อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะคะว่าเราทุกคนต่างก็ต้อง เสียภาษี ในฐานะที่เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศนั่นเอง นอกจากเราที่ต้อง เสียภาษี แล้ว คุณทราบหรือไม่คะว่าองค์กรทางธุรกิจต่างๆก็มีความจำเป็นที่จะต้อง เสียภาษี เช่นกันนะคะ เพียงแต่รูปแบบการเสียภาษีเหล่านั้นจะแตกต่างไปจากการเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดาอย่างเราๆไปอย่างสิ้นเชิงเลยนั่นเองค่ะ
แต่ทั้งนี้มันไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่อราวที่ใหญ่โตอะไรหรอกค่ะที่องค์กรเหล่านั้นจะต้องทำการศึกษา โดยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและเข้าถึงแก่นแท้ของระบบภาษี ก่อนที่จะประกอบการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
หลายคนคงจะตั้งคำถามเกี่ยวความหมายของภาษีกันไม่น้อยเลยนะคะ และในวันนี้ทางเราก็ไม่พลาดที่จะเอาความรู้ในส่วนที่คุณอยากรู้ หรือเกิดความสงสัยมาแนะนำ บอกกล่าว หรืออธิบายให้ฟังกันนั่นเองค่ะโดยมีใจความดังต่อไปนั้
อย่างที่ทราบกันดีนั่นล่ะคะว่า ภาษี ก็คือเงินที่เรียกเก็บจากประชาชนภายในประเทศ เพื่อให้ทางภาครัฐนำไปพัฒนาประเทศ จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยนะคะว่าแท้จริงแล้วภาษีมีอยู่ 2 ประเภทคือ
- ภาษีทางตรง ที่สามารถเรียกเก็บได้จากประชาชนที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพและภาษีที่ได้จากการประกอบกิจการทางการค้า บริการ และอุตสาหกรรม
- ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่เก็บจากประชาชนเมื่อซื้อสินค้าและบริการต่างๆที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งประชาชนทุกคนจำเป็นที่จะต้องเสียภาษี โดยทางภาครัฐได้นำภาษีที่ได้ในส่วนไปใช้ประโยชน์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชนกลับมาเช่นเดิม นั่นคือ
- นำไปจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการเพื่อให้บริการประชาชนและใช้จ่ายเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานที่ราชการต่างๆ
- นำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างโรงเรียน เป็นต้น ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ภาษีที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจมีอยู่มากมายหลายประเภท
ส่วนภาษีที่เรียกเก็บจากสถานที่ประกอบ หรือธุรกิจขนาดเล็ก ย่อมเยา อาทิเช่น สถานที่ประกอบการที่เปิดใหม่ หรือธุรกิจขนาดย่อม เราจะเรียกได้ว่าเป็น ภาษีเงินได้ หรือภาษีบุคคลธรรมดานั่นเองค่ะ โดยภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลธรรมดาทั่วไป เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเจ้าของกิจการหรือธุรกิจอะไรก็ตามแต่ ที่มีตัวเองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว จะเข้าข่ายอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีประเภทนี้ โดยปกติจะทำการเรียกเก็บเป็นรายปี โดยรายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆก็ตาม ผู้มีรายได้ต้องนำไปยื่นแสดงรายการภาษี ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจะเรียกเก็บจากนิติบุคคล ที่มีความหมายถึงการรวมตัวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในการจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งกลุ่มขึ้นเพื่อประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในที่นี้หมายถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัดต่างๆนั่นเองค่ะ
หลักเกณฑ์ในการคิดเงินภาษีจากผู้ประกอบการธุรกิจ เชื่อได้เลยนะคะว่ามีหลายคนไม่น้อยเลยที่ยังไม่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในการจักเก็บ๓ษีแต่ละชนิด ทั้งนี้เราก็มีมาแนะนำเช่นกันนะคะ โดยหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บภาษีเงินได้ในภาษีแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันออกไป โดยหลักเกณฑ์การเรียกเก็บภาษีมีดังนี้นะคะ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เป็นผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจแต่เพียงผู้เดียวจะต้องไปเสียภาษีตามหลักเกณฑ์ดังนี้คือ กรณีไม่มีคู่สมรสและมีเงินได้ที่ประเมินแล้วเกิน 30,000 บาทจะต้องเสียภาษี ถ้าน้อยกว่านี้ได้รับการยกเว้น กรณีมีคู่สมรสต้องมีเงินได้ที่รวมกันแล้วเกิน 60,000 บาท และห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลถ้ามีเงินได้เกิน 30,000 ก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน ส่วนที่มาของภาษีเงินได้นิติบุคคลนั่นมีที่มาที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะและประเภทของภาษีนั่นเอง โดยที่มาส่วนมาจะมีมาในรูปแบบ กำไร ยอดรายได้ เงินรายจ่ายในประเทศ หรือจะเป็นกำไรออกจาไประเทศไป เป็นต้น1
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คุณสามารถยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา โดยต้องกรอกเอกสารให้ครบถ้วน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครสามารถยื่นได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ถ้าในเขตจังหวัดอื่นให้ยื่นแบบแสดงรายการ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่ง อำเภอท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ในกรณีสำนักงานสรรพากรอำเภอมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ว่าการอำเภอให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรอำเภอ แต่ในปัจจุบันทางกรมสรรพากรได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการมากขึ้น โดยเปิดให้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยคลิกไปที่เว็บไซต์การยิ่นแบบแสดงภาษี แล้วเลือกลักษณะการเสียภาษีของผู้ประกอบการจากนั้นจึงกรอกแบบฟอร์มเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จตามขั้นตอนของวิธีการยื่นภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ผู้ประกอบการควรตระหนักไว้ว่าเงินภาษีที่จ่ายออกไปนั้นจะมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศชาติให้เจริญมั่นคงมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดผลดีก็จะมาตกอยู่กับตัวผู้ประกอบการนั่นเอง ดังนั้นการจ่ายภาษีจึงเป็นหน้าที่ที่พลเมืองเต็มขั้นพึงกระทำ อย่าได้คิดพยายามบ่ายเบี่ยง หรือหาช่องว่างทางกฎหมายที่จะหลบเลี่ยงไม่จ่าย เพราะสรรพากรคงไม่ปล่อยให้คุณลอยนวลได้นานอย่างแน่นอน
พลเมืองที่ดี ไม่ควรที่จะหลบหลีกหรือหลีกเลี่ยง ภาษี นะคะ เพราะภาษีที่ได้ในส่วนที่จัดเก็บจากคุณนั้น เป็นส่วนที่ภาครัฐได้นำไปพัฒนาประเทศให้เกิดความก้าวหน้าย้อนเป็นประโยชน์กลับมาหาตัวคุณอีกเช่นเคยนั่นล่ะคะ