ในยุคสมัยที่รูปแบบของเศรษฐกิจในประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง ขึ้นบ้าง ลงบ้าง ตามแต่ภาวะทางเศรษฐกิจและช่วงเวลา ซึ่งก็มีผู้คนจำนวนมากที่มีเงินได้ และต้องเสียภาษีให้กับทางรัฐ เพื่อนำไปพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ก็ผู้คนจำนวนมากที่เริ่มมองหาหนทางในการเสียภาษีที่น้อยลง และมีวิธีที่นิยมทำกันมาก นั่นก็คือ การนำเงินออมของตนเองไปซื้อกองทุนรวม RMF / LTF ที่มีนโยบายการลงทุนที่ตรงต่อความต้องการและมีความเหมาะสมกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่คุณสามารถรับได้
กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF (Retirement Mutual Fund) มีเงื่อนไขที่คุณจะต้องถือหน่วยลงทุนจนผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งนี้การลงทุนจะต้องไม่ระงับเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน ส่วนการลงทุนหุ้นในระยะยาว หรือ LTF (Long Term Equity Fund) มีเงื่อนไขที่คุณต้องถือหน่วยลงทุนที่ได้ซื้อไว้ในแต่ละครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ปฏิทิน และเนื่องจากเป็นการลงทุนในระยะยาว ทำให้คุณต้องคำนึกถึงความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
เมื่อการลงทุนในหุ้น LTF หรือ RMF มาถึงจังหวะเสี่ยงที่นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ จึงมองหาทางเลือกอื่น และทางเลือกนั้นคือ การสับเปลี่ยนกองทุน (Switching) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้นักลงทุนลดความเสี่ยง และสามารถเพิ่มกำไรจากกองทุนอื่นได้มากกว่ากองทุนที่ถืออยู่
ทำได้โดยการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนจากกองทุนเดิมไปกองอื่นเพื่อปรับพอร์ตตามสภาพของตลาดในขณะนั้น ซึ่งการสับเปลี่ยนสามารถสับเปลี่ยนได้จากบริษัทหลักทรัพย์เดิมหรือบริษัทหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งในกรณีที่ทำการเปลี่ยนไปที่บริษัทหลักทรัพย์ใหม่อาจจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม และสามารถทำการสับเปลี่ยนในกองทุนที่อยู่ในประเภทเดียวกันเท่านั้น เช่น ผู้ลงทุนต้องการสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF เดิม ไปยังกองทุน LTF ใหม่ หรือสับเปลี่ยนจากกองทุน RMF เดิม ไปยังกองทุน RMF ใหม่ (ไม่สามารถสับเปลี่ยนจาก LTF มายัง RMF ได้) นอกจากนี้ ก่อนที่จะดำเนินการสับกองทุน ผู้ลงทุนควรติดตามข่าวสารให้ดีเพื่อรอจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมสำหรับช่วงของการสับเปลี่ยนกองทุน และควรดูเงื่อนไข/ค่าธรรมเนียมของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์ให้ดีก่อน เนื่องจากกองทุนของแต่ละบริษัทหลักทรัพย์นั้นจะลงทุนในตัวหุ้นที่แตกต่างกัน และผลตอบแทนนั้นแตกต่างกัน
การสับเปลี่ยนกองทุน (Switching) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยในการลดความผันผวนจากการลงทุนในระยะยาวของคุณได้ หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่มีหน่วยลงทุนใน RMF และ LTF การสับเปลี่ยนกองทุนให้มีความเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จะเป็นตัวช่วยให้คุณได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจมากขึ้น เราขออธิบายเกี่ยวกับวิธีการสับเปลี่ยนกองทุน เงื่อนไขและค่าธรรมเนียม รวมถึงผลประโยชน์ที่คุณจะได้รับหากมีการสับเปลี่ยนกองทุนแล้ว ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
การสับเปลี่ยนกองทุน
ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวม RMF / LTF สามารถย้ายเงินลงทุนจากกองทุนรวมต้นทางไปยังกองทุนรวมปลายทางได้ โดยไม่มีการถอนเงินออกจากกองทุน เป็นเงินสด (เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขทางด้านภาษี) โดยจะมีการคาดการณ์ถึงทิศทาง ของราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมปลายทางว่า จะมีการปรับเพิ่มขึ้นหรือว่าลดลง
การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน คือ การขายคืนหน่วยลงทุนจากกองทุนหนึ่งเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของอีกกองทุนหนึ่ง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มกองทุนเดียวกัน รายการทั้งสองจะเกิดขึ้นภายในวันเดียวกัน โดยคุณไม่จำเป็นต้องรอรับค่าขายคืนหน่วยลงทุน กองทุนแรกเพื่อนำไปชำระค่าซื้อหน่วยลงทุนอีกกองหนึ่ง การทำรายการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนของแต่ละกองทุนมีจำนวนขั้นต่ำต่างกัน ผู้ถือหน่วยลงทุน ควรจะต้องศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติม จากหนังสือชี้ชวนของกองทุนนั้น ๆ เพื่อคุณจะได้ทราบถึงจำนวนขั้นต่ำก่อน การสับเปลี่ยนในแต่ละครั้งนั่นเอง
ทั้งนี้ หากคุณทำรายการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนแล้ว ทำให้ยอดหน่วยลงทุนที่เหลือในบัญชีกองทุนของคุณ มีจำนวนต่ำกว่าที่ทางบริษัทฯ ได้กำหนดเอาไว้ ทางบริษัทจะทำการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนที่เหลือทั้งหมด จากกองทุนต้นทางไปยังกองทุนปลายทาง โดยบริษัทได้กำหนดหน่วยลงทุนคงเหลือขั้นต่ำของแต่ละกองทุน ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไป ผู้ถือหน่วยลงทุนควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียด จำนวนขั้นต่ำของแต่ละกองทุนได้จากหนังสือชี้ชวนฯ
ขั้นตอนการโอนย้ายกองทุน RMF / LTF
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ย้ายกองทุน RMF/LTF จากบลจ.อื่น มายังบลจ.กรุงศรี)
ขั้นตอนที่ 1 กรณีลูกค้าใหม่ ติดต่อ บลจ.กรุงศรีหรือตัวแทนสนับสนุนการขายเพื่อทำการเปิดบัญชี กองทุนก่อนถึงสามารถย้ายกองทุนหรือสับเปลี่ยนกองทุนได้ ส่วนกรณีเป็นลูกค้าปัจจุบัน คุณสามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2 ได้ในทันที
ขั้นตอนที่ 2 กรอกแบบฟอร์ม “คำสั่งซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (กรณีเปลี่ยนบลจ.)” ของ บลจ.กรุงศรี
ขั้นตอนที่ 3 ติดต่อทำธุรกรรมกับบลจ.ที่ต้องการจะโอนกองทุนออก (บลจ.ต้นทาง) โดยมีเอกสารประกอบดังต่อไปนี้
- สำเนาแบบฟอร์ม “คำสั่งซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (กรณีเปลี่ยนบลจ.)” [ตามขั้นตอนที่ 2 เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิงสำหรับบลจ.ต้นทาง]
- แบบฟอร์ม “คำสั่งโอนย้าย (สับเปลี่ยนออก) RMF / LTF” ของบลจ.ต้นทาง
ขั้นตอนที่ 4 แฟกซ์เอกสารทั้งหมด (เอกสารของบลจ.กรุงศรี และ บลจ.ต้นทาง) มาที่ฝ่ายการตลาด บลจ.กรุงศรี ที่เบอร์แฟกซ์ 02-658-5775-7 พร้อมโทรยืนยันการส่งเอกสารกับเจ้าหน้าที่ โทร 02-657-5757 กด 2 สำหรับแบบฟอร์มของ บลจ.กรุงศรีในขั้นตอนที่ 2 กรุณาส่งเอกสารทางไปรษณีย์มาที่ บลจ.กรุงศรี ชั้น 1 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ เลขที่ 898 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม.10330
ขั้นตอนที่ 5 คุณจะได้รับการจัดสรรหน่วยลงทุนภายใน 5 วันทำการ หลังจากรายการธุรกรรมของ บลจ.ต้นทาง เสร็จสมบูรณ์แล้ว
ตารางแสดงค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้ถือหน่วยลงทุน หรือกองทุนรวม
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากกองทุนรวม (ร้อยละต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด หักด้วย มูลค่าหนี้สินทั้งหมด เว้นแต่ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ และค่าธรรมเนียมนายทะเบียนหน่วยลงทุน ณ วันที่คำนวณ)
1/ บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิในการเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้ไม่เกิน 5% ของค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายภายในรอบระยะเวลา 1 ปี โดยบริษัทจัดการจะดำเนินการแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันโดยจะติดประกาศ ณ สำนักงานของบริษัทจัดการ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาของผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืน (ถ้ามี) และลงประกาศหนังสือพิมพ์รายวันอย่าน้อย 1 ฉบับ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใด และภาษีดังกล่าวจะถือเป็นภาระของกองทุน