เชื่อได้ว่าหลายๆคนคงไม่ชอบการจ่ายภาษีเท่าไหร่นักแต่ก็ทำเพราะมันเป็นหน้าที่ประชาชนชาวไทยพึงกระทำตามกฎหมาย แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดที่ว่าจะหักภาษีและค่าธรรมเนียมของเราในหลายๆช่องทางไปแล้วใน 1 ปีแล้วยังมาบังคับให้เราจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเต็มจำนวนที่คำนวณได้จากรายได้ล้วนๆแบบเป๊ะๆอีก โดยการเปิดช่องทางให้ประชาชนมีวิธีการในการลดหย่อนภาษีของตนเองลงจากธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ซึ่งบางคนก็สามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงมาได้จนจ่ายเป็นจำนวนเงินน้อยๆ แต่บางคนก็มีความสามารถในการ หักลดหย่อนภาษี รายได้บุคคลธรรมดาของตนลงจนถึงขั้นว่าขอคืนภาษีได้เลยทีเดียว ดังนั้นเราลองมาดูกันดีกว่าว่าเราวิธีการ หักลดหย่อนภาษี รายได้บุคคลธรรมดา ที่หลายๆคนนิยมมีวิธีอะไรบ้าง
1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
เงินภาษีส่วนนี้จะถูกหักไปโดยผู้จ่ายเงินก่อนที่เงินจะถึงมือผู้รับเงิน และผู้จ่ายเงินจะต้องให้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงินเพื่อนำมาไปลดหย่อนภาษีในภายหลังนั่นเอง เช่น ถ้าหากปลายปีเราต้องจ่ายภาษีรวม 10,000 บาทต่อปีแต่หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของเราระบุไว้ว่าเราได้จ่ายภาษีในส่วนนี้ไปแล้ว 8,000 บาทต่อปี เราก็นำภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของเราไปลบออกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เราต้องจ่าย ในกรณีนี้นั่นคือเราเหลือภาษีที่ต้องจ่ายอีก 2,000 บาทต่อปีซึ่งก็อาจจะถูกลดหย่อนได้ด้วยวิธีการอื่นๆที่จะพูดต่อไป เห็นไหมว่าการลดหย่อนภาษีดีต่อเรามากขนาดไหน ดังนั้นใครที่ได้หนังสือรับรองการหักเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ ก็อย่าเพิ่งทิ้งเพราะคิดว่าไม่สำคัญซะล่ะ เก็บไว้เมื่อถึงปลายปี มันจะจำเป็นต่อคุณมากทีเดียว อย่าลืมนะว่าหากไม่มีหลักฐาน เขาก็ไม่ลดหย่อนภาษีให้นะ
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเป็นวิธีการที่แนะนำทั้งการอดออมเพื่ออนาคตและการลดหย่อนภาษีเลยทีเดียว เพราะเงินส่วนนี้จะได้เมื่อเราถึงวัยเกษียณ ยิ่งเราสะสมมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีเงินเก็บในวัยเกษียณมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งเราก็สามารถสะสมได้ตั้งแต่ 2 -15%ของรายได้ เลยทีเดียว และเมื่อเราสะสมเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นเราก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากที่สุดถึง 500,000 บาทต่อปี* เชียวนะ โอ้! ไม่ใช่น้อยๆ เลยใช่ไหมล่ะ เผลอๆ อาจจะมากเกินพอจนไม่ต้องจ่ายภาษีเลยนะเนี่ย
3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ก็คล้ายๆกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่นกัน เราอาจจะเลือกออมเพียงอันใดอันหนึ่งก็ได้ หรืออาจจะออมทั้ง 2 กองทุนเลยก็ได้เช่นกัน โดยที่เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15%ของรายได้ และลดได้มากที่สุดถึง 500,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว* ให้ผลตอบแทนดีแบบนี้ต้องมาเข้าร่วมกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซะแล้ว
4. กองทุนระยะยาว(LTF)
มีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วจะไม่มีกองทุนระยะยาว (LTF) ได้อย่างไร ซึ่งเราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15%ของรายได้ และลดได้มากที่สุดถึง 500,000 บาทต่อปี* เช่นเดียวกันกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นั่นเอง แต่การทุนแบบนี้ก็มักจะได้ผลตอบแทนสูงเหมือนกันนะ ใครที่อยากจะเข้าร่วมกองทุนระยะยาว ก็ลองศึกษาข้อมูลกันดูละกันเนอะ
5. กรมธรรม์ประกันชีวิต
แน่นอนว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งเป็นเหมือนกองทุนระยะยาวอีกอันก็สามารถเอามาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อีกด้วย แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตที่เอามาลดหย่อนภาษีนั้นต้องมีอายุกรมธรรม์มากกว่า 10 ปีขึ้นไปเท่านั้น และสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากที่สุดถึง 100,000 บาทต่อปี ใครที่ทำประกันไว้หากครบ 10 ปีแล้วอย่าลืมนำมาลดหย่อนภาษีกันด้วยล่ะหรือใครที่ยังไม่ได้ทำประกัน อย่าพลาดโอกาสดีๆ แบบนี้ไป รีบทำประกันกันเลย เพราะไม่เพียงแต่ช่วยในการลดหย่อนภาษีได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการวางแผนอนาคตที่เราอาจยังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกด้วย ซึ่งหากมีการเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต ก็ยังมีเงินประกันเป็นค่าชดเชยให้ ซึ่งก็ไม่น้อยเลยทีเดียว
6. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีเงินคืนในระหว่างอายุกรมธรรม์ และจ่ายคืนเมื่อเราอายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้นโดยประกันชีวิตแบบบำนาญนั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15%ของรายได้ และลดได้มากที่สุดถึง 200,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าเงินส่วนที่เราเอามาลดหย่อนได้นั้นมักจะเป็นเงินที่เราต้องสะสมไว้สถานที่ใดสถานที่หนึ่งเป็นระยะเวลาหนึ่งทั้งนั้น แต่ก็มีประโยชน์กับเราทั้งนั้น แถมเอามาลดหย่อนได้ด้วยอีกต่างหาก คุ้มจริงๆ ดังนั้นจะรอช้าอยู่ทำไม ไปเตรียมวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีกันเลย หรือใครที่มีประกัน กองทุน หรือหนังสือรับรองภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอยู่แล้ว อย่าลืมนำมาลดหย่อนภาษีกันด้วยนะ สิทธิพิเศษแบบนี้พลาดไม่ได้เลยเชียว โดยเฉพาะกองทุนต่างๆ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 500,000 บาทต่อปี เวิร์คแบบนี้รอช้าไม่ได้แล้ว
หมายเหตุ * เงินจำนวนนี้จะรวมทั้งส่วนลดจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนระยะยาวแล้ว