หลายคนเมื่อรู้ตัวว่าตนเองกำลังเป็นหนี้ หรือมีภาระต้องผ่อนชำระสินค้า หนี้บัตรเครดิต แต่ไม่มีเงินไปชำระได้ เกิดอาการเครียดกินข้าวไม่ได้นอนไม่หลับ พาลไปถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง แต่เรามีทางออกสำหรับผู้เป็นหนี้ให้มีความสุขได้ มีความสุขได้หากเป็นหนี้ ด้วยหลักวิธีการคิดแบบง่ายๆดังนี้
การบริหารด้านการเงินอย่างมีระบบและแบบแผนนั้นจะต้องกำหนดให้ตัวเองไม่ควรมีหนี้สูงกว่ารายได้เกิน 35% เช่น หากมีรายได้ประจำเดือน 30,000 บาท มีภาระการผ่อนชำระ เช่น แบ่งจ่ายชำระค่ามือถือ 1,500 บาทต่อเดือน และผ่อนเงินกู้คอนโดมิเนียม 7,500 บาทต่อเดือน ในกรณีเช่นนี้ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อรายได้อยู่ที่ 30% (ยอดรวมภาระหนี้ที่ 9,000 บาทต่อเดือน หารด้วยเงินเดือน 30,000 บาทต่อเดือน) ก็อยู่ในระดับที่สามารถชำระหนี้ได้ ไม่หนักเกินไป แต่ควรระวังไม่ไปก่อหนี้เพิ่ม สิ่งใดที่ไม่จำเป็นสำหรับการผ่อนรายเดือนควรตัดออกหรือยกเลิก เช่น บัตรเครดิต ควรยกเลิกหรือไม่ทำการชำระสินค้าด้วยบัตรเครดิตหากไม่จำเป็น
ในกรณีข้างต้นนั้น จะใช้สำหรับการประเมินภาระหนี้แบบภาพรวมเท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่ควรทราบคือภาระหนี้สินจะสามารถนำมาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือในแบบระยะยาวซึ่งมีกำหนดการผ่อนมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ซึ่งมักเป็นเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน รถยนต์ ธุรกิจ ในขณะที่หนี้สิ้นอีกประเภทหนึ่งคือหนี้สินแบบระยะสั้นที่ต้องผ่อนชำระภายใน 1 ปี คือ หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า มือถือ เป็นต้น
ดังนั้นการบริหารหนี้จะต้องมีความรอบคอบและรู้ความสามารถของตนเองว่าสามารถชำระได้หรือไม่ก่อนที่จะตัดสินใจก่อหนี้ อย่าประเมินแค่ระยะเวลาสั้นๆ แต่ให้มองในระยะยาว หากมีภาระที่เพิ่มขึ้น หรือสภาพเศรษฐกิจที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง