คนเราหลายคนที่ต้องการจะเลือกซื้อของชิ้นใหญ่สักชิ้น หรือต้องการดำเนินการอะไรสักอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยรายจ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียวนะคะ หากมัวเก็บ หรือรอออมเงินให้ครบเสียก่อน เกรงว่าจะไม่ได้ หรือเสียเวลาไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเหตุนี้เองล่ะคะ ที่เป็นบ่อเกิดของสินเชื่อต่างๆ ให้เราได้ทำการขอ เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น แล้วค่อยทำการจ่าย หรือผ่อนจ่ายในภายหลัง ตามเงื่อนไข หรือที่ได้ทำการตกลงกันในสัญญา
สำหรับหลายๆ คนที่กำลังเป็นที่ข้องใจกันไม่น้อย เนื่องจากปัจจุบันนี้สินเชื่อได้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจากหลายๆสถาบันการเงิน แท้จริงแล้วมีกี่ประเภท อะไรกันบ้างนั้นวันนี้เรามีมาฝาก สำหรับประเภทของสินเชื่อ มีหลากหลายประเภท จนหลายๆ คน อาจสงสัยว่า แท้จริงแล้ว สินเชื่อแบ่งออกเป็นกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง มาเริ่มจาก
แบ่งตามลักษณะของผู้ขอสินเชื่อซึ่งสามารถทำการแบ่งได้ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
- สินเชื่อบุคคล ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภค บริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นสินเชื่อที่ใครก็สามารถทำการขอได้เพียงแค่มีรายได้ประจำเท่านั้นเอง
- สินเชื่อสำหรับธุรกิจ เป็นสินเชื่อเพื่อการลงทุน, การผลิต หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน ระยะเวลาในการดำเนินการอาจต้องใช้เวลา และต้องมีกระบวนการขอ – อนุมัติที่ซับซ้อนเล็กน้อย
- สินเชื่อสำหรับรัฐบาล ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงินซึ่งอาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบต่าง ๆ เช่น พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น สำหรับสินเชื่อรูปแบบนี้อาจไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนักนะคะ เพราะทุกวันนี้ทางภาครัฐได้หันไปกู้เงิน จากธนาคารต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
สินเชื่อที่แบ่งตามระยะเวลา
- สินเชื่อระยะสั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อการค้า รวมไปถึง ตั๋วเงินคลัง และ ตราสารพาณิชย์
- สินเชื่อระยะกลาง ระยะเวลาตั้งแต่ 1ปีถึง 5 ปี เช่น การผ่อนส่งการซื้อสินค้าคงทน เช่นสินเชื่อรถ เครื่องใช้ต่างๆที่ไม่ใหญ่มาก และใช้วงเงินที่ไม่มากนัก
- สินเชื่อระยะยาว สำหรับสินเชื่อประเภทนี้ไม่เพียงชำระในระยะยาวเท่านั้น เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีวงเงินสูง ทำให้ต้องมีกระบวนการพิจารณาที่ค่อนข้างนานและยากสักนิดหนึ่ง ระยะเวลาในการชำระหนี้ ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินจำนวนมาก หรือ เป็นการบริโภคสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงมาก เช่น บ้านและที่ดิน
แบ่งตามวัตถุประสงค์
- สินเชื่อเพื่อการบริโภค หรือที่เราได้รู้จักในข้างต้นนั่นเองค่ะ คอสินเชื่อส่วนบุคคล เป็น สินเชื่อที่ให้กับบุคคล ในการนำมาใช้บริโภคสินค้า รวมตลอดถึงการกู้ยืมเงินสดเพื่อนำไปใช้ของผู้บริโภคด้วย ซึ่งในที่นี้ผู้บริโภคจะหมายถึง ผู้บริโภคคนสุดท้าย สินเชื่อมีลักษณะเช่นเดียวกับสินเชื่อเพื่อการบริโภค จะอยู่ในรูปแบบของบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด ง่ายต่อการขอแล้วล่ะค่ะ
- สินเชื่อเพื่อการลงทุน เป็นสินเชื่อที่มีขึ้นมาเพื่อการลงทุน การผลิต หรือการประกอบธุรกิจ เพราะสิ่งเหล่านี้ย่อมต้องการเงินทุนที่ค่อนข้างมาก จึงเป็นที่มาของสินเชื่อประเภทนี้ขึ้นมา สำหรับกระบวนการขอสินเชื่อ หากมีคุณสมบัตร เอกสารครบถ้วน และเป็นที่น่าเชื่อถือ ก็ไม่ยากต่อการผ่านกระบวนการอนุมัติ
- สินเชื่อเพื่อการค้า หรือพาณิชย์ โดยทั่วไปเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายสินค้าประเภทวัตถุดิบเพื่อนำมาผลิต หรือจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง เป็นสินเชื่อระยะสั้น เพื่อสภาพคล่องการเงินนั่นเองค่ะ
แบ่งตามผู้ให้สินเชื่อ สำหรับสินเชื่อได้มีขึ้นมาอย่างดอกเห็ด รู้หรือไม่ว่าที่แท้จริงแล้วมาจากที่ไหนบ้าง วันนี้เรามีคำตอบ
- บุคคลเป็นจำของจำนวนเงิน หรือที่เราเองรู้จักกันในนามของเงินกูนอกระบบนั่นเองค่ะ เป็นเงินกู้ที่ไม่ตายตัว และไม่ผ่านการได้รับอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมาย และที่สำคัญมีข่าวบ่อยมากสำหรับดอกที่แพงเกินกว่าเกณฑ์ทั่วๆไป
- สถาบันการเงินเป็นผู้ให้อาจตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่แปลกเลยที่แต่ละสถาบันจะมีดอกเบี้ยที่แตกต่างกันออกไป
- หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่แสวงหากำไร หน่วยงานการกุศล และกองทุนต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน
สำหรับใครที่ต้องการขอสินเชื่อ แนะนำเลยว่าจะดีกว่ามากหากมาจากแหล่งสถาบันการเงิน หรือทางธนาคารโดยตรง เพราะคุณจะไม่ต้องเสี่ยงกับดอกเบี้ยที่แพง และโดยโกงอีกด้วย
แบ่งตามหลักประกัน ประกอบไปด้วยสินเชื่อ 2 ประเภทได้แก่
- สินเชื่อไม่มีหลักประกัน อาศัยความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นเครื่องพิจารณาการให้สินเชื่อ สินเชื่อประเภทนี้จึงมีความเสี่ยงสูงเพราะไม่มีหลักประกันให้แก่ผู้ให้กู้ในกรณีที่เกิดการผิดสัญญาขึ้น
- สินเชื่อที่มีหลักประกัน มีความเสียงต่ำกว่าเนื่องจากผู้กู้มีหลักประกันแก่ผู้ให้กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายหากเกิดการผิดสัญญาขึ้น โดยหลีกประกันดังกล่าวอาจอยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ เช่น การจำนองที่ดิน สังหาริมทรัพย์
วันนี้ได้มีสินเชื่อมากมายขึ้นก็จริง แต่ก็อย่าลืมคิดถึงความจำเป็นมาก่อนเป็นอันดับแรกนะคะ เพราะหากทำการขอและใช้จ่ายอย่างไม่ประหยัด ไม่ระมัดระวัง คุณอาจต้องเจอกับสภาวะหนี้สินล้นมือ เพราะสินเชื่อเปรียบเสมือนเงินกู้ หรือเงินยืม ที่อย่างไรเราก็ต้องจ่ายคืนเขา และที่สำคัญ ก่อนทำการขอสินเชื่อจะต้องทำการศึกษาสินเชื่อแต่ละตัว แต่ละสถาบันการเงินให้ดีเสียก่อน เพื่อที่จะได้เลือกของสินเชื่อที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเรามากที่สุดนั่นเองค่ะ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องหนัก หรือรับภาระที่มากจนเกินไป
ต้องการเงินด่วน สินเชื่อส่วนบุคคล ช่วยคุณได้ >> คลิก