เกิดเป็นคำถามไม่น้อยเลยนะคะ สำหรับนโยบายหรือความเป็นมาของระบบการเงินของไทย จากที่สังเกตุเป็นที่รู้กันดีว่าปัจจุบันนี้ทางการหรือทางภาครัฐได้ให้ความสำคัญ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มความสำคัญของนโยบายระบบการเงินเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเลยนั่นเองค่ะ เพราะระบบการเงินภายในประเทศนั้นสามารถเป็นผลกระทบต่อประชากรอย่างมากเลยนะคะ เพราะหากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแล้วล่ะจะส่งผลกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างมากมายเลยทีเดียวนั่นเองค่ะ
และในวันนี้เรามาทราบถึงความเป็นมาหรือเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับนโยบาย การเงินไทย ที่เคยมีผลกระทบต่อประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านั้นย้อนกลับมาอีก
โดยเริ่มตั้งแต่ต้น ประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นล่ะคะ ทางประเทศไทยของเราได้จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจของธนาคารกลาง และหน้าที่อื่นๆ ขึ้นมาแต่ทั้งนี้ก็มิได้มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวข้องหรือทำการเกี่ยวกับระบบการเงินของประเทศอย่างโดยตรงนั่นเองค่ะ แต่ก็กำหนดให้คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจในการกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย เรียกเก็บจากการเป็นแหล่งเงินกู้แหล่งสุดท้ายของสถาบันการเงิน
นอกจากนี้ ยังให้อำนาจแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยในการซื้อขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่สถาบันการเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศมิได้กระทำเพื่อค้ากำไร ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กฏหมายมีบทบัญญัติโดยอ้อมให้ธนาคารแห่งประเทศ เป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินอย่างชัดเจน และในทางปฏิบัติธนาคารแห่งประเทศ จะดำเนินธุรกิจของธนาคารกลางโดยคำนึงถึง เสถียรภาพทางด้านการเงินและระบบการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งนโยบายการเงินของไทยแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ
- เป็นนโยบายที่ริเริ่มใช้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาเพื่อ เป็นการผูกมัดค่าเงินบาทกับเงินสกุลอื่นๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงและมีความแตกต่างไปจากเดิม โดยจากเดิมจะเป็นการผูกระหว่างค่าเงินบาทกับทองนั่นเองค่ะ ซึ่งจะเรียกได้ว่าการผูกค่าเงินบาทกับทองคำค่าเงินสกุลอื่นหรือกับตะกร้าเงิน และมีการเปลี่ยนแปลงจากค่าเงินบาทกับเงินสกุลอื่นไปเป็น ใช้ระบบผูกค่าเงินบาท กับตระกร้าเงิน แต่ปัญหานี้อยู่ภายใต้ระบบตะกร้าเงินนี้ ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน จะเป็นผู้ประกาศและปกป้องค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ ในแต่ละวัน ซึ่งในขณะนั้น การมีอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ช่วยในการสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนในระยะยาวเท่านั้นนะคะ แต่นโยบายนี้ยังเกิดความเสี่ยงอยู่มากมายเลยนั่นเองค่ะ เพราะหากเกิดความแปรผันหรือความเปลี่ยนแปลอย่างรวดเร็วก็จะส่งผลย้อนกลับมาไม่น้อยเลยนะคะต่อประเทศของเรา
- หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และได้มีการกำหนดนโยบายแบบใหม่ ซึ่งกำหนดเป้าหมายทางการเงิน อิงกับกรอบการจัดทำโปรแกรมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และเม็ดเงินจากภาคต่างประเทศ และดุลการชำระเงิน และให้ได้ภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจและระดับราคาตามที่กำหนดไว้ จากการประเมินภาพเศรษฐกิจดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศสามารถกำหนดเป้าหมายฐานเงินรายไตรมาสและรายวัน เพื่อใช้เป็นหลักในการบริหารสภาพคล่องรายวัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับสภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ยในระบบการเงิน มิให้เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวนจนเกินไป ดังนั้นการที่ทางการหรือทางภาครัฐ ในการกำหนดเป้าหมายทางการเงินเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการกำหนดทิศทาง หรือแนวทางในการปฏิบัติงานของทางภาครัฐ จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินของไทยนั้นมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบมากขึ้น มีการวางแผน มีแนวทาง และมีความสอดคล้องมากขึ้นเช่นกันนะคะ
- ทางภาครัฐมีการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นอย่างดีที่สุด จากที่ทราบกันดีอยู่แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้พิจารณาปัจจัยต่างๆในระบบการเงิน ทั้งปัจจุบันและในอนาคตแล้วเห็นว่า การใช้ปริมาณเงินเป็น เป้าหมายจะมีประสิทธิผลน้อยกว่าการใช้เงินเฟ้อเป็นเป้าหมาย เนื่องจาก ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมาไม่มีเสถียรภาพ ดังนั้นเมื่อประเทศไทยออกจากโปรแกรมกองทุนการเงินระหว่างประเทศธนาคารแห่งประเทศ จำเป็นต้องมีการกำหนดนโยบายใหม่ ที่เหมาะสมสำหรับประเทศ และเห็นว่ากรอบแนวคิดเหล่านี้น่าจะเหมาะสมในการสร้างความน่าเชื่อถือของธนาคารกลางและนโยบายการเงินอีกครั้ง
การดำเนินการตามนโยบายที่ได้กล่าวมาโดยข้างต้นนั้นเหมาะสมเป็นอย่างมากเลยนะคะ ในการพัฒนาระบบการเงินภายในประเทศไทย จากแรกเริ่มเดิมทีระบบการเงินของไทยไม่ได้เป็นไปอย่างเป็นระบบหรือตามแผน ทั้งนี้เป็นเพราะแต่เดิม ประเทศไทยเราได้ละเลยและหละหลวมการพัฒนาด้านระบบการเงินเป็นอย่างมาก กล่าวได้เลยว่าแต่เดิมนั้นทางการไม่ได้ให้ความสำคัญของระบบการเงินได้ดีเท่าที่ควรเลยนั่นเองค่ะ แต่ต่อมาระบบการเงินหรือนโยบายทางการเงินได้มีการพัฒนา มีการวางแผน มีเป้าหมาย และมีการกำหนดการที่ชัดเจนเลยนั่นเองค่ะ จึงทำให้ปัจจุบันนี้ระบบนโยบายการเงินได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก มีการเอาใจใส่จากทางภาครัฐและประชาชนมากขึ้น
แต่ทั้งนี้นโยบายระบบการเงินของไทยก็ยังไม่ถึงขั้นว่าดีเท่าที่ควรจะเป็นเท่าที่ควรนักนะคะ จะต้องมีการปรับปรุงอยู่มาก แต่การพัฒนานโยบายระบบการเงินของไทยไม่ได้หยุดอยู่นิ่งแต่มีการพัฒนาเป็นระบบที่ค่อยมาค่อยไปนั่นเองค่ะ