ใครหลายคนเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่วัยทำงานก็เริ่มที่จะมีรายได้เข้ามาเป็นประจำ จะได้มากหรือได้น้อย นั่นก็เป็นรางวัลของความสำเร็จที่ทุกคนตั้งอกตั้งใจทำงานกันมาตลอด แต่รายได้ก็มักจะมาพร้อมกับรายจ่ายเสมอ ทั้งค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับการใช้ในชีวิตประจำวัน ค่าที่พักอาศัย ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง แบ่งให้พ่อกับแม่ใช้ ค่ารักษาพยาบาลและอื่นๆอีกมากมาย และอย่างหนึ่งก็คือ จ่ายเสีย ภาษี ที่เราจำเป็นต้องจ่ายและ หลีกเหลี่ยงไม่ได้ ซึ่งหลายคนก็ยัง งง ๆ อยู่ว่า ต้องยื่นอะไรอย่างไรบ้าง เสียเท่าไหร่ มีข้อยกเว้นได้ไหม บางคนก็ยังทำไม่เป็น ไม่เข้าใจ วันนี้เราจึงขอหยิบยกเรื่องของภาษีมาอธิบายให้พอเข้าใจง่ายๆกันบ้างค่ะ
ทำไมต้องจ่ายภาษี ?
สายสมร : สมศรีนี่เธอไปยื่นเสียภาษีเงินได้หรือยัง ?
สมศรี : ยังเลย ยังไม่ได้ทำด้วยซ้ำ
สายสมร : รีบๆ เลยนะ นี่ก็ใกล้จะครบกำหนดให้จ่ายแล้ว ชักช้า เดี๋ยวก็ได้เสียค่าปรับหรอก
สาคร : สวัสดีครับ สาวๆ คุยอะไรกันอยู่
สายสมร : อ๋อ พอดี เรามาถามสมศรีเรื่องเสียภาษีน่ะ พอดีเราไปยื่นมาแล้ว
สาคร : หรอ นั่นสิ เราก็เสียภาษีกันทุกปี ทุกปี แบบนี้ เคยคิดกันบ้างไหมเนี่ย
ว่าเราทำไมต้องจ่ายกันด้วยนะ ?
สมศรี : ก็ตามกฎหมายกำหนดมาแบบนี้นี่น่า จะทำไงได้ล่ะ
สายสมร : เราเสียภาษีตามกฎหมายก็จริง แต่อย่าลืมนะว่า เงินส่วนที่เป็นค่าภาษีของเรานั้นก็คือเงินในส่วนที่จะนำไปพัฒนาประเทศ พัฒนาความเจริญก้าวหน้า สร้างถนน ไฟฟ้า ระบบขนส่ง สาธารณสุข หรือแม้แต่ยามเกิดภัยพิบัติ น้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว หรืออื่นๆ ก็สามารถเอาเงินส่วนนี้มาช่วยเหลือประชาชนในประเทศยังไงล่ะ
สาคร : อ๋อ เป็นแบบนี้นี่เอง ขอบใจนะสายสมร แบบนี้เราก็มีเงินพัฒนาประเทศ จะไม่ต้องไปกู้ยืมต่างชาติแล้วล่ะใช่ไหม
สายสมร : เอ่อ อันนี้ เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะ ฮ่าๆ
ตามบทสนทนาข้างต้น นอกจากการเสียภาษีจะเป็นเรื่องของกฎหมายที่เราทุกคนต้องปฏิบัติตามแล้ว แต่ผลที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ก็คือการหวนคืนซึ่งผลประโยชน์ของประชาชนเอง ทั้งเรื่องการนำไปพัฒนาระบบสวัสดิการต่างๆของรัฐ ดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน นำไปเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับสาธารณะทั้งโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงค่าตอบแทนให้กับหน่วยงานราชการที่ช่วยกันทำงานพัฒนาและบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ใครบ้างที่จะต้องจ่ายภาษี ?
คำตอบคือ ประชาชนคนไทยทุกคนอาศัยอยู่ในประเทศไทยนั่นเอง ตามกฎหมายก็คือ ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทต่อเดือนเป็นต้นไป ต้องยื่นแบบแสดงเงินได้เพื่อเสียภาษี แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย คือรายได้ไม่เกิน 150,000 บาท ต่อปี จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีเงินได้
ที่จริงแล้วก็ไม่ขึ้นอยู่กับว่าต้องทำงานราชการ เป็นพนักงานมีเงินเดือน หรือพนักงานประจำ หรือนักธุรกิจ ฯ และอื่นๆ ที่มีรายได้เยอะๆเท่านั้น ประชาชนทุกคนยังต้องเสียภาษีที่เป็นภาษีทางอ้อมหรือที่เรียกว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” นั่นเอง โดยเจ้าตัวภาษีมูลเพิ่มหรือ Vat นี้ จะถูกคิดบวกเข้ากับราคาสินค้า ที่เวลาเราไปซื้อของตามห้างร้าน,ซุปเปอร์มาร์เก็ต,ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็จะมีบอกไว้ ว่า ราคาสินค้านั้นได้รวมหรือยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นต้น
เราจะคำนวณภาษีที่จะต้องจ่ายอย่างไร ?
หลายคนก็ยัง งงๆ ว่า เรานั้นมีรายได้เท่านั้นเท่านี้ จะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ ทั้งนี้จะขอยกตัวอย่างกรณีของ สมศรี เธอทำงานเป็นพนักงานในบริษัทแห่งหนึ่งและมีเงินเดือนเกิน 21,000 บาทต่อเดือน ดังนั้น การคำนวณภาษีของสมศรีจะสามารถคำนวณได้ดังนี้
เงินได้พึงประเมินทั้งปี – ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
(252,000) -60,000-30,000 = 157,000
*หมายเหตุ : ค่าใช้จ่าย 40 % ของเงินได้ กฎหมายกำหนดสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
ค่าลดหย่อนส่วนตัวโดยประมาณใน 1 ปี หรือถ้าหากมีลดหย่อนอื่นๆให้นำมาคำนวณ
(ถ้ามี)
ดังนั้น เมื่อคำนวณออกมาแล้วสมศรีมีเงินได้สุทธิที่ 157,000 บาท อยู่ในขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่
150,001-300,000 บาท นั่นคือ สมศรีจะต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 %
จะได้ 157,000 ×5100 = 7,850 บาท
นี่ก็เป็นตัวอย่างที่เรานำมาคำนวณให้พอเข้าใจดูคร่าวๆนะคะ นอกจากนั้น การยื่นเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี ต้องยื่นภายช่วงในเวลาที่กำหนดไว้คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 31 มีนาคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน หากภายในช่วงนี้ ใครติดงาน ติดธุระ ติดอะไรก็แล้วแต่ แล้วลืมไปยื่น ถ้าคิดได้แล้วไปยื่น เราจะต้องจ่ายค่าปรับด้วยนะคะ ถ้ายังไม่เกิน 7 วันหลังจากเลยกำหนดมาแล้ว เสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าภายใน 7 วันยังไม่จ่าย แล้วไปจ่ายทีหลังจะถูกหักทักค่าปรับและต้องจ่ายดอกเบี้ย 1.5 % ต่อเดือนของยอดเงินภาษีที่ต้องจ่าย เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากจ่ายค่าปรับและดอกเบี้ยเพิ่ม ก็อย่าลืมไปจัดการคำนวณภาษีและส่งยื่นแบบเสียภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนดด้วยนะคะ
การเสีย ภาษี เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ไว้ แม้ตอนนี้เราอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องที่ไกลตัว หรือไม่ใช่หน้าที่ของเรา เป็นหน้าที่ของ สรรพากร พนักงานบัญชี หรือเฉพาะบุคลากรที่ทำงานด้านการเงินเพียงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเรื่องภาษีเป็นเรื่องของทุกคน ก็เหมือนกับกฎหมายที่เราจะบอกว่าเราไม่รู้ไม่ได้ เพราะการที่เราไม่รู้นั่นแหละ บางทีอาจจะทำให้เราเสียสิทธิ์ต่างๆไปได้ง่าย เพราะฉะนั้นแล้วรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามนะคะ ฝากกันกันไว้ด้วยนะ