จากข่าวที่ สบน.เตรียมจำหน่าย พันธบัตรออมทรัพย์ วงเงินสูงสุดในประวัติการณ์ที่ 50,000 ล้านบาท อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี โดยจ่ายดอกเบี้ยทุก 6 เดือน ข่าวนี้คงทำให้คนที่นิยมออมเงินกับพันธบัตรคงแห่ไปซื้อกันอย่างแน่นอน ซึ่งกำหนดการจำหน่ายนั้นจะเริ่มระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2558- 29 กุมภาพันธ์ 2559 โดยซื้อขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อบัญชีต่อคน โดยจำหน่ายผ่าน 4 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย
แน่นอนว่าคนที่ติดตามข่าวคงรู้กันดีว่า พันธบัตรออมทรัพย์ 50,000 ล้านบาท นั้นเป็นนโยบายของกระทรวงการคลัง ที่ต้องการระดมทุนเพื่อแก้ปัญหาชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่มีการขาดดุล 390,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลต้องหารายได้มาอุดหนุนชดเชยเงินส่วนนี้ ซึ่งประชาชนอย่างเราๆก็สามารถลงทุนกับพันธบัตรนี้ได้เพราะเงินลงทุนเริ่มต้นแค่ 1,000 บาทและไม่กำจัดจำนวนครั้งที่ซื้อด้วยซึ่งหมายความว่าเราสามารถซื้อได้เรื่อยๆแต่ต้องไม่เกิน2 ล้านบาทต่อบัญชีต่อคนคลังขายโดยชำระดอกเบี้ย ชำระปีละ 2 งวด คือ วันที่ 19 เม.ย. และ 19 ต.ค. ของทุกปี แต่หลายๆคนอาจมองว่าดอกเบี้ยน้อยกว่าการลงทุนในพวกกองทุนต่างๆแต่หากมองอีกมุมหนึ่งดอกเบี้ยก็สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำและระยะเวลาไม่นานเกินไปเพียงแค่ 3 ปี เหมาะกับคนที่นิยมการฝากเงินแบบเก็บไว้เฉยๆ ไม่หวังผลกำไรมากนัก หรือไม่นิยมลงทุนพวกกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง
จากข่าวนี้เชื่อว่าประชาชนจะให้ความสนใจกันมากพอสมควรทั้งกลุ่มคนเกษียณอายุที่ได้เงินบำเหน็จไปก่อนหน้านี้ไม่กี่วันจะนำเงินมาซื้อพันธบัตรเก็บออมไว้ หรือคนที่มีรายได้หรือมีเงินเก็บก็น่าจะแบ่งมาลงทุนกันพันธบัตรนี้ด้วยเช่นกัน และอีกกลุ่มคือคนทำงานที่มีเงินเก็บหรือมีรายได้พอที่จะแบ่งมาออมการออมกับพันธบัตรนี้ก็น่าสนใจและรูปแบบไม่ได้มีข้อกำหนดที่ต้องซื้อครั้งละมากๆ หรือซื้อได้ครั้งเดียวน่าจะเป็นการกระตุ้นให้คนสนใจด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการออกพันธบัตรออมทรัพย์ 50,000 ล้านบาทนั้นน่าจะประสบผลสำเร็จในการระดมทุนเพื่อหาเงินชดเชยกับการขาดดุลงบประมาณต่างๆของประเทศในตอนนี้
แม้ว่าช่วงนี้เศรษฐกิจยังดูเหมือนไม่ค่อยมีการขัยบขยายเติบโตมากนัก ประชาชนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้เงินทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันกระตุ้นให้มีการหมุนเวียนเงินในระบบมากขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจเดินไปได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าช่วงนี้จะมีโครงการใหม่ๆออกมาให้กระตุ้นให้ประชาชนใช้เงินกันมากขึ้น ทั้งเรื่องของที่อยู่อาศัย , ยานพาหนะ , และอื่นๆเพื่อให้ผู้ประกอบการต่างๆยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และในส่วนของภาคประชาชนก็มีโครงการต่างๆออกมาช่วยเหลือทั้งผู้มีรายได้น้อย , เกษตรกร , ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ที่ถูกเลิกจ้างงานที่นับวันจะมีเพิ่มมากขึ้นซึ่งเราต้องยอมรับความจริงกันว่า ณ.ปัจจุบันเศรษฐกิจบ้านเราอยู่เปรียบเสมือนคนป่วยเรื้อรังที่รอการรักษา นโยบายต่างๆที่ภาครัฐมีออกมาบางอย่างสามารถทำให้นักลงทุนหันกลับมาลงทุนได้บ้าง นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวหนาแน่น แต่บางอย่างก็ไม่สามารถกระตุ้นอะไรได้ อีกทั้งตอนนี้ประเทศไทยมีหนี้สินหรือหนี้สาธารณะคงค้างนั้นสูงถึง 5,736,644.08 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.81% ของ GDP ซึ่งมีการสรุปตัวเลขนี้เมื่อประมาณเดือนสิงหาคมของปีนี้ และพบว่ามันสูงกว่าเดือนก่อนหน้าก่อนที่จะสรุปตัวเลขนี้ออกมาด้วย
ตัวเลขนี้คือจะพอบอกได้ว่าทำไมรัฐบาลถึงต้องออก พันธบัตรออมทรัพย์ 50,000 ล้านบาทเพื่อระดมทุนมาใช้บริหารงบประมาณต่างๆเพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้ต่อไปซึ่งทางรัฐบาลก็หวังที่จะให้ประชาชนช่วยกันซื้อพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศและประชาชนก็ได้เก็บออมเงินสำหรับอนาคตด้วยและยังได้ผลตอบแทนแม้จะไม่มากนักแต่ก็คุ้มค่ากับการเก็บออมอยู่พอสมควรและยังจ่ายผลประโยชน์ถึงปีละ2 ครั้งอีกด้วย หากใครพร้อมวันนี้เขาเปิดขายกันแล้วไปติดต่อสอบถามจากทั้ง 4 ธนาคารที่กล่าวไว้ข้างต้นได้เลย หากใครยังไม่พร้อมก็ไม่ต้องรีบเพราะมีระยะเวลาถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ยังมีโอกาสซื้อได้อีกหลายเดือน
ลิงค์ข่าว : http://www.banmuang.co.th/news/economy/29029