หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างว่าการเลี้ยงลูก 1 คนนั้นจะทำให้เราจนไปอีกหลายสิบปีมาบ้างแน่ๆ นั่นก็เพราะว่าเราเหมือนต้องเลี้ยงคนอีกคนหนึ่งขึ้นมา และเขาจะมีค่าใช้จ่ายที่เหมทอนกับเราทุกประการโดยที่เขาไม่สามารถสร้างรายได้ใดๆได้เลยอีกด้วย
ดังนั้นทางเดียวที่เราจะสามารถทำได้นั่นก็คือการเตรียมการไว้ก่อน ด้วยการ วางแผนการเงินครอบครัว แม้ว่าหลายๆคนจะเพิ่งมาคิดได้ตอนที่เริ่มมีลูกแล้วก็ยังไม่สาย อะไรที่เราทำได้เราก็ต้องทำ ซึ่งสิ่งที่เราต้องทำเมื่อมีลูก ได้แก่
1. เริ่มลงทุนในการสร้างหลักประกันในด้านต่างๆ
เช่น สุขภาพ และการเงินการลงทุน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิตของเราเองและผู้ที่อาศัยอยู่กับเรานั่นเอง และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้นำหรือเสาหลักของครอบครัวเท่านั้นที่ทำ แม้แต่คนอื่นๆก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่อาจจะให้น้ำหนักในการลงทุนไปที่ผู้ที่สร้างรายได้ให้ครอบครัวมากที่สุดนั่นเอง เพราะถ้าหากผู้ที่มีรายได้สูงสุดมากที่สุดเกิดอะไรขึ้นมา หากเราไม่ได้สร้างหลักประกันอะไรไว้เลย เงินเก็บที่เรามีทั้งหมดก็อาจะสร้างอันตรายทางด้านการเงินให้เราได้เช่นกัน เช่นการเอาไปรักษาตัวหมด แต่ถ้าเรามีประกันอยู่ก็จะสามารถโทรไปให้ประกันจัดการได้ตามสมควร เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสร้างหลักประกัน ก็มีความสำคัญและจำเป็นมากทีเดียวเมื่อเรามีลูก ดังนั้นอย่าลืมที่จะสร้างหลักประกันหรือทำประกันเพื่อลูกน้อยของคุณกันด้วยนะ
2. วางแผนการใช้เงินและเริ่มต้นทำตามแผน
รวมไปถึงอดออมเงินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้นั่นเอง เพราะยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีโอกาสในการแก้ไขและสร้างโอกาสให้ตัวเองมากขึ้นเท่านั้น แต่การวางแผนนั้นก็ควรวางเป้าหมายให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน เช่น จะลงทุนแบบนี้ไปจนกว่าจะได้กำไรก็% หรือขาดทุนกี่% ก่อนจะถอนทุนคืน และเมื่อเอาทุนออกมาแล้วจะเริ่มขยับขยายไปลงทุนที่ไหนอย่างไร ซึ่งเราต้องมีเตรียมไว้ในหัวก่อน และอาจจะเปลี่ยนได้ในภายหลังได้ เพียงแต่อย่าปล่อยให้หัวโล่งและไม่มีแผนสำรองเผื่อไว้เลย แต่หากใครยังไม่รู้ว่าจะเริ่มลงทุนอะไรและลงทุนอย่างไรดี การเก็บออมเงินไว้ก่อนจะเป็นช่องทางที่ดีที่สุด เพราะอย่างน้อยเงินที่เราออมไว้ก็ไม่หายไปไหนแน่นอน หากคิดได้เมื่อไหร่ว่าอยากจะลงทุนอะไรและมีแผนในการลงทุนเรียบร้อย ค่อยเริ่มลงทุนก็คงไม่สายหรอกจริงไหม
3. ลองคำนวณค่าใช้จ่ายในการศึกษาคร่าวๆก่อน
ตั้งแต่เริ่มต้นอนุบาลไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัยเลย และทางที่ดีก็ควรจะทำการลองคิดแบบบวกค่าเงินเฟ้อเข้าไปด้วย ปีละ 3-4% ซึ่งอาจจะช่วยให้การคำนวณค่าใช้จ่ายของเรานั้นใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่านั่นเอง และเลือกโรงเรียนที่มีค่าใช้จ่ายที่อยู่ในระดับที่เราสามารถจ่ายได้แบบสบายๆ รวมไปถึงปัจจัยแวดล้อมในโรงเรียนที่ดีด้วย อย่าลืมว่าเด็กจะซึมซับนิสัยของเพื่อนมาด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกให้ดี เพราะโรงเรียนที่ดีก็มีผลต่อนิสัยของลูกได้เหมือนกัน หรือใครที่มีงบประมาณไม่มาก ไม่จำเป็นต้องไปเลือกโรงเรียนเอกชน โรงเรียนรัฐนี่ล่ะค่ะ อย่างไรเขาก็สอนดีเหมือนกันแถมค่าเทอมก็ถูกอีกด้วย บางทีโรงเรียนเอกชนบางแห่งก็เอาแต่เงินเหมือนกันนะ การเรียนการสอนอาจจะแย่กว่าโรงเรียนรัฐเสียอีก
4. แบ่งการเก็บออมเงิน
อย่างที่บอกไปในข้อที่แล้วว่าเงินนั้นมักจะเรื่องค่าเงินเฟ้อเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นให้แบ่งการออมเงินเป็นช่วงๆ ซึ่งแบ่งช่วงได้ตามปริมาณการเงินที่ต้องใช้นั่นคือ ช่วงอนุบาล ช่วงประถมศึกษา ช่วงมัธยมศึกษา และช่วงมหาวิยาลัย ซึ่งแต่ละช่วงนั้นมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นเรื่อยๆตามสภาพการเรียนและสังคมของเด็กนั่นเอง ดังนั้นให้วางแผนการเงินให้ดีขึ้นทุกครั้งก่อนที่จะเปลี่ยนช่วงนั่นเอง แต่ถ้าให้ดีก่อนมีลูกควรวางแผนตรงนี้ไว้ก่อน เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาเมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ นั่นเอง
5. พิจารณาการลงทุนในเชิงรุกให้มากขึ้น
จากข้อ 4 จะเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นเรื่อยๆ และค่าเงินเฟ้อที่ก็เพิ่มมากขึ้นทุกปีตามไป ทำให้เราต้องเพิ่มการทำงานเพื่อสร้างเงินมากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่าลืมว่าร่างกายของเราก็ยังมีขีดจำกัดอยู่ ดังนั้นอย่าทำงานมากเกินความจำเป็น แต่ให้เอาเงินเก็บที่มีอยู่นั้นไปลงทุนในสิ่งที่มันสร้างเงินให้เราได้ด้วยตัวมันเอง และทางที่ดีที่สุดควรลองคำนวณผลตอบแทนของการลงทุนประเภทนั้นดูก่อน เพื่อดูว่าสุดท้ายแล้วผลตอบแทนที่ได้นั้นสามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้หรือไม่นั่นเอง ถ้าหากว่าได้ก็ลงทุนได้เลย แต่อย่าลืมศึกษาความเสี่ยงในการลงทุนให้ดีด้วยเช่นกัน
เมื่อคิดอยากจะมีลูกสักคน อย่าลืมที่จะ วางแผนการเงินครอบครัว จะดีที่สุดค่ะ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดปัญหาการเงินตามมาอีกด้วย และที่สำคัญเมื่อมีลูกแล้วก็ควรจัดการกับการเงินของตัวเองให้ดี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกและอนาคตการเรียนของลูกได้นั่นเอง