หลายคนอาจจะสงสัยอยู่ว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นั้นมีความหมายอย่างไร ซึ่ง กองทุนเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้าง ได้มีส่วนร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเก็บออมเงินให้ลูกจ้างสำหรับใช้จ่ายตอนเกษียณอายุ และยังถือได้ว่าเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง และถือเป็นการประหยัดช่วยให้ลูกน้องมีเงินเก็บไปในตัว แต่ข้อเสียคือไม่มีดอกเบี้ยหรือดอกน้อย ส่วนข้อดีคือ ไม่มีเอทีเอ็มให้กด และเงินนี้จะอยู่ไปจนกว่าจะครบปีหรือในระยะเวลาที่ทางบริษัทกำหนด
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาจากไหนบ้าง?
เงินจาก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ของทางบริษัทที่เก็บไว้ให้พนักงาน ไว้เป็นทุนสำรอง หรือเป็นเงินออมสำหรับหลังเกษียณอายุ ซึ่งได้มาจากลูกจ้างหรือสมาชิกที่เป็นพนักงานของบริษัท โดยพนักงานจะถูกหักเงินส่วนหนึ่งจากค่าจ้าง เพื่อทำการเข้ากองทุนเป็นรายเดือน หรือที่เรียกกันว่าเงินสะสม ส่วนนายจ้างซึ่งอาจจะช่วยในการจ่ายเงินอีกส่วนหนึ่งเข้ากองทุนอยู่เป็นประจำทุกเดือน โดยจ่ายนอกเหนือจากการจ่ายเงินค่าจ้างที่จ่ายประจำให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งเงินส่วนนี้จะเรียกกันว่าเงินสมทบ เรียกได้ว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นอยู่ภายใต้การบริหารการจัดการของบริษัท ที่จะดำเนินการ และจะนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ระดับความเสี่ยง ที่รับได้หรือตามนโยบายของการลงทุน โดยกองทุนมีสถานะเป็นนิติบุคคล และแยกต่างหากจากนายจ้างและให้ทางบริษัทจัดการ แต่จะต้องนำไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ลูกจ้างหรือสมาชิกจึงสามารถมั่นใจได้ว่าแม้นายจ้างหรือบริษัทจัดการจะปิดกิจการลงไปก็ตาม แต่เงินจำนวนนี้ก็ยังถือเป็นของลูกจ้าง หรือสมาชิกทั้งหมดโดยไม่มีการผูกพันกับภาระหนี้สินใดๆ ของบริษัทนายจ้าง
ถ้าใครยังไม่เข้าใจ ลองอ่านนี่ดูสิคะ
ผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสบทบ
เงินสะสม เป็นเงินที่อยู่ในส่วนของลูกจ้าง และเป็นเงินที่สมาชิกทำการจ่ายเข้ากองทุน โดยจะถูกหักจากเงินค่าจ้างตามแต่ละบริษัทกำหนดทุกเดือน ซึ่งจะขึ้นนอยู่กับข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้างหรือบริษัท ส่วนเงินสมทบ เป็นส่วนของนายจ้าง ที่ทำการจ่ายเข้ากองทุนเงินสะสมเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งอยู่ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของสมาชิก แต่ต้องไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าจ้าง แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง ส่วนประโยชน์ของเงินสะสมของลูกจ้างนั้น คือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเงินสะสมไปทำการลงทุน โดยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น อาจจะอยู่ในรูปของ ดอกเบี้ย เงินปันผล แต่ผลประโยชน์เงินสมทบ ที่เป็นส่วนของนายจ้าง เป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเงินสมทบไปลงทุน ซึ่งจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น และอยู่ในรูปแบบของ ดอกเบี้ย และเงินปันผล
ประโยชน์ที่สำคัญของ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทางด้านการบริหารจัดการ คือสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทนายจ้าง ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง และมีความห่วงใยลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะทำให้ลูกจ้างมีความศรัทธาต่อกิจการ ซึ่งจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และช่วยในการขจัดปัญหาการพิพาทแรงงาน รวมถึงการลดอัตราการลาออกจากงานของลูกจ้าง และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้าง ได้ทำงานกับนายจ้างนาน ๆ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ช่วยในเรื่องหลักประกันทางการเงิน
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะช่วยสนับสนุนให้พนักงานมีการวางแผนเพื่อการออมระยะยาวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิก รวมถึงครอบครัวว่าจะมีเงินก้อนสำหรับเก็บไว้ใช้สอยในกรณีที่เกษียณอายุ หรือ การออกจากงาน และแม้แต่การเสียชีวิต ส่วนทางด้านผลประโยชน์จากการออม นั้น พนักงานจะได้รับเงินเพิ่มจากส่วนที่ได้สมทบจากนายจ้างเป็นประจำทุกเดือน โดยเป็นการได้รับผลประโยชน์จากการลงทุน ที่เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินปันผล ดอกเบี้ย หรือ กำไรส่วนเกินทุน โดยสมาชิก อาจจะมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูงกว่า การฝากเงินด้วยตนเอง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนหรือขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของสมาชิก โดยจะผ่านการบริหารจากบริษัทจัดการที่มีความเชี่ยวชาญและมีประ สบการณ์ในการลงทุน ทำให้สามารถออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการย้ายงานไปอยู่กับนายจ้างใหม่ๆ แต่ก็ยังสามารถเก็บเงินไว้ที่กองทุนเดิม หรือจะโอนย้ายไปกองทุนใหม่ได้
ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ
เมื่อเกษียณอายุ สมาชิกยังสามารถที่จะขอลงทุนได้อย่างต่อเนื่องโดยสามารถทำการเก็บเงินไว้ในกองทุนต่อไป หรือจะขอทยอยเงินเป็นงวดๆ ก็ได้ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนทางด้านภาษีนั้น นายจ้างสามารถนำเงินที่จ่ายสมทบเข้ากองทุน มาทำการหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อจะได้เสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย
รูปแบบการจัดตั้ง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่จะมีทั้งกองทุนเดี่ยวคือกองทุนที่มีนายจ้างรายเดียวจัดตั้งขึ้น และสามารถตัดสินใจได้โดยอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนร่วม คือกองทุนที่มีนายจ้างตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป โดยทำการร่วมกันจัดตั้งกองทุน โดยอาจจะเป็นนายจ้างในเครือเดียวกันหรือไม่เกี่ยวข้องกันก็ได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนได้ เนื่องจากต้องถือมติเห็นชอบโดยเสียงส่วนใหญ่ หากเป็นกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนในส่วนของนายจ้าง ก็สามารถทำเรื่องแจ้งย้ายไปร่วมกองทุนอื่นที่มีนโยบายที่คณะกรรมการกองทุนเห็นชอบได้