ในการหย่าแต่ละครั้งของคู่รัก สำหรับบางคนที่ยังตกลงกันไม่ได้นั้นเป็นเพราะความไม่เข้าและทำการเจรจากันนั่นเอง แต่วันนี้เรามีเทคนิคในการตกลง เรื่องการหย่าร้างสำหรับคู่สมรสที่ ต้องการหย่า มาฝากกัน เพื่อที่จะได้ไม่เสียเปรียบกันทั้งสองฝ่ายนั่นเอง
เป็นที่แน่นอนที่สุดเลยนะคะ ว่าไม่ว่าใครๆก็ตามต่างก็ไม่ต้องการที่จะให้การหย่าร้างได้เกิดขึ้นอย่างแน่นอนเลยทีเดียว แต่หากว่าข้ามจุดนี้ไปไม่ได้ หนทางที่ดีที่สุดนั่นคือการที่เราทำมันให้ดีที่สุด
เมื่อทำการหย่าเราต้องแบ่งทุกอย่างไม่ว่าจะอะไรก็ตามต้องมีความเป็นธรรมและมีคนกลางในการแบ่ง
การแบ่งทรัพย์สินคนละครึ่งในคู่กรณี คือ ส่วนที่เป็นสินสมรส หมายถึงทรัพย์สิน ที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใด ได้มาโดยพินัยกรรม หรือการให้โดยเจ้าของมรดกในระหว่างการสมรส หรือผู้ให้ระบุให้เป็นสินสมรสและ ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลจากสินส่วนตัว เช่น รายได้จากค่าเช่าบ้านที่เป็นเจ้าของกรรม สิทธิ์ก่อนจดทะเบียนสมรส ดอกเบี้ยเงินฝากจากบัญชีส่วนตัวที่มีอยู่ก่อนที่จะจด ทะเบียนสมรส และที่สำคัญต้องทำการแยกให้ได้ว่าทรัพย์สินส่วนใดเป็นสินสมรส ทรัพย์สินส่วนใดเป็นสินส่วนตัว ก็เพื่อรักษาสิทธิในส่วนที่เป็นสินส่วนตัวที่เป็นเจ้าของกันมาแต่แรกนั่นเอง
ไม่เพียงเท่านี้นะคะ เพราะนอกจากจะแบ่งสินสมรสกันแล้ว ยังต้องแบ่งหนี้กันด้วย หนี้จำนอง หนี้บัตร เครดิต หนี้ผ่อนรถ ต้องแบ่งให้ชัดเจน ซึ่งในการเจรจาแบ่งทรัพย์สิน คู่หย่าสามารถ ตกลงชำระหนี้กันก่อนหรือแลกทรัพย์สินบางรายการกับหนี้ หรือแบ่งภาระหนี้กันได้ด้วยนั่นเอง
ผลประโยชน์แฝง
มีผลประโยชน์บางอย่างที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงหย่า ตัวอย่างเช่น ผลประโยชน์ หลังเกษียณ หรือสิทธิในการซื้อหุ้นของบริษัท รวมทั้งผลตอบแทน จากกรมธรรม์ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันชีวิตและประกัน ทุพพลภาพ ซึ่งอาจคุ้มครองรวมไปถึงลูกๆ ของคุณ ด้วยและหากคุณ ซื้อประกันเหล่านี้ อย่าลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย เว้นแต่คุณจะได้สวัสดิการ จากนายจ้าง
เงินลงทุน
สำหรับคู่หย่า ที่ต้องการแบ่งเงินที่ได้ลงทุนไปแล้ว อย่าดูเพียงวงเงินลงทุน แต่ควรดูประเภทการลงทุนด้วย เพราะหากไม่รอบ- คอบ ที่ได้อาจเป็นหุ้นที่ยากจะขาย มีภาระภาษีสูงหรือ เป็นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือเสียค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่คู่หย่า ได้แต่หุ้นดีๆ ไป ดังนั้นการพิจารณาเรื่องนี้ต้องมีวิสัยทัศน์หน่อย เพราะต้องไม่ลืม ว่าคุณยังต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงอีกหลายประการหลังหย่า ฉะนั้นจึงควรเลือก การลงทุนที่เหมาะสมกับอนาคตเอาไว้ก่อน
ค่าทดแทน ค่าเลี้ยงชีพ และค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
การแบ่งสินสมรสไม่ใช่ภาระทางการเงินประการเดียว ที่เกิดขึ้นจากการหย่า หากแต่ยังมีรายจ่ายที่อาจกลายเป็นคดีความยืดเยื้อยาวนาน สร้างความบาดหมางให้คู่หย่าหลายคู่ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเงินที่อาจเกิดขึ้น มาทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันไว้ก่อนคงจะดี
- ค่าทดแทน การฟ้องหย่าประเด็นยอดนิยมคือ “หย่าเพราะมีชู้” ซึ่งในกรณีนี้ว่าที่อดีตทั้งสองฝ่ายสามารถฟ้องเรียกค่าทดแทนจากคู่หย่าและชายหรือหญิงที่เป็นชู้ได้ แต่การเรียกค่าทดแทนนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่าเพราะภรรยามีชู้ หากสามีไม่ประสงค์จะหย่าจากภรรยา ก็สามารถเรียกค่าทดแทนจากชายชู้ได้ ในฐานะล่วงเกินภรรยาในทำนองชู้สาว แต่จะเรียกค่าทดแทนจากภรรยามิได้ ส่วนภรรยาจะเรียกค่าทดแทนจากสามีและหญิงอื่น ด้วยเหตุสามีเลี้ยงดู อุปการะหญิงอื่นฉันภรรยาได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันก่อน หากไม่ฟ้องหย่า จะเรียกค่าทดแทนได้จากหญิงอื่นที่แสดงตนอย่างเปิดเผยว่ามีสัมพันธ์กับสามีในเชิง ชู้สาวเท่านั้น
แต่ในทั้งสองกรณีจะเรียกค่าทดแทนจากชายชู้และหญิงที่เข้ามามีสัมพันธ์กับ สามีได้ ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าชายชู้หรือชายที่ล่วงเกินภรรยา ทราบว่าหญิงนั้นมีสามี แล้ว และหญิงที่เข้ามามีสัมพันธ์กับสามีทำนองชู้สาวทราบว่าชายนั้นมีภรรยาแล้ว ส่วนจำนวนค่าทดแทน ศาลจะวินิจฉัยตามสมควรแต่พฤติการณ์ โดยจะคำนึง ถึงจำนวนทรัพย์สินที่คู่หย่าได้จากการแบ่งสินสมรสจากการหย่าด้วย
- สิทธิการดูแลบุตร นี่เป็นอีกเรื่องที่ทำให้เกิดภาวะกระอักกระอ่วน ปวดใจ ทำร้ายความรู้สึกกัน อย่างหนักหนาสาหัส เมื่อต้องฟ้องหย่าตามกฎหมายทั้งพ่อและแม่มีสิทธิใช้ อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน (ภาษากฎหมาย) ดังนั้นเมื่อตัดใจหย่าจงคิดถึงข้อนี้ด้วย ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็คงต้องพึ่งอำนาจศาล ให้กำหนดว่าอำนาจการปกครองควร จะอยู่กับใคร ซึ่งศาลจะพิจารณาความสุขและประโยชน์ของเด็กเป็นสำคัญ
- ส่วนเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร นั้น ศาลพิจารณาตามความเหมาะสม เพราะบิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะลูกของตนอยู่แล้ว ศาลอาจให้คู่กรณีฝ่ายใดรับ ผิดชอบจ่ายใช้จ่ายก็ได้ โดยพิจารณาจากความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับ เพราะบางครอบครัว ลูกอาจได้รับมรดกจากปู่ย่าตายาย มีรายได้มากกว่าทั้งพ่อและแม่ กรณีนี้ ศาลอาจยกประโยชน์ให้พ่อที่จนกรอบไม่ต้องส่งเงินในส่วนนี้ก็ได้
ที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น เพียงการรับมือหากต้องเกิดกรณีการหย่าที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ทั้งนี้คู่รักต้องทำการปรับตัวและความเข้าใจ ก่อนบางครั้งลองหันหน้าที่จะเข้ามาคุยกันนั้นก็จะไม่เกิดการหย่าร้างตามมาเลยทีเดียว