การหย่านั้นจะทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน ดังนั้นเมื่อเรามาถึงจุดๆนี้เราจะต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในทุกๆเรื่อง รวมไปถึงเรื่องการเงินด้วย ซึ่งในเรื่องการเงินนั้นอิสระในการใช้จ่ายจะกลับมาเป็นของเราอีกครั้ง แต่ค่าจะใช้จ่ายจะลดลงหรือไม่นั้นก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่ที่ๆแน่ๆเลยรายได้น่าจะลดลงอย่างแน่นอน
ดังนั้น เราจึงต้องมีการตั้งเป้าหมายทางการเงินและการใช้ชีวิตใหม่อีกครั้ง หลังการหย่า ซึ่งควรวางเป้าหมายไว้ตั้งแต่ก่อนหย่า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมานั่นเอง ใครที่กำลังมีแนวโน้มว่ากำลังจะหย่ากับคนรักล่ะก็ อย่าลืมที่จะวางแผนการเงินก่อนด้วยนะ
อย่างแรกที่เราต้องทำในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินเมื่อหย่าเรียบร้อยแล้วคือการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ที่ทำในระหว่างการสมรสและเกี่ยวข้องกับคู่สมรสทั้งหมดเป็นคนอื่นเช่น บุตร บิดา มารดา พี่น้อง เป็นต้น แล้วค่อยมาดูเป้าหมายทางการเงินต่อไป การตั้งเป้าหมายทางการเงินของเรานั้นอาจจะเริ่มจากการถามตัวเองด้วย checklist ง่ายๆ 3 ข้อคือ
-
รายได้ในอนาคตของเราภายหลังการหย่าจะเป็นอย่างไร
หากรายได้ในอนาคตของเราภายหลังการหย่าลดลง เราก็ต้องหาทางที่จะช่วยให้รายได้ของเราเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนที่ต้องเพิ่มขึ้นมานั้นจะมากน้อยแค่ไหนก็ต้องขึ้นอยู่กับภาระค่าใช้จ่ายที่ตนเองแบกรับด้วยนั่นเอง รวมตั้งแต่ในปัจจุบันและอนาคตด้วย ถ้าคนที่มีลูกด้วยแล้ว ควรตกลงกันให้เรียบร้อยว่าใครจะเป้นคนจ่ายค่าเลี้ยงดู ลูกจะแบ่งกันจ่ายอย่างไรบ้าง เพื่อที่ภาระจะได้ไม่ต้องตกมาที่คุณเพียงคนเดียวนั่นเอง
-
เรามีเงินสะสมหรือเงินออมมากน้อยแค่ไหนที่จะใช้หลังเกษียณ
นั่นเพราะเราต้องกลับมาพึ่งพาตัวเองอีกครั้ง ดังนั้นอย่าลืมวางแผนการเงินเพื่ออนาคตหลังวัยทำงานของตนเองด้วย ซึ่งเงินออมยิ่งมีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะเงินที่ดูมากในตอนนี้อาจจะมีมูลค่าน้อยลงได้ในอนาคต เนื่องจากในวัยเกษียณนั้นเราอาจจะไม่มีรายได้เหมือนตอนนี้ การวางแผนเก็บเงินไว้ก่อน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อความสุขในวัยเกษียณของคุณนั่นเอง หรือไม่ก็อาจจะเปิดธุรกิจส่วนตัวสักอย่าง ทำไร่สวนที่ให้ผลผลิตตลอดปี ทีนี้ถึงจะเข้าสู่วัยเกษียณก็ยังสามารถจ้างคนมาทำงานและรอรับแต่เงินก็พอหรือถ้ามีลูกหลาน ก็อาจจะให้ลูกหลานทำก็ได้ ซึ่งนอกจากจะมีความสุขและมีเงินเหลือใช้แล้ว ที่ทางไร่สวนเหล่านี้ก็ยังตกทอดไปสู่ลูกหลาน ให้พวกเขาไม่ต้องเดือดร้อนอีกด้วย
-
การลงทุนในตอนนี้มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน และเพียงพอต่อการนำเราไปสู่เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้หรือไม่
หากมีความเสี่ยงมากเกินไปควรถอยสักนิด อย่าลืมว่าเรากำลังจะต้องรับผิดชอบและดูแลชีวิตของตัวเอง จึงควรเลือกการลงทุนที่มีความมั่นคงและความเสี่ยงต่ำจะดีที่สุด
การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยง ซึ่งอาจจะไม่เสี่ยงมากนักเมื่อทำกับคู่สมรส แต่ถ้าหากมันหนักหนาเกินไปในการแบกรับความเสี่ยงคนเดียวก็อาจจะเปลี่ยนไปลงทุนในสิ่งอื่นๆที่เราสามารถแบกรับความเสี่ยงเหล่านั้นได้แทนนั่นเอง เดี๋ยวนี้การลงทุนก็มีให้เลือกหลากหลายเช่นกัน ดังนั้นเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวเองจะดีกว่านะ
และที่สำคัญอีกอย่างเมื่อเราทำการหย่าแล้วเราอาจจะสินสมรสบางส่วนมา ซึ่งอาจจะได้รับมาในปริมาณมากหรือน้อยก็แล้วแต่ อย่าได้วู่วามใช้จ่ายไปมากเกินความจำเป็นเด็ดขาด โดยเฉพาะการนำไปใช้โดยไร้ประโยชน์หรือได้รับผลประโยชน์ตอบแทนที่แน่นอน ควรจะนำเงินเหล่านั้นไปใช้เพื่อต่อยอดเงินที่สามารถสร้างเงินได้แน่ๆมากกว่า และแม้ว่าการนำเงินนั้นไปลงทุนเพื่อต่อยอดเงินจะเป็นเรื่องที่ดี แต่การลงทุนอย่างปุปปัปแม้ว่าจะมีการศึกษาความเสี่ยงของการลงทุนมาแล้วเป็นอย่างดีก็อาจจะทางเลือกที่ไม่ดีนัก เนื่องจากการลงทุนในปริมาณมากตั้งแต่ครั้งแรกมีสิทธิ์ที่จะล้มเหลวอยู่แล้ว ทางที่ดีเลือกการลงทุนที่ไม่ต้องลงทุนสูงเกินไปและความเสี่ยงน้อย จะดีต่อตัวคุณและชีวิตหลังการหย่ามากทีเดียว อย่าลืมว่าการหย่าไม่ใช่เรื่องสนุก และการหย่าก็จะส่งผลกับการเงินของคุณได้เหมือนกัน ดังนั้นก่อนหย่าอย่าลืมวางแผนการเงินก่อนด้วยนะ
อย่างที่สำคัญคือการเข้าใจในมูลค่าของเงินที่มีอยู่ในมือเอง เพราะด้วยระบบการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ดังนั้นมูลค่าเงินที่เรามีในรูปของเงินสดก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆเช่นกัน ดังนั้นเมื่อได้รับเงินมาจากการหย่าควรดุให้ดีว่าเมื่อเทียบตัวเงินและอัตราเงินเฟ้อแล้วนั้น เงินที่ได้มาแท้จริงแล้วมีมูลค่ามากน้อยแค่ไหน(ว่าง่ายๆคือเอาไปใช้จ่ายได้มากน้อยแค่ไหน) หากมีมูลค่าน้อยก็ยิ่งต้องใช้ด้วยความฉลาดให้ไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็นโดยเด็ดขาด และถ้าหากใครต้องการฟ้องร้องเพื่อขอเงินในการทดแทนต่างๆยิ่งควรจะต้องเข้าใจในเรื่องของมูลค่าเงิน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อนั้นทำให้มูลค่าจริงของเงินลดลงทุกปี ดังนั้นการฟ้องร้องจึงควรจะคำนึงถึงส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เช่น เงิน 10,000 บาทในตอนที่ได้รับมามีมูลค่า 10,000 บาทและสามารถซื้อข้าวได้ 10 กิโลกรัม แต่ในปีหน้าเงิน 10,000 บาทอาจจะมีมูลค่าเหลือแค่ 8,000 บาทและสามารถซื้อข้าวได้ 8 กิโลกรัมเท่านั้น เป็นต้น ดังนั้นเราอาจจะทำการเรียกร้องเงินในมูลค่าเงินเท่าเดิมไม่ใช่ตัวเงินเท่าเดิมนั่นเอง