ค่าไฟ เป็นค่าสาธารณูปโภคที่ทุกบ้านทุกครอบครัวต้องจ่าย แต่คุณเคยสังเกตบางไหมว่าในบิลค่าไฟนั้นมีอะไรบ้าง และเคยคิดกันไหมว่าจะลดภาระค่าไฟให้น้อยลงจากเดิมได้อย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ บิลค่าไฟ อย่างละเอียดกันโดยปรกติเวลาเราได้บิลค่าไฟในแต่ละเดือนมานั้น เรามักดูกันแค่ว่าเดือนนี้เสียค่าไฟเท่าไหร่ ลดลงหรือเพิ่มขึ้น แต่เราไม่เคยวิเคราะห์กันอย่างละเอียดว่าในบิลนั้นบอกอะไรเราบ้าง อย่างแรกคือ ประเภท ในช่องนี้ จะมีการแบ่งประเภทเป็น
- ประเภท1.1 การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน
- ประเภท 1.2 การใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน
- 1.3 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้
โดยทั่วไปบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่จะเป็น 1.1 และ 1.2 โดยการคิดอัตราค่าไฟก็แยกได้ตามประเภทคือ
พอจะเห็นภาพการคิดค่าอัตราไฟฟ้ากันแล้วใช่ไหม ที่นี้ก็มาดูในบิลค่าไฟในแต่ละเดือนกันบ้างว่าควรสังเกตอะไร และมันจะช่วยให้เราประหยัดได้อย่างไร
จุดสังเกตที่ควรให้ความสำคัญคือ ในช่องเลขอ่านครั้งก่อน และ เลขอ่านครั้งหลัง ซึ่งจะเป็นการบอกเลขวัดของมิเตอร์เพื่อให้เราทราบและในช่องถัดไปคือ ผลต่างของทั้งสองช่องแรกที่หักลบกันจะเป็นจำนวนหน่วยในใช้ไปในรอบบิลนั้นๆ และจำนวนนี้จะเป็นค่าไฟของเราในแต่ละเดือน และส่วนสุดท้ายของบิลจะมีการสรุปยอดจำนวนย้อนหลัง 6 เดือนให้เราเปรียบเทียบว่าเดือนไหนที่เราใช้ไฟเยอะ เดือนไหนที่เราใช้ไฟน้อย ซึ่งจุดนี้หลายๆคนไม่ค่อยสังเกตและมักไม่รู้ว่าค่าไฟขึ้นเพราะอะไร และจะประหยัดอย่างไร เพราะส่วนใหญ่จะคิดว่าก็ใช้เหมือนเดิมทุกๆวันไม่มีอะเปลี่ยนแต่ความจริงคือเราใช้ไฟไม่เท่ากันทุกเดือนและใช้ไม่เท่ากันทุกวัน ตัวอย่างง่ายๆ ในแต่ละวันที่คุณอยู่บ้าน คุณใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไรบ้างที่นอกเหนือจากที่ต้องเสียบปลั๊กไฟเพื่อเปิดใช้งานตลอดเวลา อย่างเช่น ตู้เย็น หรือ ปั๊มน้ำ แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้ไม่สม่ำเสมอเช่น หม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน ไมโครเวฟ เตารีด เครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ การชาร์ทสมาร์ทโฟน โทรทัศน์ พัดลม แอร์ และอื่นๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้มีอัตราการใช้กำลังไฟที่ต่างกัน และการที่ค่าไฟขึ้นหรือลด ก็ขึ้นอยู่กับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ด้วย
ซึ่งอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าคร่าวๆคือ การใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1 ยูนิต คือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์ที่ใช้งานในหนึ่งชั่วโมง
1 ยูนิต = [ กำลังไฟฟ้า(วัตต์) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ/1000 ] x จำนวน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน และเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดก็มีกำลังวัตต์ที่ต่างกันเช่น
1. หลอดไฟฟ้าขนาด 36 วัตต์ รวมบาลาสต์อีก 10 วัตต์ เท่ากับหนึ่งหลอดใช้พลังงานไฟฟ้า 46 วัตต์ คิดค่าพลังงาน คือ
[46 /1000] x จำนวนหลอดขนาดเดียวกันภายในบ้าน x จำนวนที่เปิดใช้งาน = จำนวนที่ใช้ไฟ ยกตัวอย่างเช่น มีหลอดไฟตามตัวอย่าง 10 หลอดเปิดใช้งาน 6 ชั่วโมง จะเท่ากับใช้ไฟฟ้าวันละ
ละ [46 /1000] x 10 x 6 = 2.76 หน่วย หรือเดือนละ (30x 2.76 ) = 82.8 หน่วย หรือประมาณ 83 หน่วยต่อวัน
2. หม้อหุงข้าวขนาด 600 วัตต์ จำนวน 1 ใบหุงข้าวครั้งละ 30 นาที ( 0.5 ชั่วโมง ) ใช้ครั้งละ 600 /1000 x 1 x 0.5
= 0.3 หน่วย หรือประมาณเดือนละ (30x 0.3 ) = 9 หน่วยต่อครั้ง
3. ตู้เย็นขนาด 125 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง หากคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 8 ชั่วโมงใช้ไฟวันละ [125/1000] x 1 x 8 = 1 หน่วย หรือประมาณเดือนละ ( 30 x1) = 30 หน่วยต่อเดือน
4. เครื่องปรับอากาศ ขนาด 20,000 บีทียู (ประมาณ 2,000 วัตต์ ) จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 12 ชั่วโมง หากคอมเพรสเซอร์ทำงานวันละ 6 ชั่วโมง ใช้ไฟฟ้าวันละ [2000/1000] x 1 x 6 = 12 หน่วย หรือประมาณเดือนละ ( 30 x 12 ) = 360 หน่วยต่อเดือน
5. ทีวีสี ขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เปิดใช้งานวันละ 4 ชั่วโมง [100/1000 ]x 1 x 4 = 0.4 หน่วย หรือประมาณ เดือนละ (30 x0.4 ) = 12 หน่วยต่อเดือน
นี่คือตัวอย่างการคำนวณจากเครื่องใช้ไฟฟ้าหลักๆภายในบ้านจะเห็นได้ว่าตามตัวอย่างที่ยกมาหากรวมกันทั้งเดือนก็ใช้ไฟเกือบ 500 หน่วยเลยทีเดียว นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่แต่ละบ้านจะมีนอกเหนือกว่านี้ ซึ่งวิธีการประหยัดไฟแบบง่ายๆที่ควรทำและมีการณรงค์กันเสมอๆคือ การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟ ตั้งแต่หลอดไฟจนถึงเครืองใช้ไฟฟ้าใหญ่ๆ ต้องเลือกที่มีเครื่องหมายประหยัดไฟ รวมถึงการเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะกับการใช้งานเช่น ตู้เย็น, แอร์ , โทรทัศน์
การไม่เสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นทิ้งไว้จะช่วยลดค่าไฟได้ เพราะหลายๆคนยังเข้าใจผิดว่าเสียบปลั๊กแต่ไม่ได้เปิดคือไฟไม่เข้า แต่ความเป็นจริงคือกระแสไฟยังไหลวนอยู่ โดยเฉพาะเครื่องใช้ฟ้าที่มีระบบเปิดปิดแบบรีโมท หรือแม้แต่การชาร์ทแบตโทรศัพท์ หากไม่ได้ชาร์ทก็ไม่ควรเสียบสายชาร์ทคาไว้ที่ปลั๊กไฟ หรือสามารถเลือกใช้ปลั๊กไฟที่มีสวิทซ์ปิดเปิดหากขี้เกียจถอดสายไฟเข้าออก ไม่ใช้งานก็ให้ปิดสวิทซ์เพื่อไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้า
ส่วนตอนกลางคืนหลอดไฟในจุดที่ไม่จำเป็นก็ควรปิดเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ หากจำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้งคืนก็ควรเลือกหลอดไฟ LED ที่จะกินไฟน้อยกว่าหลอดอื่นๆ หรือใช้หลอดประหยัดไฟก็ได้เพราะจะถูกกว่าหลอด LED รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างเช่น การใช้เตารีดควรรีดผ้าครั้งละเยอะๆ ในแต่ละครั้งหรือสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพราะเตารีดนั้นค่อนข้างจะใช้พลังงานไฟฟ้าเยอะ , เครื่องซักผ้าก็เช่นกันควรใช้สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง
เปิดทุกขั้นตอน! รับเงินคืนค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ดีเดย์ 25 มี.ค. นี้
จัดตารางการซักให้เหมาะสมกับครอบครัวจะช่วยประหยัดได้มากกว่าการเปิดใช้ทุกวัน , พัดลมหากบ้านไหนใช้พัดลมหลายๆตัวในครั้งเดียวรับรองว่าค่าไฟขึ้นแน่ๆ เผลอๆเท่ากับเปิดแอร์ 1 ตัวเลยด้วยซ้ำ หากจุดไหนไม่จำเป็นก็ไม่ควรเปิด และก่อนออกจากบ้านทุกครั้งควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกให้หมดยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียบทิ้งไว้อย่างตู้เย็น และ ตู้เย็นหากไม่ได้แช่ของกินหรือน้ำดื่มจำนวนมากๆก็ควรลดระดับความเย็นไม่จำเป็นต้องเร่งให้เย็นจัด หรือ การปิดเปิดตู้เย็นบ่อยๆก็เปลืองค่าไฟเช่นเดียวกันเพราะคอมเพรสเซอร์จะทำงานทุกครั้งที่มีการเปิดปิด
เคล็ดลับต่างๆเหล่านี้หลายๆคนรู้กันดีแต่ไม่เคยทำและมักจะบ่นกันเสมอๆว่าค่าไฟแพง ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้ากันดูและลองสังเกต บิลค่าไฟ กันบ้างเพื่อที่เราจะได้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ยอดสรุปตอนท้ายของบิลมีแต่ยอดที่ลดลงมากกว่ายอดที่เพิ่มขึ้น และเงินในกระเป๋าของคุณก็จะเหลือเพิ่มขึ้นด้วย