1. เปิดเส้นทางใหม่ หรือทำการหาลูกค้าใหม่
เพราะการที่มีลูกค้ามากขึ้นเหมือนเป็นการสร้างฐานพีระมิดให้มั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้นเราต้องตีตลาดในกลุ่มลูกค้าใหม่ๆเราควรเริ่มหาลูกค้ารายใหม่ๆ ให้กับบริษัท ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในสภาวะ เศรษฐกิจขาลง แต่ก็เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเหมือนกันในสภาวะนี้ โดยอาจจัดตั้งทีมขึ้นมาสักหนึ่งทีมทำหน้าที่เสมือนกับพนักงานขายในห้างสรรพสินค้าแต่มีอะไรที่เหนือมากกว่าพนักงานขายทั่วไป ทำหน้าที่ค้นหาและสร้างลูกค้ารายใหม่ขึ้นมา ซึ่งการได้ลูกค้ารายใหม่เข้ามาจะทำให้สามารถกำหนดและสร้างตลาดในกลุ่มใหม่ๆ ได้อีกด้วยอีกทั้งยังเป็นผลดีกับทางบริษัทเป็นอย่างมาก เพราะการที่บริษัทมีลูกค้าใหม่เข้าเพิ่มมากขึ้นก็เปรียบเสมือนกับการขยายฐานพีระมิดที่จะช่วยสร้างความมั่นคงให้กับทางบริษัท สิ่งที่สำคัญเลยนะคะที่คุณต้องทำในยุคที่เกิดสภาวะทาง เศรษฐกิจขาลง คือการหาลูกค้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเองค่ะ ก็จะเป็นการเพิ่มอัตราการอยู่รอดของบริษัทอีกด้วยนั่นเองค่ะ
2. การจัดการการเงิน
การควบคุมการเงินและการตั้งเป้าหมายทางการเงินให้เป็นไปตามรูปแบบที่คาดการณ์ และต้องหมั่นตรวจสอบดูแลให้อยู่ในระบบอย่างเคร่งครัดเลยนั่นเองค่ะ ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเงินจะเป็นสิ่งที่หายากมาก ดังนั้นการจัดการควบคุมการใช้จ่ายเงินในบริษัทต้องทำอย่างรัดกุมและคุ้มค่าต่อเม็ดเงินมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในบริษัทที่จะต้องดูแลจัดการให้ดีมากขึ้นเป็นพิเศษ ดังนั้นสิ่งทีคุณต้องทำหรือทำให้ได้เป็นอย่างยิ่งเลย คือควรรีบหาเงินมาสำรองจ่ายไปก่อนในทันที เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่อาจหยุดชะงัก ซึ่งหมายถึงรายได้ที่จะหายตามไปด้วย โดยปัญหาสำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งที่พบบ่อยมากและเป็นอุปสรรคขัดขวางในการเจริญเติบโตทางธุรกิจก็คือ การจัดการกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัทที่ไม่มีประสิทธิภาพ อันมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากลูกค้าของคุณจ่ายเงินชำระล่าช้านั่นเอง
3. การกำหนดเป้าหมายดำเนินการ
การกำหนดเป้าหมายและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเสมือนการวางแผนการล่วงหน้าอย่างคร่าวๆ ซึ่งสิ่งแรกที่ต้องทำก่อนคือกำหนดเป้าหมายปลายทางที่ต้องการจะไปถึง เช่น ถ้าเป็นการขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้าประเภทต่างๆ ก็ควรกำหนดยอดที่ควรขายให้ได้เอาไว้ล่วงหน้าให้ชัดเจนเพื่อสร้างแรงกระตุ้น อีกทั้งยังสามารถนำมาคำนวณตัวเลขรายรับทางบัญชีได้ล่วงหน้าอีกด้วย
4. ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
การค้นหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตสินค้าหรือนำมาประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ให้เกิดความเหมาะสม ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยสร้างความเจริญเติบโตก้าวหน้าให้บริษัท เพราะจะช่วยทำให้เรามีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย สามารถผลิตสินค้าได้ครั้งละมากๆ ต้นทุนการผลิตสินค้าต่อหน่วยถูกลงกว่าเดิม อีกทั้งจัดให้พนักงานของบริษัทได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรบริษัทไปในตัวอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบริษัทที่ต้องการประสบความสำเร็จ
5. ปรับปรุงการบริการลูกค้า
หลายคนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าการปรับปรุงการบริการลูกค้าไม่ใช่สิ่งสำคัญที่ควรทำในช่วงเศรษฐกิจขาลง ควรหันไปให้ความสนใจเรื่องอื่นๆ ในการประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดน่าจะดีกว่า ซึ่งถ้าคำตอบคือแค่ต้องการประคองธุรกิจให้อยู่รอด เหตุผลที่ให้มาก็คงเหมาะสมกันดี แต่ถ้าคิดจะให้ธุรกิจเจริญเติบโต ความคิดข้างต้นถือเป็นความคิดที่แย่มาก เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาลูกค้าเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงบริษัทของเราให้อยู่รอดมาโดยตลอด ยิ่งในสภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ผู้คนมักไม่อยากลงทุนและไม่ใช้สินค้าหรือบริการที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากนัก ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวยิ่งต้องทำให้บริษัทต้องเร่งปรับปรุงและดูแลเอาใจใส่ลูกค้าให้มากขึ้นกว่าเดิมอีก เพื่อเป็นการรักษาลูกค้าเดิมที่เป็นรายได้หลักเอาไว้นั่นเอง
6. ลงทุนในการฝึกอบรมพนักงาน
การพัฒนาพนักงานก็เป็นการเพิ่มศักยภาพของบริษัทอีกทางหนึ่ง การฝึกอบรมพนักงานถือเป็นการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับบริษัทอีกทางหนึ่ง เพราะพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมจะมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นที่จะนำวิชาความรู้ที่ได้มาจากการฝึกอบรมนำมาใช้ในตำแหน่งหน้าที่การงานในบริษัท ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำให้ธุรกิจของเราเติบโตต่อไปได้ ถึงแม้จะต้องเสียเงินค่าอบรมเป็นจำนวนหนึ่งก็ตาม แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ากับผลตอบรับที่ได้กลับคืนมา
7. จัดระบบการจัดการผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่าย
การค้าขายสินค้าทั่วไปนั้น ตัวแทนจำหน่ายหรือ Supplier มีอิทธิพลและอำนาจในการต่อรองค่อนข้างสูง เช่น อาจขึ้นราคาวัตถุดิบที่เราต้องการนำมาใช้ผลิตสินค้า หรือการตั้งเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าให้เรา ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการคือ พูดคุยตกลงกันในเรื่องต่างๆ ให้แต่ละฝ่ายมีผลประโยชน์ที่ไปด้วยกันได้ เพราะนอกจากตัวแทนจำหน่ายจะมีอิทธิพลต่อเราแล้ว เราเองก็มีอิทธิพลต่อตัวแทนจำหน่ายเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีเรา ตัวแทนจำหน่ายก็ไม่รู้จะขายวัตถุดิบให้ใคร หรือจะเอาสินค้าที่ไหนมาวางจำหน่ายถ้าเราไม่ส่งให้ ซึ่งบางทีตัวแทนจำหน่ายอาจช่วยเหลือเราทางด้านเทคนิคต่างๆ หรือแม้แต่กระทั่งด้านการเงินก็เป็นไปได้