เชื่อได้ว่าหลายๆคนคงถูกสั่งสอนมาตั้งแต่เด็กว่าให้เราหยอดเงินที่เหลือใช้ลงในกระปุกออมสินทุกวันๆ เพื่อสะสมหรืออมเงิน และเมื่อครบกำหนดเดือนหรือปีก็ได้ เราจะต้องนำเงินนั้นไปเปิดบัญชี ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอก ว่าเป็นบัญชีอะไร รู้เพียงแต่เป็น บัญชีเงินฝาก เท่านั้น พอโตขึ้นมาจึงเข้าใจว่านั่นเป็นบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ แต่เวลาเราไปกดเงินก็จะเจอคำถามว่าเราเป็นบัญชีแบบไหนจาก 2 อย่างคือ บัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์และบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
ซึ่งเราก็ไม่เคยรู้เช่นกันว่าบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมันคืออะไร ดังนั้นในวันนี้เราจะมาดูกันว่าบัญชีเงินฝากที่มีการใช้งานอยู่ในธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยตอนนี้นั้นมีอะไรบ้าง และมีลักษณะอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม >> ประเภทเงินฝาก ที่เราต้องรู้ <<
-
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)
บัญชีเงินฝากที่ทุกคนรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ลักษณะของบัญชีแบบนี้จะคล้ายกับกระปุกออมสินของเราเลยอยากฝากเมื่อไหร่ก็ได้อยากถอนเมื่อไหร่ก็ได้ โดยเราสามารถเบิกได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งและจำนวนเงินจากทุกสาขาของธนาคารที่เราเปิดบัญชีด้วยและจากตู้ ATM ของธนาคารอื่นๆทั่วประเทศซึ่งมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมประมาณ 15 บาท รวมถึงค่าธรรมเนียมในการถอนหรือฝากเงินต่างสาขากันในธนาคารเดียวกันก็อาจจะมีได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เหมาะสำหรับเก็บเงินที่ต้องดึงออกมาใช้มากกว่าจะเก็บเพื่อสะสมเพราะมีอัตราดอกเบี้ยดงินฝากต่ำกว่า ถึงแม้ว่าจะมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แบบพิเศษก็ตามที่มีดอกเบี้ยสูง แต่ก็ต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท การฝากเงินแต่ละครั้งต้องไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท และมีข้อจำกัดในการเบิกถอนในแต่ละเดือน แต่ไม่ต้องถูกนำไปคิดเป้นภาษีซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อดีของบัญชีประเภทนี้นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่าคนส่วนใหญ่เลือกที่จะฝากเงินแบบบัญชีออมทรัพย์ เพราะถึงจะได้ดอกเบี้ยน้อย แต่ก็สามารถถอนออกมาใช้ได้ง่ายและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากอีกด้วย
-
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เป็นบัญชีหมุนเวียน ซึ่งไม่มีดอกเบี้ยเงินฝากเลยหรือถ้ามีอัตราดอกเบี้ยก็ต่ำมาก ต่ำกว่าบัญชีออมทรัพย์เสียอีก จึงไม่แนะนำให้คนที่อยากออมเงินนัก เงินฝากขั้นต่ำในการเปิดบัญชี 10,000 บาท และเราจะได้เป็นสมุดเช็คมาแทนสมุดคู่ฝาแบบที่เราได้จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และเราจะได้รับสเตทเมนท์ (statement) ทางไปรษณีย์หรือทางอีเมล์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อครบกำหนด เพื่อให้เราทราบถึงการเคลื่อนไหวในบัญชีของเรา
ดังนั้นบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจึงเหมาะสำหรับการทำธุรกิจ ที่เราต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาใช้ในการประกอบกิจการทุกวัน และหากเราต้องการชำระหนี้สินหรือซื้อของเราก็จ่ายเป็นเช็คไปนั่นเอง นอกจากนี้เรายังสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft : O/D) ได้เมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ และธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะวันและจำนวนเงินที่เกินไปจากที่เรามีในบัญชี จนถึงวันที่เรานำเงินเข้ามาในบัญชีจนครบแล้วนั่นเอง ใครที่ทำธุรกิจหรือต้องการเงินหมุนเวียนเป็นประจำทุกวัน การฝากเงินแบบนี้ก็น่าสนใจและเหมาะกับคุณไม่น้อยเลยล่ะ อย่างไรก็ลองเลือกบัญชีเงินฝากให้เหมาะกับตัวเองกันดูนะ
-
บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account)
บัญชีเงินฝากประจำจะคล้ายกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพียงแต่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าและจะมีแคมเปญพิเศษมากมายเพื่อกระตุ้นในคนเปิดบัญชีประเภทนี้ เช่น อัตราดอกเบี้ย หรือการไม่ต้องเสียภาษีเงินหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากดอกเบี้ย เป็นต้น เพราะบัญชีเงินฝากประจำนั้นไม่สามารถเบิกเงินมาใช้ได้จนกว่าจะครบกำหนดและต้องฝากเงินเข้าไปตามกำหนดเวลาและจำนวนเงินที่ตกลงกันตั้งแต่แรกนั่นเอง
บัญชีเงินฝากประจำจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินเหลือจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและอยากออมทรัพย์แบบได้ดอกเบี้ยสูง เพราะเราจะไม่สามารถถอนงินออกมาใช้ได้หากยังไม่ถึงกำหนดตามเวลาที่กำหนดไว้ อีกทั้งดอกเบี้ยก็สูงมากอีกด้วย ใครที่อยากจะเก็บออมงินไว้ใช้ในยามเกษียณ เงินฝากแบบนี้ล่ะเหมาะกับคุณสุดๆรับรองว่าคุณจะมีเงินเก็บมากมายเพื่อความสุขสบายในวัยเกษียณอย่างแน่นอน
-
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Deposit Account)
บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ คือ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่มีเงินตราไม่ใช่เงินไทยแต่เ)นเงินต่างประเทศนั่นเอง ดังนั้นบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศจึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีรายรับหรือรายจ่ายในสกุลเงินต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และไม่คุ้มกับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินบ่อยๆ เพราะบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศสามารถใช้เงินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนสกุลเงินจึงตัดปัญหาเรื่องค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงได้ออกไปนั่นเอง อย่างไรก็ตามในส่วนของดอกเบี้ยนั้นจะต้องเสียภาษี รวมถึงการไม่ได้รับความคุ้มครองเงินต้นและดอกเบี้ยจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตลอดจนค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมต่างๆจะสูงกว่าบัญชีประเภทอื่นๆอยู๋บ้างนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากแบบไหน ก็เอื้อประโยชน์แก่ผู้ฝากเงินทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ควรจะดูจุดประสงค์ของการฝากเงินของคุณเองด้วย เพื่อจะได้เลือก บัญชีเงินฝาก ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุดนั่นเอง