การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น โดยหลักแล้วมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน ซึ่งเหมือนกันทุกธนาคาร คือ
การเลือกธนาคารให้เหมาะสม
การเตรียมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย
การยื่นเอกสาร และรอผลการอนุมัติ
ซึ่งหากพิจารณาให้ดีแล้ว การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น มีจุดสำคัญอยู่ที่การเลือกธนาคารให้เหมาะสมนั่นเอง
หลักในการเลือกธนาคารให้เหมาะสมเพื่อทำการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น เราจะต้องพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกำหนดไว้เป็นหลัก โดยเลือกธนาคารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด ทั้งดอกเบี้ยในช่วงโปรโมชั่นและดอกเบี้ยเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา
โดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น จะอ้างอิงเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ที่สูงกว่าหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ หรือ Minimum Retail Rate (MRR) เช่น ในปัจจุบันอยู่ MRR จะอยู่ที่ 6.6% ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยของ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งระบุว่า MRR -2.1% นั่นหมายความว่า อัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะอยู่ที่ราว 4.5% นั่นเอง
อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ หรือ Minimum Retail Rate (MRR) คืออะไร
อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ หรือ Minimum Retail Rate (MRR) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต่างๆใช้อ้างอิง ก่อนที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย และดอกเบี้ยอื่นๆ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวคิดจากต้นทุนในการบริหารงานของธนาคารในการให้สินเชื่อ โดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแต่ละธนาคารจะไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้นี้ยังได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่างๆ ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วย
ประเภทของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย
ประเภทของอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อัตราดอกเบี้ยคงที่ และ อัตราดอกเบี้ยผันแปร โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร หรือที่เราเรียกว่า อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวนั่นเอง
สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ใช้อัตราดอกเบี้ยผันแปร คือ สินเชื่อในระยะยาว ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ในอนาคต ตรงกันข้ามกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาของสินเชื่อ ซึ่งธนาคารจะแสดงดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่ใช้อัตราดอกเบี้ยผันแปรในรูปของ MRR – x % นั่นเอง
อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยคำนวณอย่างไร
ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระของสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือเงินต้น และอัตราดอกเบี้ยจะถูกคำนวณ และเรียกเก็บรวมกับเงินต้นเป็นรายเดือน
ตัวอย่าง
ผู้ขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้ทำการขอสินเชื่อเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท โดยทางธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยผันแปร MRR -2.1% และ MRR อยู่ที่ 6.6% นั่นคือ อัตราดอกเบี้ยผันแปร 4.5 %
ค่าใช้จ่ายที่ผู้ขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย ต้องผ่อนชำระกับธนาคารในเดือนแรก
คือ เงินต้นบางส่วน รวมกับดอกเบี้ยผันแปรที่เรียกเก็บโดยธนาคาร และ ดอกเบี้ยผันแปร = วงเงินที่ทำการขอสินเชื่อ x (อัตราดอกเบี้ยผันแปร / 12 เดือน) เท่ากับ 5,000,000 บาท x (4.5 %/ 12) = 18,750 บาท
ซึ่งเงินที่เราต้องจ่ายก็คือ เงินต้นบางส่วนตามเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารที่กำหนดให้ชำระ + 18,750 บาทนั่นเอง ถ้าหากเราผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยแต่ละเดือน 30,000 บาท นั่นหมายความว่าในเดือนแรกนั้น มีการผ่อนชำระ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ในส่วนของเงินต้นไป = 30,000 – 18,750 = 11,250 บาทนั่นเอง
ค่าใช้จ่ายที่ทางผู้ขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต้องชำระแก่ธนาคารในเดือนที่สอง
คือ เงินต้นบางส่วนตามเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารที่กำหนดให้ชำระ รวมกับดอกเบี้ยผันแปรที่เรียกเก็บโดยธนาคาร ซึ่งในตอนนี้เงินต้นจะเหลืออยู่เท่ากับเงินที่ทำการขอสอยเชื่อที่อยู่อาศัย หักด้วยเงินต้นที่ได้ชำระไปแล้ว = 5,000,000 – 11,250 = 4,988,750 บาทนั่นเอง และดอกเบี้ยผันแปร = วงเงินที่ทำการขอสินเชื่อ x (อัตราดอกเบี้ยผันแปร / 12 เดือน) เท่ากับ 4,988,750 บาท x (4.5 %/ 12) = 18,710 บาทนั่นเอง ซึ่งถ้าหากเราผ่อนชำระสินเชื่อที่อยู่อาศัยแต่ละเดือน 30,000 บาท นั่นหมายความว่าในเดือนที่สองนั้น มีการผ่อนชำระ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ในส่วนของเงินต้นไป = 30,000 – 18,710 = 11,290 บาท
นั่นจะทำให้เหลือเงินต้นที่ต้องชำระอีก = 4,988,750 – 11,290 = 4,977,460 บาท ซึ่งจะถูกนำไปคิดในส่วนของดอกเบี้ยในงวดถัดไปต่อไปนั่นเอง
อย่างไรก็ตามการชำระเงินในลักษณะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยนั้น จะเป็นดอกเบี้ยผันแปร ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงได้เมื่อธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่หรืออัตราดอกเบี้ยของ สินเชื่อที่อยู่อาศัย เดิมนั้นครบกำหนดตามโปรโมชั่นแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเงินต้นที่เหลืออยู่จากการชำระด้วยเช่นกัน ดังนั้นผู้ขอ สินเชื่อที่อยู่อาศัย บางคนจะเริ่มชำระเงินของสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้นหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยของ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ปรับเพิ่มขึ้น เพื่อลดช่วงเวลาที่จะเสียดอกเบี้ยลงนั่นเอง