การ วางแผนทางการเงิน เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณได้มีความเตรียมความพร้อมและจะนำชีวิตไปสู่ความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งการวางแผนทางการเงิน ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการปลูกฝังนิสัยในขั้นพื้นฐานก็คือ การออมและการใช้เงินอย่างสมเหตุผล เพราะการวางแผนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน หรือเรื่องอื่นๆ หากได้รู้ว่าตัวเองจะต้องใช้จ่ายในเรื่องใดๆแล้ว ก็จะสามารถแบ่งสันปันส่วนเงินที่จะใช้ รวมถึงเงินที่จะเก็บเอาไว้ เพื่อให้สามารถใช้เงินอย่างมีสติ และมีเงินเก็บต่อไป
หลักเริ่มต้นการวางแผนทางการเงิน
การวางแผนทางการเงิน หากรู้จักอดออมเงินตั้งแต่ในวัยเด็ก จะถือได้ว่าเป็นการบ่มนิสัยและหัดให้เด็กๆ รู้จักออมเงิน เป็นการเพาะวินัยทางการเงินไว้ก่อน และเมื่อเข้าสู่วัยทำงานก็จำเป็นจะต้องรู้วิธีการวางแผนการจัดสรรรายได้ เพื่อให้เพียงพอกับการออมเงินตามเป้าหมาย รวมถึงการใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และเมื่อมีครอบครัว ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลทั้งตนเองและคนในครอบครัว ซึ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดความรับผิดชอบและมีภาระทางการเงินยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งหากรู้จักวางแผนและอดออมตั้งแต่เด็กๆ จะทำให้รู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
การออมการเงินหลังเกษียณอายุ
การรู้จักออมเงินตั้งแต่เด็กยันแก่ จะช่วยส่งผลทำให้คุณมีเงินเก็บแบบค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ ซึ่งหายิ่งใช้จ่ายอย่างประหยัดจะยิ่งมีผลทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นในแต่ละปี การวางแผนทางการเงินมีความสำคัญมากขึ้น แม้กระทั่งเมื่อเกษียณอายุ คุณเองก็ยังต้อง วางแผนทางการเงิน เพราะถือว่าเป็นวัยที่มีรายได้ลดลง แต่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ยังคงอยู่ หรืออาจจะขึ้นเพราะมีการเพิ่มการรักษาค่าพยาบาล ซึ่งหากไม่มีการวางแผนที่ดีก็อาจเกิดปัญหาได้ คุณสามารถทดลองทำแบบแบบการประเมินความรอบรู้ในเรื่องสถานะทางการเงินเพื่อทดสอบดูว่า ปัจจุบันคุณเองมีความมั่นคงทางการเงินมากน้อยแค่ไหน และมีทักษะการจัดการเงินส่วนตัวอย่างไร บวกกับความรู้พื้นฐานด้านการเงินเพียงพอหรือไม่ เหล่านี้จะสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนทางการเงินต่อไปได้
ขั้นตอนการวางแผนทางการเงิน
การประเมินฐานะการเงิน คือสิ่งที่สะท้อนฐานะทางการเงินอย่างแท้จริงของแต่ละบุคคล แต่ไม่ใช่สินทรัพย์ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นความมั่งคั่งสุทธิ โดยสามารถประเมินจากการจัดทำบัญชีสินทรัพย์ หรือการจดบันทึกรับรายจ่ายประจำวัน ในแต่ละเดือน รวมถึงหนี้สินซึ่งนำมาคำนวณ เหล่านี้จะช่วยให้เราเห็นพฤติกรรมทางการเงิน ที่ตัวเองได้ใช้จ่ายไป อย่างชัดเจนขึ้น เพราะทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละรายการนั้น จะถูกแจกแจงและแยกออกมา ซึ่งจะทำให้คุณเห็นได้ว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดสูงเกินไป หรือสิ่งไหนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องซื้ออีกต่อไป และสามารถตัดออกได้หรือไม่ รวมทั้งจะทำให้ทราบว่ารายได้ทางใดได้น้อยเกินไป หรือสามารถหาทางเพิ่มเป็นมูลค่าได้อีก ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถเข้ามาช่วยให้คุณสามารถ วางแผนทางการเงิน ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
ตั้งเป้าหมายการเงินอย่างชัดเจน
การที่จะอดออม หรือทำอะไรสักอย่างที่เกี่ยวกับระบบทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน หรือการเก็บเงิน เพื่อการออม ก็ควรจะมีการตั้งเป้าหมายและกำหนดเวลาที่คุณเองจะต้องพิชิตเป้าหมายให้ได้อย่างชัดเจน รวมถึงมีการจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความสามารถทางการเงินที่อยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เพราะการเงินในแต่ละช่วงที่ได้รับ เชื่อว่าอาจจะไม่เหมือนกันสักเท่าใดนัก การที่คุณได้ตั้งเป้าหมายหรือกำหนดแผนการว่า อยากจะทำอะไร อยากจะลงทุนอะไร อยากจะซื้ออะไร การตั้งเป้าหมายต่างๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดัน เพื่อที่จะทำให้คุณมีแรงฮึดที่จะสู้และตั้งมั่นทำให้สำเร็จ
การจัดสรรระบบการเงิน
หากในขณะนี้คุณเองเป็นคนที่มีรายได้น้อยหรือ มีภาระทางการเงินมาก ก็สามารถเลื่อนเป้าหมายที่ไม่สำคัญออกไปก่อน เพื่อที่จะทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมายที่สำคัญๆ อย่างเร่งด่วนก่อน และควรนำสิ่งที่จำเป็นต้องมี มากำหนดเป็นเป้าหมายก่อน ว่ายั่นคือ สิ่งที่คุณอยากได้มากเป็นอันดับต้นๆ โดยเป้าหมายที่ดี จะต้องเป็นไปตามหลัก คือจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ตามที่วางเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนทางการเงิน ซึ่งควรมีการจัดทำแผนการบริหารการเงินและทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่ว่าคุณจะใช้จ่ายเงินอย่างไร หรือหารายได้เพิ่มเติมจากแหล่งไหน หรือการนำเงินไปลงทุนอย่างไรเพื่อที่จะทำให้ได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ หากมีการจัดทำแผนการบริหาร ก็จะทำให้คุณได้ทราบถึงรายรับหรือรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยต้องจัดสรรระยะเวลาของแผน เพื่อให้เกิดสัมพันธ์กับรายได้และภาระทางการเงิน และให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ จะได้ไม่ทำให้กดดันตัวเองจนเกินไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดของ การวางแผนทางการเงิน ก็คือ ความมุ่งมั่นและมีวินัยในการออมเงิน เพราะหากขาดการปฏิบัติที่จริงจังอย่างต่อเนื่อง ก็ยากที่จะบรรลุเป้าหมายได้ ทั้งนี้จะต้องคอยตรวจสอบและปรับแผนตามสถานการณ์สภาพทางการเงิน และควรหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน ว่าสิ่งที่คุณทำทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ หรือไม่ และหากไม่ก็ต้องรีบหาสาเหตุว่า เกิดจากตัวคุณเองหรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่ จะเป็นตัวทำให้ไม่เป็นไปตามแผน จากนั้นจึงค่อยปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้คุณเองได้เกิดวินัยทางการเงินและมีความมั่นคงทางการเงินต่อๆไป