หลายคนที่เรียนเศรษฐศาสตร์มานั้นคงจะเป็นที่คุณเคยกันดีเลยนะคะเกี่ยวกับ เงินคงคลัง เพราะเป็นปัจจัยหลักๆเลยก็ว่าได้ที่สามารถพาประเทศของเราให้ดำเนินไปได้นั่นเองค่ะ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เรียนเรื่องนี้มาโดยเฉพาะนั้นก็คงจะเคยผ่านๆตามาบ้างล่ะ และคงจะอยากรู้และต้องการที่จะศึกษาไว้เพื่อเป็นความรู้เสริมกันไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะคะ ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับเงินคงคลังตัวนี้ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งกันดีกว่านะคะ เพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเองนั่นล่ะค่ะ
เงินคงคลัง นั่นก็คือเงินสดหรือสิ่งใกล้เคียงเงินสดที่รัฐบาลมีไว้เพื่อการใช้จ่ายในการดำเนินงานของรัฐ โดยเป็นเงินรายรับที่เหลือจากการใช้จ่ายซึ่งรัฐบาลเก็บสะสมไว้ในแต่ละขณะ ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่มีผลให้เงินคงคลังเปลี่ยนแปลง คือ การจัดเก็บรายได้ การเบิกใช้รายจ่าย และการนำเงินคงคลังมาใช้ สำหรับประเทศไทยนั้น เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล มาจากเงินภาษีเป็นหลัก ซึ่งรอบของการตกงวดภาษีสำคัญๆ ที่มีกำหนดช่วงเวลาไว้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ยื่นภายในเดือนมีนาคมของทุกปี หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล งวดปีและงวดครึ่งปี ยื่นภายในเดือนพฤษภาคมและสิงหาคมของทุกปี เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกใช้รายจ่ายที่ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ อาทิ เงินเดือน เบี้ยหวัด ซึ่งมักมีภาระต้องจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ระดับเงินคงคลังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านฤดูกาล
ส่วนเงินคงคลังนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างไร บอกได้คำเดียวว่ามีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจของประเทศเราเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ประเทศจะอยู่หรือล่มนั้นส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุมาจากเงินคงคลังนี้ล่ะคะ โดยมีใจความสำคัญดังนี้ค่ะ
เงินคงคลัง นับว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการสภาพคล่องของรัฐบาลนอกเหนือไปจากการกู้เงินทั้งด้วยการออกตั๋วเงินคลังและการออกพันธบัตรของรัฐบาล ทั้งนี้ แม้เงินคงคลังจะไม่ใช่กลไกด้านนโยบายหลักที่ขับเคลื่อนการใช้จ่ายของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่การมีเงินคงคลังในระดับที่เพียงพอ ก็ย่อมสร้างเสริมความมั่นใจได้ว่ารัฐบาลยังมีเครื่องมือไว้ดูแลในกรณีที่มีเหตุการณ์จำเป็นเร่งด่วนให้ต้องใช้จ่ายเงิน อันรวมถึงความสามารถในการหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ของหน่วยงานภาครัฐ ยิ่งหากเงินคงคลังปรับเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น ก็อาจสะท้อนได้ถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวในเกณฑ์ค่อนข้างดี ในทางตรงกันข้าม หากเงินคงคลังอยู่ในระดับต่ำ อาจก่อให้เกิดความกังวลว่ารัฐบาลจะประสบกับภาวะขาดสภาพคล่อง ซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลอาจไม่มีเงินเหลือเพียงพอสำหรับการเบิกใช้เงินโดยเฉพาะหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น
แต่ในปัจจุบันนี้ สถานะ เงินคงคลัง ของไทยที่ค่อนข้างแข็งแรงและมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากหลายเหตุผลข้างต้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรทางเศรษฐกิจและหลากหลายเหตุการณ์เสี่ยง อันรวมถึงอุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการเงินคงคลังที่สร้างความเชื่อมั่นได้ว่ารัฐบาลมีเครื่องมือในการบริหารจัดการสภาพคล่องระยะสั้นที่เพียงพอต่อการรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียวนะคะว่าหากทิศทางการเพิ่มขึ้นของเงินคงคลังของไทย จึงอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลมีแนวคิดที่จะนำเงินคงคลังส่วนเกินไปบริหารเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนมากขึ้น จากกฎหมายปัจจุบันที่กฎหมายระบุให้ฝากไว้เป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ได้รับผลตอบแทน สำหรับประเด็นนี้นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากมีการแก้กฎหมายที่เปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้ ก็คงจะอยู่ที่รายละเอียดของตัวบทกฎหมายและดุลพินิจของรัฐบาลเป็นสำคัญ ขณะที่ ในบางประเทศเช่น สหรัฐฯ กฎหมายก็เปิดช่องให้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ สามารถนำเงินคงคลังส่วนเกินไปแสวงหาผลตอบแทนได้ กระนั้น การดำเนินการนำเงินคงคลังส่วนเกินไปแสวงหาผลตอบแทนดังกล่าว รัฐบาลคงจะต้องชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับกลับมา ซึ่งน่าจะเป็นอัตราที่สอดคล้องกับภาพทิศทางอัตราผลตอบแทนในตลาดเงิน กับความจำเป็นในการถือสภาพคล่องเพื่อบริหารรายจ่ายในแต่ละช่วงเวลาซึ่งอาจจะผันแปรตามสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ รวมถึงความเสี่ยงในการลงทุนด้วย
ทั้งนี้ จากสาเหตุที่ว่าการเปลี่ยนแปลงของ เงินคงคลัง ขึ้นอยู่กับทั้งรายได้และรายจ่ายที่เชื่อมโยงกับภาวะเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ ทำให้ต้องยอมรับว่า คงเป็นการยากที่จะชี้ชัดว่าระดับเงินคงคลังที่ควรจะมีในมือเพื่อบริหารกระแสเงินสดระยะสั้นของรัฐบาลในแต่ละประเทศควรจะอยู่ที่ระดับใด อย่างไรก็ดี หากมีเงินคงคลังในระดับที่มากพอ ก็คงจะเป็นเครื่องเสริมความเชื่อมั่นได้ว่าหากสภาวะทางเศรษฐกิจเผชิญเหตุไม่คาดคิด รัฐบาลก็ยังมีเงินในมือสำหรับการดำเนินนโยบายเพื่อประคองสถานการณ์ไปได้อย่างแน่นอนเลยนะคะ แต่หากว่าเงินคงคลังที่มีอยู่นั้นร่อยหรอล่ะ หลายคนคงจะไม่อยากที่จะคาดคิดเลยทีเดียวนะคะว่าแนวโน้มในประเทศของเรานั้นจะเป็นไปในรูปแบบใดนั่นเองค่ะ แล้วรัฐบาลของเราจะมีลักษณะการแก้ไขอย่างไรนั่นเองค่ะ เพราะหากรัฐบาลไม่มีความเป็นประสิทธิภาพจริงๆ เชื่อได้เลยค่ะว่าประเทศเราคงจะตกที่นั่งลำบากอย่างแน่นอนเลยทีเดียวค่ะ