สินเชื่อ นั้นมีหลายหลายประเภท ซึ่งในการทำสินเชื่อในแต่ละครั้งนั้นต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน หลายวันกันเลยทีเดียว คงจะเป็นที่สงสัยกันไม่น้อยเลยใช่มั้ยล่ะคะว่าขั้นตอนในการดำเนินการสินเชื่อนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพราะเวลาที่เราได้ขอทำสินเชื่อกับสถาบันการเงินต่างๆ จึงมีระยะเวลาในการตรวจสอบที่ยาวนานและมีขั้นตอนที่ซับซ้อนเป็นอย่างมากนั่นเองค่ะ เพราะจากที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การให้สินเชื่อนั้นเป็นธุรกิจ ซึ่งจะต้องขายความเสี่ยงเป็นหลัก เป็นการประกันความเสี่ยงในอนาคต ไม่มีใครยืนยันได้ว่า สินเชื่อ ที่ปล่อยไปนั้น จะได้รับการชำระคืนโดยครบถ้วน ฉะนั้น การอำนวยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ภาระหนี้เสียในอนาคต อยู่ในระดับที่พอยอมรับได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีพอยอมรับได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้
การกำหนดนโยบายสินเชื่อ
นโยบายทางสินเชื่อนั้นกำหนดโดยผู้บริหารของสถาบันการเงิน เพื่อกำหนดเป้าหมายให้แก่ผู้ปฏิบัติเช่นในปีนี้จะขยายตัวทางด้านสินเชื่อวงเงินเท่าไหร่ อัตราตอบแทนเป็นอย่างไร และจะปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดบ้าง ซึ่งนโยบายสินเชื่ออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามผลการประกอบการของสถาบันการเงินนั้น ๆ เอง การกำหนดนโยบายสินเชื่อ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก 3 ข้อ คือ
1. การบริการกำไร
ในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินก็เช่นเดียวกับธุรกิจโดยทั่วไป ที่มีผู้ถือหุ้น ซึ่งได้นำเงินมาลงทุนโดยหวังผลตอบแทนคือ เงินปันผล ฉะนั้น ผู้บริการจำเป็นที่จะต้องตั้งเป้าหมายในการทำกำไร เป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานรายได้ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินมีรายได้หลักที่สำคัญ ดังนี้
– ดอกเบี้ย (INTERRST)
– ค่าธรรมเนียม (FEE)
– รายได้จากการขายหลักทรัพย์
– รายได้จากการปริวรรตเงินตรา
– รายได้จากการลงทุน
2. การบริหารสภาพคล่อง
ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความไว้วางใจของผู้ฝากเงิน ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ผู้ฝากต้องการถอนเงิน จะต้องได้รับเงินโดยไม่มีเงื่อนไข ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อนั้น ไม่สามารถได้รับการชำระเงินคืนจากลูกค้าได้ทันที สถาบันการเงินจึงต้องบริหารสภาพคล่อง ให้อยู่ในระดับที่ดีตลอดเวลา และในขณะเดียวกัน การดำรงเงินไว้ก็เป็นภาระที่สถาบันการเงิน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากซึ่งหากไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้ ก็จะทำให้ขาดรายได้ไป ดังนั้น จึงต้องคำนึงถึงการจัดหาแหล่งเงินให้ได้สัดส่วนกับสินเชื่อที่จะปล่อย หาแหล่งเงินสำรองในกรณีฉุกเฉิน ในกรณีนี้ เป็นการปล่อยสินเชื่อวงเงินจำนวนมาก มีระยะเวลาการชำระเงินต้นระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวมาใช้เพิ่ม เพื่อให้ได้สัดส่วนกัน การบริหารเงิน จึงเป็นความสามารถอันหนึ่งของสถาบันการเงิน เพราะถ้ามีการจัดการที่ดี จะทำให้ได้ผลกำไรมาก
MATURITY DISTRIBUTION เป็นการจัดสินเชื่อตามระยะเวลาการชำระเงินต้นที่เหมาะสม คือ มีทั้งสินเชื่อระยะยาว ระยะปานกลาง และระยะสั้น ทั้งนี้ควรมีสินเชื่อที่สามารถเรียกชำระเงินต้นคืนได้ทุกขณะด้วย เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องที่มีมากเกินไป
3. การบริหารความเสี่ยง
ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการบริการความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญ ฉะนั้นถ้าสามารถลดความเสี่ยงลงได้มากเท่าไร ก็จะมีสถานะมั่นคงมากเท่านั้น และควรคำนึงถึงด้วยว่า ถ้าเสี่ยงมาก ควรได้รับผลตอบแทนมาก ถ้าเสี่ยงน้อย ผลตอบแทนน้อย ก็ไม่เป็นไร การบริหารความเสี่ยง มีประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือ
การบริหารสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูง สินเชื่อที่ธนาคารปล่อยก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ด้วย ฉะนั้น การปล่อยสินเชื่อที่ดี ก็จะสามารถลดความเสี่ยงได้ ดังที่เรียกว่า GOOD QUANLITY OF ASSET
การกระจายสัดส่วนสินเชื่อใน PORTFOLIO ไปตามประเภทของธุรกิจต่าง ๆ ไม่ควรปล่อยสินเชื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป หากธุรกิจนั้น ๆ มีปัญหา ผลกระทบก็จะรุนแรงตามไปด้วย เรียกกันว่า INDUSTRIAL DISTRIBUTION
การวิเคราะห์สินเชื่อ
การวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบจะช่วยให้ลดจำนวนหนี้ที่มีปัญหาไปได้มาก ฉะนั้นความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กร ควรมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดหนี้ที่มีปัญหาขึ้น ผลการวิเคราะห์มักพบเสมอว่า หลายกรณีเกิดจากการที่อนุมัติวงเงินสินเชื่อบกพร่อง ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้
– ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ใช้
– การขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้
– ความสามารถในการชำระหนี้คืนผิดพลาด
– ระยะเวลาชำระคืนไม่เหมาะสม
– ขาดเงื่อนไขในการใช้วงเงิน
– ขาดการควบคุมการในตัววงเงิน
– ให้วงเงินสินเชื่อมากหรือน้อยเกินไป
พิธีการทางด้านสินเชื่อ
จำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น อาจทำให้ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย ควรดูเงื่อนไขและข้อตกลงในการอนุมัติวงเงินสินเชื่ออย่างละเอียดรอบคอบ และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น โดยคำนึงถึงปัญหาทางด้านกฎหมายเป็นหลักในการดำเนินการ หากมีเงื่อนไขที่อาจจะเป็นปัญหาทางด้านกฎหมาย ต้องสอบถามทางฝ่ายกฎหมายโดยด่วน และจะพบว่า หากมีความบกพร่องทางด้านนี้ เมื่อเจรจาหนี้กับลูกค้า จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และทำให้การแก้ไขหนี้ยากขึ้นมาก
การสอบทานสินเชื่อ
เป็นการติดตามผลการใช้วงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติจากทางธนาคาร ควรกระทำการสอบทานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อที่จะได้ทราบว่า ลูกค้าได้ปฎิบัติตรงตามข้อตกลงหรือไม่ สถานะภาพของลูกค้าเป็นอย่างไร หากลูกค้ามีปัญหาอย่างใด ก็จะเป็นสัญญาณเตือนภัย (WARNING SIGN) ให้ทราบว่า ถึงเวลาที่จะเพิ่มสินเชื่อให้กับลูกค้าแล้ว ก็จะทำให้สามารถรักษาลูกค้าที่ดีไว้กับธนาคารได้ต่อไป