ในยุคปัจจุบันที่สวัสดิการของบริษัท ประกันสังคม หรือจะเป็นบัตรทองของภาครัฐ อาจจะไม่เพียงพอต่อภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เวลาเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ แล้วยิ่งบางคนไม่ได้เป็นพนักงานบริษัท เป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง หรือจะรับทำงานอิสระ ยิ่งจะต้องมีหลัประกันสุขภาพให้กับตัวเอง เพื่อที่ครอบครัวของเราจะได้ไม่เดือนร้อน หากเราเกิดเจ็บป่วยจนทำงานไม่ได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นหลักประกันสุขภาพให้กับเราได้อย่างหนึ่ง ก็คือ การทำประกันสุขภาพ แล้วการประกันแบบนี้ดียังไงเรามาลองดูกันดีกว่า
ประกันสุขภาพ
คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินให้กับเรา เมื่อเราต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นทั้งกรณีที่เป็นคนไข้นอกและคนไข้ใน โดยความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทั้งนี้ประกันสุขภาพที่มีขายในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็นประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแบบรายบุคคล และประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ซึ่งแบบกลุ่มที่เรารู้จักกัน เช่น บริษัททำประกันสุขภาพให้กับพนักงาน หรือโรงเรียนทำประกันสุขภาพให้กับนักเรียนและคุณครู เป็นต้น
สิ่งที่ประกันสุขภาพจะคุ้มครอง
ประกอบด้วย ค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการของโรงพยาบาล ค่าทำการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์ ค่าที่ปรึกษาทางการแพทย์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน ค่าชดเชยการนอนโรงพยาบาล เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในกรมธรรม์ด้วย
สำหรับการทำ ประกันสุขภาพ นั้นส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายเบี้ยประกันที่จ่ายแล้วจ่ายเลย จะนำมายื่นภาษีไม่ได้เพราะเป็นประกันแบบปีต่อปี ไม่ใช่เป็นประกันชีวิตแบบระยะยาว ส่วนค่าเบี้ยประกันก็ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน ซึ่งช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันถูกสุดก็จะ ได้แก่ อายุที่อยู่ระหว่าง 20-40 ปี หรือวัยคนทำงาน อาจจะเป็นเพราะว่าบริษัทประกันคิดแล้วว่า เป็นช่วงที่ร่างการแข็งแรงสุดก็เป็นได้ ส่วนช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันจะแพงก็จะเป็นเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี และ อายุที่เริ่มแก่แล้วก็จะเป็นช่วง 50-60 ปี
สิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยของเรานอกจากอายุแล้ว ก็จะมีประวัติความเจ็บป่วยของตัวเราในอดีต เช่น หากเราเคยมีประวัติการเป็นโรคเบาหวานอยู่ การทำประกันสุขภาพก็อาจจะไม่คุ้มครองโรคที่เราเป็นอยู่ แต่สิ่งที่เจอมา คือ แค่ถามว่ามีโรคประจำตัวหรือเปล่า ถ้าตอบว่ามีก็ไม่รับทำประกันแล้วล่ะ การประกอบอาชีพของเรา ถ้าเราเป็นพนักงานบริษัทธรรมดาก็ไม่ถือว่าเสี่ยง แต่ถ้าทำงานตามไซต์งานต่างๆ ต้องออกนอกสถานที่บ่อยๆ หรือทำงานในสถานที่ที่เสี่ยง เช่น เป็นวิศวะกรคุมงานก่อสร้าง ทำงานในโรงงาน ฯลฯ ค่าเบี้ยก็อาจจะแพงกว่าพนักงานบริษัท อีกสิ่งหนึ่งที่บริษัทประกันจะใช้กำหนดค่าเบี้ยประกันภัย ก็คือ การใช้ชีวิต หรือ Life Style ของเรา เช่น กินเหล้า สูบบุหรี่ การเล่นกีฬา หรือออกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมาจากการทำแบบสอบถามของเราทั้งแบบทางโทรศัพท์ หรือทำผ่านตัวแทนประกันของเรา
อ่านบทความเพิ่มเติม : >> เบี้ยประกันสุขภาพ บิดามารดา <<
และที่สำคัญสิ่งที่เราจะต้องรู้เมื่อจะตัดสินใจทำประกันภัย คือ เงื่อนไขหรือข้อยกเว้นต่างๆ ของการทำประกันสุขภาพ โดยทั่วไปการทำประกันสุขภาพจะมีระยะเวลาการรอคอย (Waiting Period) หรือระยะดูใจ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 30 วัน หรือ 60 วัน นับจากวันที่กรมธรรม์เริ่มใช้ นั่นหมายความว่า บริษัทประกันจะไม่จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินชดเชยต่างๆ ที่เกิดจากการเข้าโรงพยาบาลของเราภายในเวลา 30 วันหรือ 60 วัน นับตั้งแต่กรมธรรม์ของเราได้รับอนุมัติจากบริษัทแล้ว เพราะบางคนจะเข้าใจว่าทำปุ๊บรับปั๊บอะไรทำนอนนี้ แต่ถ้าเป็นการทำประกันอุบัติเหตุจะคุ้มครองทันทีที่กรมธรรม์ได้รับอนุมัติ
อีกเรื่องที่สำคัญ คือ การประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองโรคหรือการเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น การเป็นโรคทางพันธุกรรม โรคที่เกี่ยวกับผิวพรรณ เช่น สิว ฝ้า รังแค ผมร่วง โรคตาที่เกิดจากการใช้คอนแทคเลนส์ การรักษาหรือการบำบัดกรณีติดยาเสพติด บุหรี่ และเหล้า การรักษาโดยไม่ใช้แพทย์แผนปัจจุบันหรือเป็นแพทย์ทางเลือก ซึ่งจะเน้นย้ำอีกครั้งว่า เราจะต้องอ่านกรมธรรม์ของเราให้ดี อ่านให้ละเอียดเพื่อที่จะได้ไม่เสียสิทธิในการรักษาของเราได้
สรุปสุดท้ายเราจะเลือกทำ ประกันสุขภาพ หรือไม่นั้น ต้องดูที่ตัวเราเป็นหลักก่อนว่า สิ่งที่เรามีอยู่ในตอนนี้เป็นยังไงบ้าง บริษัทมีสวัสดิการที่เพียงพอหรือเปล่า แล้วถ้าเรามีครอบครัวด้วยแล้ว สวัสดิการของบริษัทคุ้มครองหรือไม่ ซึ่งไม่คุ้มครองและครอบครัวของเราไม่มีหลักประกันสุขภาพอย่างอื่นก็น่าที่จะเลือกทำไว้ และที่สำคัญฐานะทางการเงินของเราสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันได้อย่างไม่เดือนร้อน ก็สมควรอย่างยิ่งที่ทำไว้เหมือนกัน และก่อนทำก็ควรศึกษาเงื่อนไขการรับประกันของแต่ละบริษัทให้ละเอียด เพื่อให้เราได้ผลประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับฐานะการเงินของเราด้วย
รู้จัก ประกันสุขภาพ กันดีแล้ว สนใจซื้อกรมธรรม์ประกันสุขภาพกับ ไทยประกันชีวิต (Thailife) >> คลิกดูรายละเอียดที่นี่