การลงทุนไม่ใช่เรื่องยากถ้าหากเราตั้งใจจะทำจริงๆ แต่การลงทุนนั้นเราก็ต้องดู ทิศทางการลงทุน ให้ดีด้วยเช่นกันว่าเราควรจะลงทุนแบบไหน และต้องทำอะไรบ้างในยุคที่เศรษฐกิจเป็นแบบนี้ และในวันนี้เราจะพามาดูกันว่าคุณเก่งมีวิธีการอย่างไรเพื่อทำให้การลงทุนนั้นประสบความสำเร็จมากขึ้นกว่าเดิม
กล้า : สวัสดีครับคุณเก่ง ผมชื่อกล้า ที่เป็นเพื่อนของแก้ว น้องคุณเก่งนะครับ
เก่ง : สวัสดีครับเชิญนั่งเลย ที่แก้วบอกว่ามีเรื่องมีปรึกษาใช่ไหมครับ มีปัญหาเรื่องอะไรอยากให้ช่วยหรอครับ
กล้า : คือผมสงสัยนะครับว่าจะลงทุนอย่างไรดี เพราะนี่เพิ่งเอาเงินไปลงทุนกับร้านอาหารกับเพื่อนคนอื่นไป แต่ดูแล้วไม่น่าปลอดภัยเลยครับสำหรับเศรษฐกิจแบบนี้ ก็เลยกังวลว่าที่ผมลงทุนไปจะขาดทุนหรือเปล่า
เก่ง : เอาจริงๆถ้ากิจการร้านอาหารนั้นยังโอเคก็ไม่เป็นไรนะผมว่ามันสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงที่ยังมาไม่ถึงมากกว่าครับ ในกรณีนี้ เพราะปัญหายังไม่เกิดเลยนี่นา ซึ่งถ้าให้ดีคุณควรเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นดีกว่า เพราะหากมีปัญหาขึ้นมาจริง จะได้แก้ไขได้ทันนั่นเอง
กล้า : อย่างนั้นหรือครับ แล้วคุณเก่งมีข้อแนะนำอะไรไหมครับ คือผมไม่รู้ว่าจะจัดการความเสี่ยงพวกนี้อย่างไรน่ะครับ
เก่ง : ครับ ต้องบอกก่อนเลยนะครับว่าความเสี่ยงเนี่ยพวกเราเจอะกันอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วครับ เป็นปัจจัยที่เราอาจจะคิดไว้หรือไม่ได้คิดไว้ก็ได้ ว่ามันจะส่งผลกระทบต่ออะไรก็ตามที่เราทำอยู่ ซึ่งในที่นี้คือธุรกิจหรือการลงทุนของคุณกล้านั่นเอง สำหรับผมอยากแนะนำแค่ 4 ข้อนะครับ อาจจะไม่ง่ายนักแต่น่าครอบคลุมปัญหาได้ดีทีเดียว คือ
1. สำรวจความเสี่ยงที่ตนเองมีอยู่
การสำรวจความเสี่ยงที่ตนเองมีอยู่ เช่น ภาระหนี้สินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต ค่าบ้าน ค่ารถยนต์ เบี้ยประกัน หรือแม้กระทั่งค่ารักษาพยาบาลต่างๆ ความมั่นคงในหน้าที่การงาน แน่นอนว่าการงานเป็นเรื่องที่สำคัญ เราจะได้เงินมาจากไหนกันถ้าเราไม่ทำงาน ดังนั้นอย่าลืมดูความเสี่ยงจากการทำงานด้วยว่าเรามีโอกาสที่จะทำงานที่ทำอยู่ไปนานแค่ไหน และมีโอกาสที่เราจะเปลี่ยนเป็นงานที่ดีกว่าได้หรือไม่ เป็นต้น ซึ่งหากมีความเสี่ยงมากก็ควรคำนึงดูว่าความเสี่ยงนั้นร้ายแรงแค่ไหน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงนั่นเอง
2.ประเมินความเสี่ยง
แน่นอนว่าเรื่องของความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนี้ แต่การประเมินความเสี่ยงนั้นจะเป็นการมองไปยังอนาคตโดยใช้ปัจจัยความเสี่ยงที่เรามีในปัจจุบัน การประเมินความเสี่ยงก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่เราตั้งคำถามกับตัวเรา เช่น ในเรื่องความเสี่ยงจากการทำงานว่าถ้าหากเราโดนไล่ออกจากที่ทำงานที่ทำอยู่นั้น เราจะไปทำอะไรต่อได้บ้าง และเงินที่ได้รับชดเชยมา 3 เดือนนั้นจะพออยู่ไปจนถึงตอนที่เริ่มงานใหม่ได้หรือไม่ เป็นต้น ลองคิดถึงสถานการณ์ที่หลากหลายและดูว่าความเสี่ยงในเรื่องใดที่ดูจะมีความรุนแรงมากที่สุดกับชีวิตเราก่อน และเริ่มวางแผนเพื่อจัดการกับความเสี่ยงนั้น
3.การจัดการกับความเสี่ยง
การจัดการกับความเสี่ยงจะเริ่มหลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว ซึ่งในตอนนั้นเราแนะนำว่าให้จัดการกับความเสี่ยงที่รุนแรงมากก่อนใช่หรือไม่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วการจัดการความเสี่ยงยังต้องเรียงลำดับจากความยากง่ายในการแก้ไขปัญหาดูด้วย ดังนั้นต้องลองเองเรื่องความรุนแรงและความยากง่ายในการแก้ไขมาพิจารณาร่วมกันดู ซึ่งหลายๆครั้งเลยที่มันจะออกมาในรูปแบบของหนี้สินที่เป็นก้อนๆ เนื่องจากหนี้สินเหล่านี้ดึงเงินไปเป็นจำนวนมากและทำให้เราไม่มีเงินออมเสียที ดังนั้นเรากำจัดหนี้ก้อนเล็กออกไปก่อนทั้งก้อนจะดีที่สุด เพื่อจะได้มีเงินออมและกำไรจากการลงทุนได้นั่นเอง อีกทั้งการไม่มีหนี้สินยังลดความเสี่ยงไปได้มากอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติม >> ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ เพื่อความมั่นคง <<
4.ไม่เพิ่มความเสี่ยง
ถ้าหากเรากำจัดความเสี่ยงเดิมได้แล้ว และสร้างความเสี่ยงใหม่ขึ้นมาแบบนี้ ชีวิตของเราก็จะเหมือนกับย่ำเท้าอยู่กับที่เลย เพราะทำอย่างไรๆมันก็เสี่ยงเท่าเดิม ดังนั้นระมัดระวังในการสร้างความเสี่ยงเพิ่มให้ดี คิดพิจาณาให้รอบคอบว่าเราพร้อมจะรับกับสถานการณ์ที่แย่ที่สุดจากการสร้างความเสี่ยงใหม่ได้หรือไม่ แม้ว่าความเสี่ยงนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ดี เช่น การลงทุนก็ตาม เพราะหากผิดพลาดขึ้นมา มันก็เป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้ธุรกิจของคุณย่ำแย่อยู่ดี
กล้า : ดูเหมือนว่าจะต้องกลับมาเริ่มที่ตัวผมสินะครับ
เก่ง : มันก็มีส่วนแหล่ะครับ ผมว่าเราต้องมองให้ครบทุกมิติที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้มากกว่าน่ะครับ
กล้า : ยังไงวันนี้ก็ต้องขอขอบคุณคุณเก่งมากเลยนะครับ
คิดจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีความมุ่งมั่นมากพอ และอย่าเพิ่งกังวลไปกับความเสี่ยงที่ยังมาไม่ถึง แต่ให้เตรียมพร้อมสำหรับรับมือกับความเสี่ยงแทน ทีนี้การลงทุนก็ประสบความสำเร็จได้ไม่ยากแล้วล่ะ แถมยังอาจจะทำกำไรได้อย่างมากมายอีกด้วยนะ ใครที่กำลังคิดจะลงทุน อย่าลืมทำความเข้าใจกับความเสี่ยงกันด้วยล่ะ