หลายคนคงจะสงสัยกันไม่น้อยเลยเกี่ยวกับประเภทของ ภาษี หรือรายละเอียดของ ภาษี แต่ละแบบนั้น วันนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับภาษีแต่ละแบบให้ชัดเจนกันดีกว่า
ภาษี มี 5 ประเภทจำแนกได้ ดังนี้
- ภาษีอากรตามระดับที่จัดเก็บ ได้แก่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต เรียกกันว่า ภาษีระดับประเทศ
- ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย ภาษีท้องที่ เรียกว่า ภาษีระดับท้องถิ่น
- ภาษีอากรตามหลักการผลักภาระภาษี ได้แก่
- ภาษีทางตรง คือภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
- ภาษีทางอ้อม คือภาษีที่ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
- ภาษีอากรตามวิธีการประเมินภาษี ได้แก่
- ภาษีตามมูลค่า คือภาษีที่เรียกเก็บตามมูลค่าของฐานภาษี ปกติจะ กำหนดอัตราภาษีเป็นร้อยละ เช่น ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น
- ภาษีตามสภาพ เป็นภาษีที่จัดเก็บตามปริมาณของฐานภาษี ดังนั้นการจัดเก็บภาษีจึงจัดเก็บเป็นอัตราต่อปริมาณ เช่นจัดเก็บตามกิโลกรรม ตามชิ้นภาษีที่ จัดเก็บตามปริมาณได้แก่ ภาษีสรรสามิตร ภาษีศุลกากร
- ภาษีอากรตามลักษณะการนำเงินภาษีไปใช้ ได้แก่
- ภาษีทั่วไป จัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในกิจการทั่วไปของรัฐ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร เป็นต้น
- ภาษีเพื่อการเฉพาะอย่าง จัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในกิจการใดกิจการหนึ่ง โดยเฉพาะจะนำไปใช้เพื่อกิจการอื่นไม่ได้ เช่น ภาษีน้ำตาล ภาษีที่เก็บจากน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อเป็นกองทุนน้ำมัน เป็นต้น
- ภาษีตามความถาวรของกฎหมายภาษีอากร ได้แก่
- ภาษีถาวร คือภาษีที่เก็บอยู่เป็นปกติในแต่ละปี เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีโรงเรือน เป็นต้น
- ภาษีชั่วคราว คือภาษีที่จัดเก็บเป็นการชั่วคราวเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน หรือเพื่อ กิจการใดกิจการหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์นั้นแล้วก็จะยกเลิกการเก็บ เช่น การเก็บ ภาษีเพิ่มขึ้นในช่วงสงครามเพื่อนำไปใช้ในการป้องกันประเทศเป็นต้น
ผลกระทบของการจัดเก็บภาษีอากร
การจัดเก็บภาษีในแต่ละปีนั้น ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจหลายด้าน ที่สำคัญคือ ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร ด้านการกระจายรายได้ และผลกระทบต่อผลผลิตของชาติ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
ผลกระทบด้านการจัดสรรทรัพยากร การเก็บภาษีคือการโอนย้ายทรัพยากรจาก ภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐ ดังนั้นผลกระทบจะเกิดกับส่วนใด ขึ้นอยู่กับว่า รัฐเรียกเก็บภาษีแต่ละประเภทจากคนกลุ่มใด เช่น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้า ดังนั้น ถือว่าภาษีประเภทนี้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้สินค้าหรือบริการ ที่ต้องส่งหรือโอนเงินให้กับรัฐบาล เป็นต้น
ผลกระทบด้านการกระจายรายได้ อย่างที่กล่าวไว้ว่าการจัดเก็บภาษีจะจัดเก็บจากผู้ที่มีเงินได้ ซึ่งมีผลทำให้รายได้ที่แท้จริงของผู้มีเงินได้ลดลง การจัดเก็บภาษีจึงมีผลต่อการกระจายรายได้ด้วย หมายความว่า ถ้าภาษีส่วนใหญ่ของประเทศเป็นภาษีทางตรงในอัตราที่ก้าวหน้า ภาระภาษีก็จะตกอยู่กับคนที่มีรายได้สูง ทำให้การกระจายรายได้มีความเป็นธรรม หรือถ้าภาษีนั้นเป็นภาษี ทางอ้อมเช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาระภาษีก็จะกระจายให้กับคนทุกกลุ่มที่ใช้สินค้าหรือบริการ ผลกระทบต่อการผลิตของชาติ การเก็บภาษีจะมีผลต่อการบริโภค การออม และการ ลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงการผลิตด้วย การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของการผลิตจึง ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละประเภทเป็นสำคัญ เช่น การเก็บภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นจะทำให้ รายได้ของผู้เสียภาษีน้อยลง การทำงานลดลง การจ้างงานลดลง ส่งผลให้การผลิตรมของชาติลดลง ไปด้วย เป็นต้น
การหลบหนีภาษีกับการหลบหลีกภาษี
การหลบหนีภาษี คือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือเสียภาษีน้อยลง ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตกตัวอย่างเช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินได้ที่แท้จริงในแบบแสดงรายการโดยเจตนา เพื่อให้เสียภาษีน้อย การตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) ก็เป็นการหลยหนีภาษีเช่นเดียวกัน การตั้งราคาโอนในที่นี้คือ การที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ (Multinational Firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทำให้ต้นทุนสูง กำไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือการที่บริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่ต้องเสียภาษีเลย
การหลบหลีกภาษี คือ การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี หรือเสียภาษีน้อยลง ด้วยการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายภาษีอากร (Tax Loopholes) ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฎหมาย ตัวอย่างของการหลบหลีกภาษีเช่น การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจาการทำงานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศมายื่นแสดงรายได้ในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น แต่นำเข้ามาในปีภาษีอื่น ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้นๆ ซึ่งเป็นการหลบหลีกภาษีที่ไม่ผิดกฎหมาย เพราะตามแนวทางการปฏิบัติของกรมสรรพากร หากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจากการทำงาน หรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกับที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพากรจะไม่เก็บภาษีจากเงินได้ดังกล่าว
ได้รู้ถึงรายละเอียดของภาษีแต่ละประเภทกันไปแล้ว ผู้มีเงินได้ทุกคนก็ควรยื่นแบบแสดงรายได้กันอย่างถูกต้อง ไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษี อย่าลืมว่า ภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปพัฒนาชาติ เมื่อชาติเจริญ ประโยชน์ก็จะกลับมาสู่ตัวเรานั่นเอง