1. สร้างรายได้หลักให้มั่นคงได้ก่อน
ก่อนที่เราจะ หมุนเงิน ได้จะมีอยู่แค่ 3 อย่าง รายได้หลัก ค่าใช้จ่าย เงินลงทุน เพราะ 3 ตัวนี้ละตัวหลักในการหมุนเงิน สิ่งแรกเลยเนี่ย คือรายได้หลักเป็นหัวใจหลักที่ต้อง มีแน่นอน เพื่อเป็นหลักประกันเลยว่า เมื่อไหร่ ฉุกเฉินตัวนี้ละที่จะช่วยคุณ
2. มีวินัยและความอดทนสำคัญกว่าหาเงินให้ทันใช้
เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้ว นั้นทำหลายอาชีพ หลายอย่าง ทั้งงานประจำ รับงาน Consult เป็นนักเขียน และงานวิทยากรอื่นๆ ดังนั้นรายได้ที่เข้ามามากน้อยต่างกันไป อาจจะต้องมีการปรับการใช้จ่าย ปรับวิธีการออมต่างๆ ให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
3. มองหาช่องทางการลงทุน
การลงทุนมีหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็นการออมเงิน หรือการนำเงินไปต่อยอด ถึงอย่างไรก็คือการลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงยจากเดิม แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ คำนวณเรื่องการลงทุนให้ดีว เงินที่เรานำมาลงทุนนั้น จะต้องน้อยกว่า เงินเย็นที่คุณกันไว้เมื่อยามฉุกเฉินไม่ต่ำกว่า 2 เท่า ยกตัวอย่างเช่น
รายได้หลักของคุณได้เดือนละ 30,000 บาท ถ้าหากค่าใช้จ่าย ทั้งหมดต่อเดือน 15,000 บาท คุณจะเหลือเงิน 15,000 บาท หลักการลงทุนจะดึงเงิน 1 ส่วนออกมาจากเงินออมเพื่อนำมาลงทุน คุณจะเหลือเงินออม 10,000 บาทและนำเงิน 5,000 บาทมาลงทุนต่อ
อ่านเพิ่มเติม >> ลงทุนในอะไรดี ? เตรียมความพร้อมก่อนการลงทุนกัน ! <<
4. ตื่นรู้เสมอ
เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเริ่มจากตัวเองเสียก่อน วันนี้คุณมีเงินใช้ ข้างหน้าคุณอาจจะไม่มีเงิน เมื่อไหร่ที่คุณรู้ตัวเองเสมอ ความคิดของคุณมันจะเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง คุณจะพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆพร้อมหาช่องทางสร้างรายได้ วางตัวเป็นกลางเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ตัวนี้จะเป็นตัวต่อยอดชีวิตของคุณได้เป็นอย่างดี คุณสามารถนำหลักการพาเรโตมาใช้ในการบริหารชีวิตและเวลาของคุณได้ด้วยการนำกฏ 80/20 ยกตัวอย่างเชาน
หากทำบัญชีรายจ่ายส่วนตัวของ จะพบว่ารายจ่ายส่วนใหญ่ 80 % จะอยู่ในกลุ่มรายการข้อรายจ่ายเพียง 20 % ของรายการทั้งหมด กลุ่มรายการเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรายการที่รับประทานไม่ได้ หากรับประทานไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์,บุหรี่,ค่ามือถือคุยไร้สาระ ค่าเสื้อผ้า คนส่วนใหญ่หลงคิดไปว่าใช้เงินสำหรับซื้อความสุข
ซึ่งความสุขที่ได้ซื้อมานั้น จะสุขแบบชั่วครั้งชั่วคราว สุกๆดิบๆ ไม่สุขจริง และเมื่อหมดสุข ก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้อหาความสุขใหม่เปรียบได้กับการเป็นทาสของกิเลสตัณหา มีความสุขจอมปลอมเป็นสารเสพติด บังคับให้ผู้เสพต้องดิ้นรนไขว่คว้าเงินตราไปซื้อหาอย่างไม่สิ้นสุด
ดังนั้นหากควบคุมรายการรายจ่ายจำนวน 20 % นี้ได้ ด้วยการชนะใจตนเองจะทำให้ลดรายจ่ายส่วนมากที่มีปริมาณถึง 80 % เราควรให้ความสำคัญของการใช้เวลาในการทำงานประจำวันของเราว่า เวลา 80 %ที่คุณใช้ไป ให้คุณค่าหรือผลงาน 20 %ที่มีคุณภาพที่สุดออกมาหรือยัง งานแต่ละอย่างอาจใช้เวลาเท่ากันในการทำให้สำเร็จ แต่จะมีอยู่ 1 – 2 งาน เท่านั้น ที่จะให้คุณค่ามากเป็น 5 เท่า หรือ 10 เท่าของงานอื่น หากคุณเป็นคนผลัดวันประกันพรุ่งในงาน 1-2 ชิ้นนั้น คุณก็จะกลายเป็นคนที่ยุ่งตลอดวัน โดยทำงานได้สำเร็จน้อยมาก คุณกำลังทำงานที่มีคุณค่าต่ำ และผัดวันประกันพรุ่งในงานสำคัญอยู่หรือเปล่า ใช่แล้ว…..งานสำคัญของคุณคือ การสะสมทรัพย์ภายใน หาใช่ทรัพย์ภายนอก
5. รู้จักบริหารหนี้ที่มีอยู่ และไม่สร้างหนี้ใหม่อีกถ้าไม่จำเป็น
เมื่อเป็นหนี้ ก่อภาระเข้าแล้ว สิ่งที่ควรจะทำก็คือ จัดการกับหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงก่อน โดยเฉพาะกรณีได้เงินก้อนมา โปะอะไรก่อน? โปะบัตรเครดิตก่อน ถัดลงมาก็ค่อยๆดูว่า หนี้ไหนดอกเบี้ยแพง ระยะเวลาผ่อนชำระสั้นสุด จ่ายก่อน แต่ทั้งนี้ ต้องจ่ายทุกๆรายการหนี้ตามรอบเวลาชำระ เอาเงินค่าบ้านไปหมุนค่ารถก่อน แล้วหยุดชำระค่าบ้าน ระวังธนาคารจะเรียกเก็บอัตราสูงสุด แถมบางแห่งมีเบี้ยปรับมาอีก คำนวณความสำคัญของเงินและดอกเบี้ยเงินกู้ เงินผ่อน ให้ดีเพื่อจะได้ไม่มีภาระต่อยอดไม่มีวันจบ
อ่านเพิ่มเติม >>> บริหารหนี้อย่างไร ให้หมดหนี้แบบหมดจด <<<
6. แนวทางสุดท้ายให้มีความเชื่อเรื่องแรงดึงดูดของชีวิต
เงินขาดมือเมื่อไหร่มักจะเอาในสิ่งที่พลาดแล้วมาตรอกย้ำให้คิดตลอด บอกเลยไม่มีประโยชน์ แถมยังให้คุณเครียดไปเปล่าๆ เลิกบ่นเรื่องค่าใช้จ่ายไม่พอใช้เสียที ก่อนอื่นควรจะเปลี่ยนแนวคิดของตัวเองก่อนว่า เราไม่มีเงินพอใช้ เพราะเราอาจจะใช้เงินไม่เป็น และเราจะลดรายจ่ายอย่างไรให้มากที่สุด เพราะยิ่งถ้าเราคิดว่าเราไม่พอใช้ ก็ไม่มีวันที่เราจะมีเงินพอใช้ แต่ถ้ามองหาวิธีการลดรายจ่าย เราจะค้นหาเจอ และเมื่อเราลดรายจ่ายได้ เราจะมีเงินเหลือเก็บได้แน่นอน เงินไม่มีวันขาดมือ