เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้น ก็ต้องมีเรื่องภาษีเข้ามาพัวพันในมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆทุกคนเพื่อที่ทางรัฐจะนำเงินส่วนนี้ไปบริหารประเทศการทำถนน สิ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน มาดูกันว่าเราออมจากการหักค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว และภายในครอบครัว
1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
การยื่นแบบแสดงรายการนี้ สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ถึง 30,000 บาท ในทุกกรณีโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
2. คู่สมรส
หากคุณมี คู่สมรส ที่ไม่มีรายได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวม คุณจะได้ลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท ซึ่งเงื่อนไขมีแค่ข้อเดียว คือ “ต้องมีการจดทะเบียนสมรสกัน” เท่านั้น
3. บุตร
หากคุณมีบุตร คุณสามารถหักค่าใช้จ่ายบุตรได้ คนละ 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่า
- หักได้เฉพาะบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และบุตรบุญธรรมที่คุณเป็นคนเลี้ยงดูเท่านั้น
- หักได้ไม่เกิน 3 คน และนับเฉพาะคนที่ยังมีชีวิตอยู่บุตร ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี แต่หากอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส.ชึ้นไปหากบุตรของคุณกำลังอยู่ในประเทศสามารถหักเพิ่มได้อีกคนละ 2,000 บาท
4. บิดามารดา
ดูแลพ่อแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และท่านมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท คุณมาสามารถใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท นับรวมพ่อแม่ของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ โดยต้องออกหนังสือระบุว่า ใครเป็นผู้ดูแล คนนั้นจึงมีสิทธินำไปลดหย่อนภาษี ได้
5. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ไม่แปลกถ้าสมัยนี้ใครๆก็ทำประสุขภาพให้กับคุณพ่อ-คุณแม่ นอกจากจะได้ความคุ้มครองแล้ว หากพวกท่านมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท คุณสามารถนำค่าเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 15,000 บาท ซึ่งทางรัฐมองว่า ถ้าเราได้ทำประกันสุขภาพให้บิดามารดาแล้วจะไม่ตกเป็นภาระของรัฐบาลเลยสามารถนะเงินค่าเบี้ยมาลดหย่อนได้นั่นเอง
6. เลี้ยงดูคนพิการ หรือ ทุพพลภาพ
หากคนพิการ หรือ ผู้ทุพพลภาพที่คุณต้องดูแลนั้นมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการนัั้น คุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 60,000 บาท เลยทีเดียว
หักค่าใช้จ่ายเพื่อเข้ากองทุนต่างๆ
7. ประกันสังคม
เงินประกันสังคม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้แก่บุคคลที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน นำมาคำนวณได้สูงสุด 15,000 บาท ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณจะสามารถนำเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 9,000 บาทต่อปี
8. เงินสมทบ และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ถ้าคุณได้มีการสมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. เอาไว้ก็สามารถนำเงินส่งกองทุนมาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับภาคเอกชน หากคุณสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเอาไว้ ก็สามารถนำเงินที่ส่งเข้ากองทุนมาหักลดภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทเช่นกันครับ
หักค่าใช้จ่ายการลงทุน หรือการสร้างหลักประกันในอนาคต
9. การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF
กองทุนนี้เป็น กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF เป็นกองทุนประเภทหนึ่งที่มีการว่างแผนล่วงหน้าไว้สำหรับ เกษียณ ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนได้ร้อยละ 15 ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท
10. การลงทุนในกองทุนรวมระยะยาว หรือ LTF
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF นี้เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระยะยาว โดยจะเน้นไปที่การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นหลัก ซึ่งในกรณีนี้คุณสามารถหักภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท ก่อนลงทุนตอนนี้ก็ต้องมาดูว่าตัวไหนคุ่มกว่ากัน สามารถศึกษาข้อมูลได้ตามธนาคารต่างๆที่มีประกาศไว้เพราะทุกการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ สำหรับในส่วนของ LTF จะต้องถือครอง 5 ปี แต่จิงๆแล้วถ้ามองอีกมุมนึงเราถือครองเพียงแค่ 3 ปีปฏิทินเท่านั้นเอง การซื้อ LTF ในแต่ละครั้งจะเป็นการลดหย่อนในปีที่เราซื้อได้เท่านั้น หรือหมายความว่าซื้อในปีไหนลดหย่อนปีนั้นนั่นเอง
11. เบี้ยประกันชีวิต และ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ในกรณีคุณทำประกันชีวิตแบบทั่วไป คุณสามารถนำมาหักภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาทเฉพาะกรมธรรม์ ประกันชีวิต ที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป (กรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้จะหักได้สูงสุด 10,000 บาท) แต่หากคุณทำประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนได้ร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
12. ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่ออาคารที่อยู่อาศัย
คุณสามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้มาหักภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท รววถึงในกรณีที่มีผู้กู้ร่วมก็สามารถนำไปเฉลี่ยลดหย่อนกันได้ แต่ยอดรวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท เช่นกันครับ
นอกจากนี้หากคุณมีการสนับสนุนด้านการศึกษา คุณยังมีสิทธิหักลดหย่อนได้ถึง 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายไป แต่ไม่เกินร้อนละ 10 ของเงินคงเหลือ นอกจากนี้ การบริจาคการกุศล ต่างๆเช่น การบริจาคเงินให้วัด สภากาชาด สถานศึกษา และกองทุนสวัสดิการในส่วนราชการ คุณก็สามารถนำมาใช้ในการหักลดภาษีได้เช่นกัน อย่าทิ้งไป สามารถ ลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้ ว่ากันว่า ไปเที่ยวก็ ลดหย่อนภาษีเงินได้ ได้ สามารถติดตามรายชื่อโรงแรมในกรมสรรพากรได้เลย http://www.rd.go.th/publish