จากที่เคยพูดถึงประเภทของสินเชื่อไปก่อนหน้านั้น มีหลายคนยังสงสัยว่าการขอสินเชื่อนั้นจำเป็นที่จะต้องมีหลักทรัพย์เพื่อทำการขอสินเชื่อ ในความเป็นจริงแล้วนั้น การขอสินเชื่อนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ การขอสินเชื่อแบบคํ้าประกัน และ การขอสินเชื่อแบบไม่คํ้าประกัน
สินเชื่อแบบคํ้าประกันกับไม่คํ้าประกันต่างกันอย่างไร ?
สินเชื่อแบบคํ้าประกัน คือ การขอสินเชื่อที่ต้องมีหลักทรัพย์วางเพื่อที่สถาบันการเงินจะสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ขอ โดยที่ หากผู้ขอสินเชื่อทำผิดสัญญาหรือไม่ทำการชำระค่าวงด ทางสถาบันการเงินก็สามารถที่จะยึดหลักทรัพย์ที่นำมาวางคํ้าประกันได้ โดยสินเชื่อที่จะต้องวางคํ้าประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเพื่อธุรกิจ หรือ สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่ออื่นๆที่ทางสถาบันการเงินพิจารณาแล้วว่าผู้ขอควรจะวางหลักทรัพย์เพื่อคํ้าประกัน
สินเชื่อไม่ต้องคํ้าประกัน คือ การขอสินเชื่อที่ไม่ต้องนำหลักทรัพย์ไปวางเพื่อคํ้าประกัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสินเชื่อที่มีจำนวนเงินที่ไม่สูง เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น แต่หากผู้ขอสินเชื่อประเภทนี้ทำผิดสัญญาที่ระบุไว้ในเงื่อนไข ก็จะต้องชำระอัตราดอกเบี้ยตามที่สถาบันการเงินได้กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ยจากการผิดชำระค่าบัตรเครดิต ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 20% ต่อปี
ดังนั้น การขอสินเชื่อประเภทต่างๆนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีหลักทรัพย์เพื่อฝากคํ้าประกัน แต่ผู้ขอสินเชื่ออาจจะต้องมีเงินสดวางคํ้าประกันแทนก็สามารถที่จะทำได้ เช่น ผู้ที่ขอสินเชื่อบัตรเครดิต แต่ไม่มีเอกสารรายได้ ก็สามารถที่จะนำเงินสดไปฝากคํ้าประกันกับทางสถาบันการเงิน เพื่อขออนุมัติบัตรเคริต ไม่มีเงื่อนไขที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับทางสถาบันการเงินที่จะทำการพิจารณาศักยภาพในการผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อ