การวางแผนทำในสิ่งใดสักอย่างนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องมีการวางระบบระเบียบและขั้นตอน แต่ละขั้นตอนก่อนจะไปถึงเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้นั้น ก็ต้องมีอุปสรรค ระหว่างทางต้องมีการปรับเปลี่ยนแผน และเติมกลยุทธ์ใหม่ๆเข้าไป เฉกเช่นเดียวกันกับ การวางแผนด้านการเงินของตนเอง ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตการเงินของเราจะเป็นอย่างไร คุณอาจจะต้องตกงาน หรือมีภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการไม่มีวางแผนการเงินที่ดี ดังนั้น การวางแผนด้านการเงินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่ออนาคตของตนเองและคนในครอบครัว
ผู้เขียนจึงอยากจะนำเสนอ 10 สิ่งที่คุณต้องทำก่อนเกษียณเพื่อเป็นหลักประกันให้กับตัวคุณและสร้างความมั่นคงด้านการเงินให้กับคุณ โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ซีรีย์ เนื้อหาดังต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่ได้รับการแบ่งปันจากเพื่อนสนิทที่ทำงานอยู่แบงก์ใหญ่ย่านสีลมที่อำนวยความสะดวกในด้านข้อมูล จึงขอขอบคุณมาในโอกาสนี้ การ ออมก่อนเกษียณ
1. เริ่มต้นวางแผนรายรับและรายจ่าย
ก่อนเริ่มต้นที่จะวางแผนด้านการเงินของตนเองนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การจัดทำบัญชีรายรับและรายจ่ายของตนเองและบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งในครอบครัว การจัดทำรายรับรายจ่ายด้วยเหตุผลที่ว่าจะรู้แหล่งที่มาของรายได้ และปลายทางของรายจ่ายที่ไป เมื่อเรารู้จะช่วยให้เราสามารถจัดการบริหารการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้นว่าเมื่อเวลาใดจะต้องจ่ายและเวลาใดรายได้ถึงจะเข้ามา นอกจากรายจ่ายแล้วจะต้องทำการใส่รายการเกี่ยวกับเงินกู้หรือสินเชื่อต่างๆด้วย ทั้งนี้สิ่งที่ลืมไม่ได้ คือ รายจ่ายที่ไม่ได้ก่อนรายได้ เช่น สินค้าฟุ่มเฟือย ค่าเทอมลูก เบี้ยประกัน ค่าบัตรเครดิต
2. หักรายได้เป็นเงินสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน
อย่ามองข้ามในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่ได้ทันตั้งตัวหรือวางแผนสำรองไว้ เช่น ความเจ็บป่วย หรือ ตกงาน รายได้ที่คุณได้รับในแต่ละเดือนควรทำการกันเงินบางส่วนเก็บสำรองไว้ทุกๆเดือน โดยมีสูตรอยู่เพียงแค่ต้องทำการนำเงินเดือนที่คุณได้รับไปคูณกับรายจ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงของวิกฤต ควรจะต้องสำรองไว้ร่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะปลอดภัย แต่สิ่งสำคัญ คือ ห้ามทำการเบิกหรือถอนเงินจากส่วนนี้เด็ดขาดถ้าไม่มีความจำเป็น
3. ทำประกันคุ้มครองตนเองและครอบครัว
หลักใหญ่อีกประการของการวางแผนอนาคตที่มั่นคง คือ การคุ้มครองตนเองจากอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ คือ การทำประกัน การทำประกันเพื่อแบ่งเบาภาระที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และรวมถึงช่วยกระจายความเสี่ยง เช่น การทำประกันสุขภาพ การทำประกันอุบัติเหตุ การทำประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย การทำประกันรถยนต์ หากเกิดบางสิ่งกับเราหรือคนรอบข้างอย่างน้อยประกันที่เราได้ทำไว้นั้นก็จะช่วงแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายหรือเงินชดเชยให้กับบุคคลที่รับผลตอบแทน ดังนั้นการทำประกันจึงถือเป็นหัวใจหลักของการวางแผนที่ดี ดังนั้นการที่จะเลือกซื้อประกันก็ต้องทำการเลือกซื้อประกันจากบุคคลที่มีความสนิมสนมและเลือกซื้อจากบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ
4. เริ่มวางแผนและทบทวนการลงทุน
จากข้างต้น 3 ข้อ เมื่อได้ทำตามขั้นตอนทั้ง 3 แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการพิจารณาแผนการลงทุน เนื่องจากการที่เราเริ่มต้นวางแผนที่จะลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ จะต้องมีการจัดเตรียมแผนและทำตามขั้นตอน วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการวางแผน คือ การทดสอบความเสี่ยงที่คุณสามารถรับได้เสียก่อน เพื่อที่เราจะรู้ว่าเราสามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับไหน ในการทดสอบความเสี่ยง สามารถทำการดสอบได้ที่สถาบันการเงินต่างๆ โดยจะเป็นแบบทดสอบด้วยคำถาม 10 คำถาม เมื่อได้ผลออกมาจะเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถกำหนดแนวทางการลงทุนและสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
5. บริหารการลงทุนในด้านต่างๆด้วยตนเองหรือผ่านที่ปรึกษามืออาชีพ
นอกเหนือจากลงทุนที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันแล้ว การลงทุนในเรื่องของหุ้น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมต่างๆนั้น ถือเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยง หากคุณมีความรู้ควาเข้าใจและมั่นใจว่าจะสามารถบริหารเงินทุนของคุณให้งอกเงยได้ ก็สามารถที่จะทำได้ด้วยตนเอง แต่หากคุณมีเงินทุนแต่ไม่มีความเข้าใจหรือขาดความรู้ ควรที่จะพึ่งบริการที่ปรึกษาด้านการลงทุนจากทางสถาบันการเงิน เพื่อวางแผนการลงทุนและจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับคุณ เนื่องจากการลงทุนในรูปแบบก็ตามนั้นมีความเสี่ยงในตัว การขาดความเข้าใจหรือความชำนาญก็อาจจะส่งผลให้เงินที่ลงทุนนั้นสูญหายหรือเปล่าประโยชน์
จาก 5 สิ่งข้างต้นที่กล่าวมานั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการแผนการลงทุนและการสร้างหลักประกันต่างๆที่จะช่วยสร้างความอบอุ่นใจในยามที่เกิดเหตุฉุกเฉิน การออมหรือการลงทุนไม่ได้หมายความที่เราจะต้องนำเงินก้อนโตไปลงทุน แต่หมายถึงการเฉลี่ยเงินจากรายได้สะสมในรูปแบบการลงทุนและซื้อหลักประกันให้กับตนเอง เป็นการค่อยทยอยลงทุน จนเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งเงินที่ได้ลงทุนหรือเก็บไว้ก็จะเป็นก้อนใหญ่ขึ้น สำหรับซีรีย์ที่ 2 ก็จะกล่าวถึงในส่วนอีก 5 สิ่งที่คุณต้องทำก่อนเกษียณ