ธนาคารกลาง หรือเรียกได้อีกอย่างในรูปแบบที่เราคุ้นหูกันว่า ธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อมีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารนั้นจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของ ธนาคารกลาง เดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ
อำนาจ และหน้าที่ของ ธนาคารกลาง โดยทั่วไปแล้วจะเห็นได้ว่าธนาคารกลางนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ เพราะว่าเป็นสถาบันที่มุ่งรักษาผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ โดยมิได้มุ่งหวังกำไรจากการดำเนินการ เหมือนกับสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งอำนาจ และหน้าที่หลักๆ ของธนาคารกลางนั้นในแต่ละประเทศก็ค่อนข้างที่จะคล้ายคลึงกัน โดยที่สำคัญมีดังนี้
ธนาคารกลาง นั้นจะมีอำนาจโดยตรงในการออกธนบัตร เพื่อการควบคุมปริมาณเงิน เพราะจะสามารถยืดหยุ่นการออกธนบัตรให้มีจำนวนเหมาะสมตามความต้องการของธุรกิจและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้เพราะว่าในการออกธนบัตรเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศเสมอ กล่าวคือ ถ้าหากมีการออกธนบัตรน้อยเกินไป ก็จะส่งผลให้เงินฝืด หรือหากมีการออกมากเกินไปก็จะส่งผลให้เงินเฟ้อเป็นต้น
การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล ซึ่งหน้าที่ของธนาคารกลางในฐานะเป็นนายธนาคารของรัฐบาลนี้ก็จะมีหน้าที่คล้ายๆ กับธนาคารพาณิชย์ในการให้บริการแก่ลูกค้า ด้วยเหตุที่ว่าธนาคารนั้นต้องทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
- ธนาคารกลางจะดำเนินการในการรับฝากเงินจากภาครัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ อีกทั้งเป็นแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ
- เป็นที่ปรึกษาทางการเงินแก่รัฐบาล อีกทั้งในการการดำเนินงานของกระทรวงการคลังย่อมที่จะเกี่ยวกับของกับการเก็บภาษี การใช้จ่าย และการสร้างหนี้ ย่อมมีผลกระทบปริมาณเงินอย่างมาก ดังนั้นธนาคารกลาง และกระทรวงการคลังจึงต้องปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับนโยบายทางการเงิน การคลัง ตลอดจนเรื่องของหนี้สาธารณะ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันในด้านของนโยบาย เพื่อที่จะได้อำนวยประโยชน์แก่เศรษฐกิจโดยรวม
- การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ การที่จะกล่าวว่าธนาคารกลางนั้นเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าธนาคารกลางนั้นเป็นสถาบันทางการเงินที่ต้องคอยดูแลระบบการเงินของประเทศ ซึ่งบริการที่ทางธนาคารกลางนั้นมีให้แก่ธนาคารพาณิชย์ก็จะเป็นการให้บริการในทำนองเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าของธนาคาร โดยหน้าที่หลักๆ คือ
รับฝากเงิน
บริการในการรับฝาก : การที่ธนาคารพาณิชย์ฝากเงินกับธนาคารกลางทั้งนี้เนื่องจาก
- ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องฝากเงินสดสำรองที่ต้องดำรงกับธนาคารกลางอยู่แล้วตามกฎหมาย
- เพื่อสะดวกในการถอนเป็นเงินสดมาใช้ และชำระหนี้ระหว่างธนาคาร และโอนเงินไปยังที่ต้องการ
รับหักบัญชีระหว่างธนาคาร
บริการในการรับหักบัญชีระหว่างธนาคาร : เนื่องจากทุกธนาคารพาณิชย์ฝากเงินที่ธนาคารกลาง ดังนั้น การชำระหนี้ระหว่างธนาคารจึงกระทำโดยผ่านธนาคารกลาง โดยวิธีนี้ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้ระหว่างกันเอง
ให้กู้ยืมเงินเป็นแหล่งสุดท้าย
การบริการโดยเป็นแหล่งให้กู้ยืมเงินเป็นแหล่งสุดท้าย : ในฐานะลูกค้าของธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางได้ แต่ธนาคารกลางไม่สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินจากตน ถ้าหากยังมีแหล่งอื่นที่จะกู้ได้อีก
เป็นศูนย์กลางการโอนเงิน
การให้บริการโดยเป็นศูนย์กลางการโอนเงิน : ธนาคารกลางรับจัดการโอนเงินระหว่างธนาคารต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งการโอนเงินโดยผ่านธนาคารกลางย่อมเกิดความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ด้วยเหตุที่ว่าธนาคารกลางมีตัวแทน หรือสาขาอยู่ทั่วประเทศ และธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งก็มีเงินฝากกับธนาคารกลาง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เงินทุนนั้นสามารถถ่ายเทไปยังที่ต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังทันความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน อีกทั้งยังช่วยให้อัตราดอกเบี้ยไม่แตกต่างกันมากนักในท้องถิ่นต่างๆ
การควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Exchange Control)
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความราบรื่นในการค้าระหว่างประเทศ ธนาคารกลางจึงต้องเข้ามาสอดส่องดูแลความเรียบร้อย ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในการจายเงินตราต่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยรวม อีกทั้งยังคอยเป็นสถาบันที่ปกป้องเงินทุนไม่ให้ไหลออกจากประเทศมากนัก เพราะจะส่งผลกระทบต่อดุลการค้าโดยตรง และที่สำคัญคือการรักษาค่าเงินในประเทศของตนให้คงมีเสถียรภาพ
การเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserves Management)
ทั้งนี้เนื่องจาก ธนาคารกลาง นั้นเป็นผู้รักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามกาเคลื่อนไหวทางการเงินของในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินตราในตระกูลที่สำคัญ เช่น ดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา ปอนด์สเตอร์ริงค์อังกฤษ เป็นต้นโดยหลักการบริหารเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีหลักการสำคัญคือ
- ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย กล่าวคือ ต้องติดตามความเคลื่อนไหวทางด้านการเงินระหว่างประเทศตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่เป็นเจ้าของเงินตราในตระกูลที่สำคัญ
- ความสามารถที่จะแสวงหารายได้ เพราะว่าในการถือเงินตราของต่างประเทศนั้นหากถือไว้เฉยๆ ก็ย่อมที่จะไม่เกิดผลดีอย่างไร ทั้งนี้จึงควรที่จะนำไปลงทุนเพื่อก่อให้เกิดรายได้มากกว่า