ในปัจจุบันจะพบว่าคนไทยมีปัญหาทางการเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยบวกกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดิมทีอัตราเงินเดือนของพนักงานบริษัทเอกชนต่างๆ ก็เพียงพอแค่การนำมาใช้จ่ายเท่านั้น หากแต่คนไทยยังคงมีความเสี่ยงกับชีวิต เพราะยังขาดแคลนเงินการใช้เงินที่ถูกต้องและยังคงเป็นหนี้เป็นสินกันเสียมาก บ้างก็เป็นหนี้บัตรเครดิต บ้างก็เป็นหนี้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงเกินความเป็นจริง ทว่าการเป็น มนุษย์เงินเดือน นั้นใช่ว่าจะไม่สามารถมีเงินออมได้ เพราะยังมีวิธีการใช้เงินในแบบฉบับมนุษย์เงินเดือนมาแนะนำกัน
กลยุทธ์ในการใช้เงินของเหล่า มนุษย์เงินเดือน นั้นต้องเริ่มจากการเตรียมความพร้อมทางด้านการเงินเสียก่อน ด้วยการวางแผนทางการเงิน นำอัตราเงินเดือนของตนเองมาคำนวณถึงสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในที่นี้จะลองคิดจากอัตราเงินเดือนพื้นฐานเริ่มต้นโดยทั่วไป คือเงินจำนวน 15,000 บาท และการวางแผนการใช้เงินในแต่วันดังต่อไปนี้
-
แบ่งส่วนค่าอาหาร
กลยุทธในการใช้เงินอันดับแรกคือการจดบันทึกค่าใช้จ่ายของอาหารในแต่ละวัน โดยการกำหนดให้อัตราค่าอาหารนั้นไม่ให้เกิน 200 บาทต่อวัน นั่นหมายถึงภายในหนึ่งเดือนที่มีการทำงานอยู่ประมาณ 20 วัน จะมีค่าอาหารรวมทั้งหมดไม่เกิน 4,000 บาท เมื่อหักออกจากอัตราเงินเดือนแล้วนั้นจะเท่ากับ 15,000-4,000 = 11,000 หมายถึงมียอดเงินเดือนคงเหลือล่าสุด 11,000 บาท นั่นเอง
-
แบ่งส่วนค่าที่พักอาศัย
สำหรับผู้ที่มีบ้านพักเป็นของตัวเองอยู่แล้วอาจจะโชคดีกว่าผู้ที่เช่าหอพัก เพราะค่าใช้จ่ายในส่วนที่พักอาศัยนั้นจะถูกตัดออกไปสมทบกับส่วนอื่นๆ แต่หากใครที่อาศัยอยู่ในหอพักให้แบ่งส่วนค่าที่พักอาศัยเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 5,000 บาทรวมค่าใช้จ่ายในส่วนของน้ำและไฟฟ้า ซึ่งต้องอาศัยความประหยัดเพื่อให้เสียรายจ่ายในส่วนที่พักอาศัยนี้ให้น้อยที่สุด นั่นหมายความว่าเงินเดือนคงเหลือที่มีอยู่ 11,000 บาท จะคงเหลือดังนี้ 11,000-5,000 = 6,000 บาท เป็นยอดคงเหลือล่าสุด
-
แบ่งส่วนค่าเดินทาง
สำหรับกลยุทธในการใช้เงินอันดับต่อมาคือการแบ่งส่วนสำหรับค่าเดินทาง สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถส่วนตัวให้ประมาณการค่าน้ำมันที่ใช้ในแต่ละเดือนเอาไว้ แต่สำหรับผู้ที่ใช้การเดินทางโดยรถโดยสารหากไม่มีความจำเป็นก็ให้โดยสารด้วยรถเมล์ซึ่งมีอัตราค่าโดยสารที่น้อยกว่าการเดินทางด้วยวิธีการอื่นๆ ทว่าจะต้องเผื่อเวลาในการเดินทางมากกว่าเสียหน่อย เพราะอย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าเมืองไทย (กรุงเทพฯ) นั้นติดอันดับเป็นเมืองที่มีรถติดที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 2 เลยทีเดียว ซึ่งเมื่อประมาณการได้แล้วก็ควรมานั่งวิเคราะห์และวางแผนการใช้เงินต่อว่า ในอัตราเงินคงเหลือจำนวน 6,000 บาทนั้น ควรแบ่งส่วนใช้อย่างไรให้เพียงพอและประหยัดที่สุด
-
แบ่งส่วนค่ารักษาพยาบาลยามฉุกเฉิน
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการแบ่งส่วนการใช้เงินนั่นก็คือส่วนในยามฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ หรือจะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนอื่นจิปาถะที่ควรมีเงินสำรองไว้ให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างหนี้สร้างสิน เพราะการไม่มีหนี้นั้นคือลาภอันประเสริฐ โดยเฉพาะหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดอยู่ที่ร้อยละ20 ต่อวันตามที่เคยเป็นข่าว และหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดก็อาจจะถูกข่มขู่กระทั่งอาจทำให้เกิดเหตุร้ายแรงได้ แต่ก็ใช่ว่าจะหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้นอกระบบเป็นการเป็นหนี้บัตรเครดิตเสียแทนเพื่อหลีกเลี่ยงกลุ่มเจ้าหนี้ขาโหด เพราะการเป็นหนี้บัตรเครดิตนั้นจะทำให้แผนการใช้เงินที่ได้วางไว้ต้องผิดไป เนื่องจากอัตราเงินเดือนที่ไม่คงที่ และการใช้บัตรเครดิตยังเป็นการสร้างนิสัยการใช้เงินที่ไม่ถูกต้อง จากการไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจให้ปฏิบัติตนตามแผนได้ โดยให้แบ่งส่วนจากอัตราเงินเดือนที่คงเหลือจากการแบ่งส่วนค่าเดินทางไว้แล้วสักกึ่งหนึ่ง
-
แบ่งเงินที่เหลือเป็นส่วนออม
มาถึงจุดนี้อัตราเงินคงเหลืออาจจะไม่ได้มากมายนัก แต่อย่างน้อยก็ควรเก็บออมไว้ อาจใส่ในกระปุกออมสินหรือเปิดบัญชีออมทรัพย์ฝากไว้ในธนาคาร จากเศษเงินเพียงเล็กน้อยก็จะเพิ่มพูนเป็นกองเงินมหาศาลได้ในไม่ช้า และเพื่อเป็นการให้รางวัลแก่ตนเองก็อาจจะใช้เงินออมที่เก็บไว้จนเพียงพอส่วนนี้ ไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็ยังคงมีสถานที่ๆ สวยงามอีกมากมายรอให้ไปเยี่ยมชม
เมื่อเตรียมความพร้อมทางการเงินแล้วก็อย่าลืมที่จะใช้จ่ายอย่างมีสติ ไม่ใช่การตระหนี่ถี่เหนียวไม่ยอมจับจ่ายใช้สอย เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้มีสภาพคล่อง อันเป็นส่วนหนึ่งที่จะเกื้อหนุนสถานะทางการเงินของคนไทยต่อไปได้นั้น นั่นก็คือการใช้จ่ายเงินของประชากรอย่างเหมาะสม อาทิ เลือกซื้อสินค้าที่เป็นแบรนด์ของคนไทยแทนที่การซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมจากต่างชาติ หรือเลือกสนับสนุนสินค้าจากร้านค้ารายย่อยของคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสินค้าต่างๆ ของไทยให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าการวางแผนในการใช้จ่ายนั้นไม่ใช่เรื่องยาก หากแต่ต้องพยายามใช้เงินตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เรียกได้ว่าต้องเป็นคนที่รู้เก็บ รู้ใช้ มีวิธีการใช้เงินแบบพอเพียงอันหมายถึงใช้เงินตามฐานะ มิใช่การตระหนี่ถี่เหนียวไปเสียหมด และหากสามารถใช้เงินได้ตามกลยุทธ์เหล่านี้แล้ว รับรองว่ามนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ก็สามารถรวยได้เช่นกัน
เงินเดือนไม่พอใช้ ทำบัตรเครดิต ไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน คลิก!