เล่นมือถือเท่ๆในสมัยนี้ไม่พอแล้วสำหรับคนวัยทำงานอย่างเราๆที่เริ่มมีรายได้ประมาณนึงและพร้อมที่จะสร้างครอบครัวเล็กๆกับคนที่เรารัก แน่นอนที่อยู่อาศัยก็เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่จะพอประกันได้ว่า คุณเริ่มสร้างความมั่นคงในชีวิตแล้วแหละแต่ๆก่อนที่เราจะซื้อบ้าน ก็จะมีคำถามมากมายผุดขึ้นมาเต็มหัวไปหมด ต้องมีรายได้เท่าไหร่ มีหนี้รถ บัตรเครดิตอยู่ อายุละไหวไหม รัดตัวเราไปไหมนะ
ส่วนมากแล้วมักจะขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโด โดยวงเงินสินเชื่อที่เราจะได้นั้น มีปัจจัยหลายอย่าง ขอสินเชื่อต้องมีรายได้เท่าไหร่ เรามาดูกันว่าเราสามารถไหม วงเงินสินเชื่อที่ธนาคารจะดู คือ รายได้ และ หนี้สินที่เรามีทั้งนี้จะรวมการใช้จ่ายบัตรเครดิตด้วยว่า เราจ่ายตรงเวลาไหม เช็คบัตรเครดิตให้ดีๆว่าเรามีติดหนี้หรือผูกกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้างเช่น ค่าผ่อนสินค้า ค่าไฟ ค่าน้ำ เตรียมความพร้อมให้ดีก่อนที่จะซื้อบ้านเพราะราคาไม่ได้ถูกและที่สำคัญถ้าเลือกหรือวิเคราะห์การเงินของคุณไม่ดีแล้วอาจต้องจ่ายดอกเบี้ยพอๆกับราคาบ้านกันเลยทีเดียว
ตรวจสอบความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ที่เราจะกู้
- การผ่อนชำระหนี้ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เช่น ถ้าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ 18,000 บาทต่อเดือน จะผ่อนหนี้ได้ประมาณ 6,000 บาท
- เช็คภาระหนี้เดิมรวมที่มีอยู่กับหนี้ที่จะขอกู้ใหม่ว่ามีเยอะหรือไม่ โดยนำยอดการผ่อนชำระหนี้เดิมและยอดหนี้ที่จะขอใหม่ต่อเดือนมารวมกัน แล้วดูว่ามีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือนหรือไม่ เช่น ผู้ขอสินเชื่อต้องการกู้เงิน 200,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้คืน 5 ปี ผ่อนชำระหนี้ (เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ประมาณเดือนละ 3500 บาท นอกจากนี้ ผู้ขอกู้ยังมียอดหนี้เดิมที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนอีก 2,000 บาท ดังนั้น เมื่อคำนวณภาระหนี้ทั้งสิ้นที่ต้องผ่อนต่อเดือนยังไม่เกิน 6,000 บาท ถือว่าสามารถกู้ได้ตามวงเงินที่ขอไป
สำหรับการกู้เพื่อทำการซื้อบ้านและคอนโด ก่อนอื่นเลยต้องเรียนรู้ดอกเบี้ยในการขอสินเชื่อ 3 ตัวเต็ง MLR, MRR, MOR ที่จะต้องรู้และคำนวณให้ดีว่า รายได้เราเท่านี้ ภาระเราเท่านี้ อายุเราเท่านี้ไหวไหม ซึ่งแต่ละธนาคารจะไม่เหมือนกัน บางที่ใช้ MLR บางที่ไม่ใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อสินเชื่อบ้าน 2 แบบคือ
อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) อัตราที่ธนาคารหรือแหล่งเงินกู้กำหนดตัวเลขมาเลยว่าต่อปีเสียกี่ % คงที่กี่ปีตามแต่ช่วงเวลาที่กำหนด เช่น 4.5% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) ซึ่งแบบนี้จะเปลี่ยนแปลงไปต่างช่วงเวลาของธนาคาร ซึ่งไม่แน่นอน ของแต่ละแบงค์จะไม่เท่ากัน แบงค์ชาติก็ไม่ได้บังคับหรือกำหนดให้แต่ละธนาคารต้องมีเพียงแค่ MLR, MRR, MOR
- MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีที่ กู้แบบมีระยะเวลาที่แน่นอน ซึ่งมาจากนักธุรกิจที่กู้เงินมาเพื่อประกอบธุรกิจ ธนาคารจะจัดคนกลุ่มที่มีอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ พวกสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจต่างๆ
- MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บกับลูกค้ารายใหญชั้นดี พวกสินเชื่อหมุนเวียน Overdraft หรือ O/D คือพวกที่เบิกเงินเกินบัญชี ฝากในกระแสรายวัน หลายคนสงสัยว่าทำไม MOR ถึงแพงกว่าพวกดอกเบี้ยสินเชื่อ เพราะทางธนาคารจะต้องเตรียมความไม่แน่นอนในการเบิกถอนแบบตลอดเวลาที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ
- MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต
ตารางเปรียบเทียบของดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของแต่ละธนาคาร
ดอกเบี้ยในแต่ละสถาบันการเงินจะมีเก็บข้อมูลในเว็บไซต์โดยสามารถดูย้อนหลังได้ 1 ปี 3 ปีและ 6 ปี ซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบระหว่างธนาคาร และเฉลี่ยในส่วนของดอกเบี้ยลอยตัวว่าอีก 1ปี- 3 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร สินเขื่อบ้านเปิดโอกาสให้ลูกค้าที่กู้สินเชื่อเมื่อครบกำหนด 3 ปีสามารถ รีไฟแนนซ์ คือการเปลี่ยนเจ้าหนี้ใหม่ ได้จะธนาคารเดิมหรือเลือกธนาคารใหม่ได้ เพื่อช่วยลดภาระดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงในส่วนของค่าธรรรมเนียมในแต่ละธนาคารว่าคุ้มไหมที่จะเสียเงินในการรีไฟแนนซ์ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นอย่าง ค่าจดจำนองหลักประกัน, ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน, ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เก่า ในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เช่นกู้ดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแล้วทำการรีไฟแนนซ์ในปีที่ 2 อาจจะไม่ไหว ทั้งนี้ในการรีไฟแนนซ์ใหม่จะมีค่าปรับเกิดขึ้นทันที ถ้าเราดำเนินการก่อนระยะเวลาที่กำหนด
สำหรับตัวเลขดอกเบี้ยไม่คงที่ขอแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน เป็นเพราะธนาคารพาณิชย์ได้คำนวณสภาพคล่องและความเสี่ยงของปัจจัยหลายๆอย่าง อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก รวมถึงสินทรัพย์ต่างๆที่ธนาคารจะต้องบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งดอกเบี้ยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ซึ่ง ส่วนมาก ธนาคารจะใช้ MLR กับ MRR กับลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยเพื่อดูผลประโยชน์ของผู้กู้และทางสถาบันการเงินด้วย เพื่อความแม่นยำแนะนำให้ติดตามในแต่ละแห่งของสถาบันการเงิน ซึ่งจะมีโปรโมชั่นที่แตกต่างกันออกไป เพื่อดึงดูดความน่าสนใจให้คุณได้พิจารณา
ขอบคุณที่มา : http://www.carchill.com/?ContentID=ContentID-12041017240033056