คุณทราบหรือไม่คะว่าการออมเป็นสิ่งที่ดี และเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้โดยที่ไม่ต้องมีการลงทุนหรือการลงแรงอะไรเลย
ปัญหาการออมเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของประเทศ เพราะต่อไปคนไทยจำนวนมากจะมีอายุยืนจนถึงประมาณ 80-90 ปี อย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายก็คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ยังเก็บออมไม่เพียงพอ บางคนยังไม่ได้แม้แต่เริ่มออม บางคนไม่รู้จะทำอย่างไร และถึงกับบอกว่าจะทำงานจนกว่าจะหมดแรงในส่วนนี้ ทางการคงเข้าไปช่วยได้อีกไม่มาก จากปัจจุบันก็พยายามช่วยอยู่บางส่วน ผ่านเบี้ยยังชีพ 500 บาท/เดือน กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (หรือให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กรมธรรม์ประกันชีวิต LTF RMF) รวมไปถึงกองทุนการ ออมทรัพย์ กองใหม่ที่รัฐบาลกำลังจะจัดตั้งขึ้นมาสิ่งที่ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาหนัก แก้ไม่ตก ก็เพราะรายได้ภาษีที่รัฐบาลมีอยู่ในปัจจุบัน มีไม่มาก มีจำกัดจำเขี่ย ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายลงทุนในแต่ละปีอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ รัฐคงไม่สามารถมือเติบ ให้สวัสดิการเลี้ยงดูประชากรที่สูงอายุได้ เช่นที่เป็นอยู่ในสหรัฐ หรือ ยุโรปซ้ำร้าย เสาหลักที่ผู้สูงอายุไทยพึ่งพาเป็นสำคัญในอดีต คือ สถาบันครอบครัว ก็เริ่มอ่อนแอลง แต่ก่อนแต่ละครอบครัวมีลูกพอสมควร 3-4 คน ที่พอจะพึ่งพาได้บ้างในยามชรา ก็ปัจจุบันกลับมาเหลือเพียงครอบครัวละ 1-2 คนที่จะต้องมารับภาระดูแลทั้งปู่ย่าตายาย บางคน 1 คนต้องดูแลเลี้ยงดูคนชรา 2-3 คน ซึ่งเป็นภาระหนักมาก
ทางแก้แก่ผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้มีอยู่ทางเดียว ก็คือ ประชาชนแต่ละคนต้องรู้จักออมเงินเอง (ประเภท ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน)
โดยออมผ่านธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ และสถาบันการเงินต่างๆ หรือ ผ่านช่องทางการ ออมทรัพย์ การลงทุนต่างๆสำหรับในเรื่องนี้ ประชาชนในกรุงเทพ และหัวเมืองใหญ่ ซึ่งสามารถเข้าถึงสถาบันการเงินหลักของประเทศ การออมสำหรับอนาคตของตนเองก็เป็นไปได้ไม่ยาก มีการออมเกิดขึ้น แม้จะออมไม่มากนักแต่ประชาชนในชนบท ปัญหาการออมเป็นปัญหาใหญ่ นอกจากไม่มีจะออมแล้ว คือ รายจ่ายสูงกว่ารายได้ในแต่ละเดือน ยังมีปัญหาเรื่องการเข้าไม่ถึงสถาบันการเงิน ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของทางการ ทั้งในส่วนของออมสิน และ ธกส.ส่วนหนึ่งที่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้เข้าไม่ถึง ก็คือ ระยะทาง คือไกลจนไม่คุ้มที่จะไป
ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพอย่างชัดเจนนะคะ โดยมีดังนี้ค่ะ คนในชนบทที่พอจะมีเงินฝาก โดยมากก็จะมีเงินประมาณ 1000 บาทต่อบัญชี ดอกเบี้ยปีหนึ่งก็คงได้ประมาณ 10-50 บาทโดยเฉลี่ย (แล้วแต่ดอกเบี้ย)แต่การเดินทางไปฝากถอนเงินแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่าย เป็นเงินนับ 20-30 บาท ปีหนึ่งได้ 3-4 ครั้ง ค่าเดินทางก็จะกินดอกเบี้ยหมด ไม่คุ้มที่จะฝากในสถาบันการเงินเหล่านี้ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมประชาชนในชนบทจึงมีปัญหาในการออม ทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนจำนวน 20 กว่าล้านคนของประเทศที่อยู่ในชนบท
แต่ไม่ต้องเป็นกังวลเลยนะคะเพราะเรามีทางออกให้แก่คุณอย่างแน่นอนค่ะ สำหรับทางออกนั่นคือ การให้ประชาชนเหล่านี้ ฝากเงินกับองค์กรทางการเงินชุมชน ที่ใกล้บ้าน ไม่ต้องเดินทางไกลๆ เช่น กองทุนสัจจะ ออมทรัพย์ หรือธนาคารหมู่บ้านที่มีอยู่ทั่วไปในชนบท ตรงนี้ทางการต้องพิจารณาโดยละเอียดว่าจะมีนโยบายช่วยสนับสนุนอย่างไร ให้เกิดองค์กรการออมในชุมชน เพื่อให้การเก็บออมเกิดขึ้น เป็นทั้งแหล่งการออมและแหล่งการกู้ยืม ที่ช่วยให้ดอกเบี้ยไม่ตกไปสู่เจ้าหนี้หน้าเลือดนอกระบบที่คิดดอกเบี้ยแพงหูฉี่ แต่จะเป็นดอกผลให้กับชุมชน กับสมาชิก และสามารถช่วยเป็นสวัสดิการให้กับชุมชนอีกด้วยนะคะ
ทางออกเหล่านี้เป็นทางที่จัดได้ว่าเมื่อปฎิบัติตามแล้วเกิดประโยชน์และแนวทางแก้ไขได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียวนะคะ จากที่ทราบกันดีนะคะว่าเราทุกคนนั้นควรจะออมเงินไว้เพื่อเป็นเงินที่จะใช้จ่ายในยามที่จำเป็น การลงทุนต่างๆหรือการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนั่นเองค่ะ เพราะคำว่าเหตุการณ์เหล่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไม่คาดคิดเลยและเมื่ออยู่ในสถานการณ์เช่นนั้นจริง เมื่อคุณทำการหมุนเงินไม่ทัน หรือไม่สามารถที่จะกู้หรือทำการยืมจากสถาบันการเงินแห่งไหนได้ คุณจะได้มีเงินสำรองที่เกิดจากการออมของคุณมาใช้หรือชำระในส่วนนั้นได้นั่นเองค่ะ
หากไม่ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อออมได้เป็นเงินก้อนจำนวนหนึ่งก็สามารถนำไปลงทุนเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ หรือสร้างกิจการต่างๆได้อย่างที่คุณไม่ต้องทำธุรกรรมทางการเงินให้เกิดความยุ่งยาก และเป็นภาระที่ไม่รู้จักจบจักสิ้นนั่นเองค่ะ การออมนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายแค่เพียงเล็กๆน้อยๆก็สามารถเรียกการออมเหล่านี้ว่าการออมได้เช่นกันนะคะ
มันเป็นการเก็บเล็กผสมน้อย เมื่อนานวันเขข้าไปนั้นก็จะเกิดเป็นเงินก้อนที่สามารถสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คุณนั่นเองค่ะ วันนี้เรามาทำการออมเงินกันดีกว่านะคะ ถึงแม้ว่าอาจมีปัญหาหรืออุปสรรคต่อการออมมากเพียงไหน เชื่อได้เลยค่ะว่าไม่เกินกว่าการพยายามของคนเรา