หลายๆท่านอาจเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ กับคำว่า ค่าเงินบาท อ่อนตัว – แข็งตัวส่งผลให้เศรษฐกิจมีความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ และเกิดความสงสัยว่า มันคืออะไร และมีผลต่อเศรษฐกิจ การเงิน กิจการร้านค้า ธุรกิจต่างๆได้อย่างไร ค่าเงินบาทแข็งแล้วอ่อนได้หรือไม่ แล้วแบบแข็งหรือแบบอ่อนดีกว่ากัน เราจะมาฟังคำอธิบายง่ายๆ กัน
ค่าเงินบาท คืออะไร?
ค่าเงินบาท คือจำนวนเงินบาทเมื่อแลกกับการเงินต่างประเทศ คือเงินสกุลอื่นๆ เช่นเงินดอลล่าร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่น เงินปอนด์สเตอร์ลิง เป็นต้น ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้กำหนดค่าที่เป็นที่นิยมที่สุดก็คือเงินดอลล่าร์สหรัฐ โดยในวันและเวลาต่างๆ เงิน 1 ดอลล่าร์จะแลกได้เท่ากับกี่บาทไทย แต่การเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นๆก็มีการทำอยู่บ้างเช่น 100 เยนญี่ปุ่นจะเท่ากับกี่บาทในวันนี้ 1 ปอนด์สเตอร์ลิง จะแลกได้กี่บาทก็ว่ากันไป
ค่าเงินบาท แข็ง?
เงินบาทแข็ง ก็คือ เงินบาทของเรามีค่ามากขึ้น หรือมีจำนวนตัวเลขที่มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการเงินสกุลอื่น เช่นกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ สมมุติว่าเมื่อไม่นานมานี้ 1 ดอลล่าร์สหรัฐเทียบเท่ากับ 35 บาทไทย แต่มาในวันนี้ เงิน 1 ดอลล่าร์สหรัฐ กลับเทียบเท่ากับเงินไทยเพียง 33 บาทเท่านั้น นั่นก็แปลว่าค่าเงินบาทเราแข็งตัวขึ้น เมื่อเรานำเงินดอลล่าร์ไปแลกที่ธนาคาร เราก็จะได้รับเงินไทยกลับมาน้อยกว่าเดิม
ค่าเงินบาท อ่อน?
ค่าเงินบาทอ่อน ก็มีความหมายตรงกันข้ามกับแข็ง ก็คือในเวลาก่อนหน้านี้ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ อาจจะเทียบเท่ากับเงินไทยเรา 33 บาท แต่มาในวันนี้ 1 ดอลล่าร์สหรัฐกลับเทียบเท่ากับเงินไทย 35 บาท นั่นแปลว่าค่าเงินบาทอ่อนตัวลง และสำหรับการเงิน เมื่อนำเงินดอลล่าร์ไปแลกเป็นเงินไทยก็จะทำให้ได้เงินไทยมากกว่าที่เคยได้ แต่ถ้าหากกำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ ก็ต้องใช้เงินไทยจำนวนมากกว่าในการแลกเป็นเงินดอลล่าร์ที่เท่าเดิม
แล้วอะไรทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัว – อ่อนตัว?
ค่าเงินบาทจะแข็งตัวหรืออ่อนตัวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง อย่างเช่นว่าอยู่ดีๆก็มีเงินลงทุนจากต่างประเทศ หลั่งไหลกันเข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเข้ามาในตลาดหุ้นหรือตลาดการเงิน การลงทุนอื่นๆ ซึ่งนักลงทุนจากต่างชาติจะไม่สามารถใช้เงินตราต่างประเทศที่พวกเขามีอยู่มาลงทุนโดยตรงในตลาดหุ้นไทยได้ ต้องแลกเป็นเงินไทยก่อน ดังนั้นจากเหตุการณ์นี้กลไกทางการตลาดจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นเองตามอัตโนมัติ
อีกกรณีตัวอย่างหนึ่งคือ หากการเงินของธุรกิจการส่งออกของไทยช่วงนั้นสามารถส่งออกได้มาก ผู้ส่งออกของไทยเราจะได้รับรายได้ในรูปของเงินสกุลต่างประเทศซึ่งผู้ส่งออกก็จะต้องนำเงินสกุลประเทศนั้นๆมาแลกเป็นเงินบาทเพื่อการใช้จ่ายในประเทศต่อไป ซึ่งก็จะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับกรณีแรกคือความต้องการเงินบาทมากขึ้น ก็จะทำให้ค่าเงินสูงขึ้น และเกิดค่าเงินบาทแข็งตัวไปตามกลไก
ส่วนกรณีค่าเงินบาทอ่อนตัว ก็มีปัจจัยเหตุทางการเงินหลายอย่างเช่นกัน เช่น ประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศในจำนวนมากๆ เช่นน้ำมัน พืชผลการเกษตรบางชนิด วัสดุเครื่องจักร ฯลฯ ซึ่งจะมีการนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินตราสกุลของประเทศนั้นๆ ก่อนจะนำมาใช้จ่ายได้ ทำให้เงินของประเทศนั้นเป็นที่ต้องการ และกลไกของตลาดก็จะค่าเงินก็จะแข็งตัวขึ้น ในขณะที่ค่าเงินบาทไทยอ่อนตัวลง เป็นต้น
ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าค่าเงินบาทสามารถแข็งตัวขึ้น หรืออ่อนตัวลงได้ด้วยหลายๆปัจจัยทางการเงิน และเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหากนักเก็งกำไรมีความรู้สึกว่าค่าเงินบาทน่าจะอ่อนตัวลงกว่านี้อีกก็จะเกิดความต้องการถือเงินบาทน้อยลง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น และนักเก็งกำไรจำนวนมากคิดเหมือนกันหมด และกระทำเช่นเดียวกัน ก็จะทำให้เงินบาทอ่อนตัวลงไปได้เช่นเดียวกัน
ค่าเงินบาทแข็ง หรือค่าเงินบาทอ่อน ดีกว่ากัน?
การจะบอกว่าค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อนดีกว่ากัน ต้องขึ้นอยู่กับผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ด้วย ซึ่งการที่ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อนนั้นมีข้อดีและข้อเสียทางการเงินอยู่ ไม่สามารถมองเพียงด้านเดียวได้ ซึ่งจะใช้วิธีมองดังนี้คือ เวลาค่าเงินบาทแข็ง หมายความว่าในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะมีความต้องการเงินบาทที่น้อยกว่า ก็จะมีทั้งคนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ คนที่ได้ประโยชน์ อาทิเช่น
กลุ่มธุรกิจนำเข้าสินค้าต่างประเทศ เช่นคนที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรอุตสาหกรรม และสินค้าใดๆที่ต้องใช้การผลิตจากวัตถุดิบต่างประเทศ เนื่องจากสามารถจัดการการเงินทางการซื้อได้ถูกลง ต้นทุนการผลิตก็ต่ำลง หรือแม้แต่การนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเพื่อการใช้โดยตรงหรือ สำหรับการผลิตไฟฟ้า กรณีนี้จะทำให้ค่าน้ำมันรถ หรือค่าไฟที่เราต้องจ่าย ถูกลงไปด้วย
เพราะการนำเข้าสิ่งใดๆก็ตาม แม้ว่าอัตราการเงินต่างประเทศไม่ได้ลดลง หรือถึงแม้จะแพงขึ้นสักเล็กน้อย หากค่าเงินบาทแข็งก็จะมีส่วนช่วยได้มากในการทำให้ผู้ถือเงินบาทไทยซื้อได้ด้วยราคาที่ลดลง ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างที่ผ่านมา ในช่วงหนึ่งที่ราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งอยู่ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์ มีราคาแพงขึ้น แต่ราคาน้ำมันในประเทศที่อยู่ในรูปเงินบาทแทบไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับขึ้นแต่อย่างใด เพราะค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้การนำเข้าราคาถูกลงนั่นเอง
ซึ่งหากค่าเงินบาทอ่อนตัวก็จะส่งผลกระทบในทางตรงกันข้ามเช่นกัน แต่การที่ค่าเงินบาทแข็งตัวก็ส่งผลเสียบางอย่างเช่น เมื่อต่างชาติจะทำการซื้อข้าว หรือผลิตผลทางการเกษตร จากที่เคยต้องการเงินสกุลนั้นจำนวนน้อยกว่า ในการซื้อสินค้าปริมาณเท่าเดิม กลับต้องจ่ายแพงมากขึ้น ส่งผลให้ต่างชาติอาจตัดสินใจเปลี่ยนแหล่งซื้อจากประเทศไทยไปเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาถูกกว่าแทน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการที่ ค่าเงินบาท อ่อนตัวหรือแข็งตัวส่งผลกระทบต่อประเทศ ธุรกิจ อุตสาหกรรม และตัวเราเองอย่างไรบ้าง ซึ่งเราสามารถสรุปได้ว่าไม่ว่าค่าเงินบาทจะแข็งตัวหรืออ่อนตัว ต่างก็ส่งผลกระทบทั้งด้านดีและไม่ดีทั้งนั้น ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ในสถานะใดเป็นตัวบ่งชี้