ในการริเริ่ม ธุรกิจ สักอย่างมักจะมีสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจเสี่ยงต่อการขาดทุน หรือล้มละลายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะมือใหม่ที่ไม่รู้วิธีบริหารงาน หรือไม่มีเทคนิคในการจัดการที่ดีเท่าที่ควร ผู้ที่ริเริ่มทำธุรกิจจึงต้องศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณเอง
1. อย่าทำธุรกิจแบบ “ทำไปงั้น”
ในการทำธุรกิจอะไรสักอย่างนั้นอย่าทำเพื่อความพึงพอใจเพียงอย่างเดียว หรือคิดว่าเรามีความรู้อยู่แล้ว การที่ธุรกิจไปได้ไม่ไกลเท่าที่ควรนั้นเป็นเพราะ ความรู้ทางด้านการจัดการ นอกจากนี้คอนเนคชั่นในแวดวงธุรกิจก็เป็นสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้กัน หรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะหลายต่อหลายครั้งที่เราต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการทำธุรกิจ เช่น เจ้าของร้านอาหารอิตาเลียน อาจไม่จำเป็นต้องทำอาหารเป็น หรือเจ้าของบริษัทรับออกแบบ อาจจะออกแบบไม่เป็นก็ได้ สิ่งที่สำคัญคือ ความสามารถในการเลือกบุคคลากร และบริหารงานเพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจ
2. จ้างคนเก่ง
ถึงแม้ว่าคนเก่งจะมีค่าตัวสูงกว่า แต่ก็คุ้มค่ากว่าแน่นอน บุคคลากรที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในสายงานของตนนั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน หรือสร้างความผิดพลาดได้ การมีคนเก่ง รู้งาน อยู่ในองค์กร จะทำให้ธุรกิจของคุณไปได้ไกล และสร้างผลกำไรได้มากกว่า จริงอยู่เมื่อเริ่มต้นธุรกิจ คุณย่อมอยากที่จะประหยัดรายจ่ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่การลงทุนเรื่องคนเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
3. ลดรายจ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
พยายามให้เงินออกจากกระเป๋าให้น้อยที่สุด เมื่อเริ่มต้นธุรกิจ อะไรประหยัดได้ก็ควรประหยัด เพื่อลดรายจ่าย เมื่อธุรกิจอยู่ตัวและเห็นแนวโน้มว่าจะไปได้ค่อยลงทุนเพิ่ม
4. สร้างความประทับใจให้ลูกค้า
ลูกค้าคือพระเจ้า เป็นวลีที่ยังใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย ต้องรักษาชื่อเสียงของธุรกิจไว้ยิ่งชีพ ภาพพจน์ที่ดีทำให้เกิดการซื้อซ้ำและแนะนำต่อ นี่เป็นหนทางในการเติบโตของธุรกิจ สร้างความประทับใจให้ลูกค้า และให้มากกว่าสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังไว้เสมอ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้สร้างค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากนัก แต่สิ่งที่คุณจะได้รับกลับมารับรองว่าคุ้มค่าแน่นอน
5. ตั้งราคาขายให้สมเหตุสมผล
ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ คุณอาจตั้งราคาสินค้าหรือบริการต่ำกว่าคู่แข่งเพื่อดึงดูดลูกค้า แต่ในระยะยาวนั้นการเพิ่มราคายากกว่าการลดราคาหลายเท่าการเพิ่มราคาในภายหลังอาจทำให้ลูกค้าหันไปใช้สินค้าหรือบริการเจ้าอื่นแทน ลองเปลี่ยนกลยุทธ์เป็นสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพในราคาสมเหตุสมผลจะช่วยดึงดูดลูกค้าได้ในระยะยาว ดังนั้นค่อยๆศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าและปรับราคาให้เหมาะสม
6. การวางแผนอย่างค่อยเป็นค่อยไป
การวางแผนธุรกิจอย่างเป็นขั้นเป็นตอนจะช่วยสร้างแนวทางในการดำเนินธุรกิจ และรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งปัญหาด้านการบริหารและการเงิน วางแผนก่อนในขั้นแรกแล้วค่อยลงทุน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงไม่ให้ธุรกิจขาดทุน
7. สร้างกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย
ไม่ว่าแผนการตลาดจะดีขนาดไหน แต่จะมีประโยชน์อะไรเล่า หากไม่มีลูกค้า ไม่มีรายได้มาหล่อเลี้ยงธุรกิจ สิ่งแรกๆที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญเมื่อเริ่มธุรกิจคือลูกค้า ทำอย่างไรจึงจะสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรง เพื่อสร้างรายได้ให้ธุรกิจ หากไม่มีลูกค้า ไม่มีเงินเข้า ธุรกิจย่อมไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
8. เปิดตลาดการขายให้หลากหลายรูปแบบ
ในปัจจุบันธุรกิจที่ริเริ่มโดยคนรุ่นใหม่มักจะมีลักษณะเฉพาะด้าน ผู้ประกอบการบางท่านสร้างตัวตั้งแต่อายุยังน้อย วัฒนธรรมองค์กรจึงแตกต่างไปจากองค์กรแบบเดิมๆ ผู้เขียนได้เคยอ่านบทสัมภาษณ์ของเจ้าของธุรกิจท่านหนึ่งที่อายุยังน้อย และเคยล้มเหลวมาก่อน แม้ฐานะทางบ้านจะไม่ได้ลำบากอะไร แต่ด้วยความมุ่งมั่นที่จะซื้อรถสวย ๆ ด้วยเงินของตัวเอง จึงอยากทำธุรกิจสักอย่าง วัฒนธรรมองค์กรของเจ้าของกิจการท่านนี้ก็ไม่เหมือนใคร สามารถเล่นอิตเตอร์เนตได้อย่างเปิดเผย ขอให้งานเสร็จเท่านั้น แม้จะฟังดูไร้ระเบียบ แต่การทำงานของทีมงานกลับเป็นไปได้ด้วยดี แถมยังมี Turnover rate ต่ำ ตั้งแต่เปิดบริษัทมา พนักงานลาออกน้อยมาก นอกจากนี้งานที่ตั้งไว้ก็เป็นไปตามเป้าหมายด้วย
9. สนุกไปกับการทำธุรกิจ
มองอุปสรรคแล้วสู้กันสักตั้ง ให้มันรู้กันไปเลย อย่าลืมยิ้ม และหัวเราะกับการทำงาน ความเครียด ไม่ได้ช่วยอะไรใคร ปัญหาต่าง ๆ นั้น มีไว้ให้แก้อยู่แล้ว เมื่อมีปัญญาอยู่กับตัว จะกลัวอะไร