านี้ ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม และค่าบริการอื่น ๆ ของบัตรเครดิต
ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมนั้นจะเกิดขึ้นใน 2 กรณี คือ
กรณีชำระค่าสินค้าและบริการไม่เต็มจำนวนหรือทยอยผ่อน : หากไม่ชำระเต็มจำนวนภายในวันที่กำหนด อาจถูกคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมจากยอดเต็มตั้งแต่วันที่ใช้บัตรจนถึงวันก่อนวันที่เราชำระเงิน แล้วจึงคิดจากยอดคงค้างหลังจากนั้น ซึ่งจะมีวิธีคิดดอกเบี้ย โดยจะคิดดอกเบี้ยบางส่วนจากยอดเต็ม และบางส่วนจากยอดคงค้าง (ยอดที่ยังไม่ได้ชำระ) ดังนี้ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม= (ยอดรายการใช้จ่าย x อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่อปี x จำนวนวันในงวดนั้น ) / จำนวนวันใน 1 ปี
กรณีเบิกถอนเงินสด ซึ่งจะถูกคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมตั้งแต่วันที่เบิก เช่นบัตรเครดิตของธนาคารแห่งหนึ่งคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 20% ต่อปี สรุปยอดรายการทุกวันที่ 25 และกำหนดชำระทุกวันที่ 10 ของเดือนถัดไป นอกจากจะเสียดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมตั้งแต่วันที่เบิกถอนเงินแล้ว ยังจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด และภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย โดยแบ่งออกเป็น
กรณีแรก ตัวอย่างเช่น นาย ก. นำบัตรเครดิตใบเดิมไปกดเงินสดที่ตู้ ATM เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม จำนวน 20,000 บาท และไม่ได้ใช้บัตรนั้นอีกเลย ในวันที่ 25 พฤษภาคม ธนาคารสรุปยอดรายการ โดยระบุว่ามียอดที่ต้องชำระรวม 20,751.59 บาท ซึ่งแบ่งเป็น ยอดที่ยังไม่ได้ชำระ 20,000 บาทค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด = 20,000 x 3% = 600 บาทภาษีมูลค่าเพิ่มการเบิกถอนเงินสด = 600 x 7% = 42 บาทดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมนับตั้งแต่กดเงินสดจนถึงก่อนวันสรุปยอดรายการ = (20,000 x 20% x 10) / 365 = 109.59 บาท
แม้ในวันที่ 10 มิถุนายน นาย ก. จะจ่ายเงินครบตามที่เรียกเก็บ แต่ใบสรุปยอดรายการ ณ วันที่ 25 มิถุนายน ก็ยังจะมีดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมค้างจากวันที่ 26 พฤษภาคม ถึงวันที่ 9 มิถุนายน ดังนั้น สถาบันการเงินจึงมีการแจ้งยอดรายการอีกครั้งในวันที่ 25 มิถุนายน จำนวน 164.38 บาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมคงค้าง