มีจำนวนประชาการที่ไม่น้อยเลยเกิดความสงสัยในตัว เงินทุน ว่ามีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร มี่มาที่ไปอย่างไร แล้วการจัดหาเงินทุนนั่นมีลักษณะเป็นไปอย่างไร วันนี้ไม่ต้องเป็นกังวลแต่อย่างไรกันเลยนะคะ เพราะทางเราได้หาข้อมูลเพื่อเป็นการตอบคำถามเหล่านั้นได้อย่างตรงจุดตรงประเด็น เพื่อคลายความสงสัยอีกทั้งเป็นแนวความรู้ให้ผู้ที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับตัวเงินลงทุนนั่นเองค่ะ
สำหรับเงินทุนหมายถึงอะไรนั้น ? คำตอบง่ายเพียงนิดเดียวค่ะ
นั่นคือ เงินตราที่องค์การธุรกิจจัดหามา เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจาการลงทุนอย่างคุ้มค่า เงินทุนมีความสำคัญต่อธุรกิจ เพราะเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มตั้งกิจการ และระหว่างดำเนินกิจการ เงินทุนทำให้การผลิต การซื้อขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ธุรกิจขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
แล้วประเภทของเงินทุนล่ะมีกี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร
ทั้งนี้ประเภทของเงินทุนนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทนั่นคือ เงินทุนคงที่ นั่นก็คือ เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินถาวร ทรัพย์สินถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี ดังนั้น เงินทุนคงที่ องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการลงทุนซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น และ เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียนหรือใช่ในการดำเนินกิจการ ทรัพย์สินหมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่อายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งปี ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียน องค์การธุรกิจจึงนำมาใช้ในการซื้อวัตถุดิบ ซื้อสินค้า จ่ายค่าแรงงาน จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายค่าขนส่ง จ่ายค่าโฆษณา จ่ายค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น
วิธีการการจัดหาเงินทุนทำได้อย่างไร มาดูคำตอบกันดีกว่านะคะ
องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุน เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการตามระยะเวลาได้ 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ค่ะเงินทุนระยะสั้น คือเงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหา เพื่อใช้ดำเนินงาน มีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ การจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียน จ่ายเงินเดือนพนักงาน ซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตแหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้แก่
- ธนาคารพาณิชย์ การจัดหาเงินทุนระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์ขององค์การนี้ ธุรกิจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ – กรณีที่หนึ่งการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร คือ องค์การธุรกิจมีบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทกระแสรายวันเมื่อองค์การธุรกิจมีความต้องการเงินทุนระยะสั้น สามารถทำข้อตกลงกับธนาคารขอเบอกเงินมากกว่าจำนวนที่ฝากไว้ โดยธนาคารอาจขอให้ใช้หลักทรัพย์บุคคลมาค้ำประกัน และธนาคารคิดดอกบเบี้ยจากจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีเงินฝากไปใช้ – การนำสินค้นหรือใบรับสินค้าค้ำประกันการกู้ คือ องค์การธุรกิจกู้เงินจากธนาคารโดยนำสินค้นหรือสลักหลังใบรับสินค้าเป็นหลักประกันการกู้จากธนาคาร กำหนดการชำระเงินเมื่อจำหน่ายสินค้าได้
- ใช้เอกสารเครดิต คือองค์การธุรกิจใช้เอกสารเครดิตในการกู้เงินจากเจ้าหนี้เอกสารที่ใช้ในการกู้ระยะสั้นได้แก่ เช็คลงวันที่ล่วงหน้า การขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้
- สินเชื่อทางการค้า คือ องค์การธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะสั้นได้ตามประเพณีการค้า โดยการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ ได้สินค้าก่อนชำนะเงินภายหลัง หรือการรับรองตั๋วแลกเงินที่เจ้าหนี้เป็นผู้ออก
เงินทุนระยะยาว หมายถึง เงินทุนที่องค์การธุรกิจจัดหามีกำหนดระยะเวลาจ่ายคืนเกินกว่า 5 ปี
แหล่งในการจัดหาเงินทุนระยะยาว ได้แก่
- เจ้าของทุนองค์การธุรกิจ โดยการเพิ่มทุนของเจ้าขององค์การธุรกิจประเภทเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วน และการออกจำหน่ายหุ้นทุนขององค์การธุรกิจ ประเภทบริษัทจำกัด หุ้นทุนของบริษัท ได้แก่
- หุ้นสามัญ บริษัทออกหุ้นสามัญจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และได้รับเงินปันผลในกรณีบริษัทมีกำไร แต่อัตราเงินปันผลของหุ้นสามัญไม่กำหนดแน่นอน
- หุ้นบุริมสิทธิ บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิจำหน่ายให้แก่ประชาชน เพื่อนำเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมบริษัท และรับเงินปันผลเป็นอัตราแน่นอน
- ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น องค์การธุรกิจสามารถจัดหารเงินทุนระยะยาวได้โดยการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืม เช่น ที่ดิน อาคาร เป็นต้น
- จำหน่ายพันธบัตร องค์การธุรกิจสามารถจัดหาเงินทุนระยะยาวได้ โดยออกเอกสารจำหน่ายให้แก่ประชาชน ผู้ถือพันธบัตรมีสภาพเป็นเจ้าหนี้ของ องค์การธุรกิจ ผลตอบแทนที่ได้รับคือ ดอกเบี้ยที่มีอัตราแน่นอน ไม่ว่าองค์การธุรกิจจะมีกำไรหรือขาดทุน
- กู้ยืมจากรัฐบาล รัฐบาลมีนโยบายให้องค์การธุรกิจขนาดเล็กกู้ระยะยาวโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เพื่อส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจ
ทั้งนี้สิ่งที่คุณไม่ควรลืมและไม่ควรที่จะมองข้ามไปอย่างโดยสิ้นเชิงเลยนั่นก็คือ การประกอบธุรกิจทุกประเภท มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำบัญชี เพื่อประโยชน์ในการควบคุมบริหารงานของธุรกิจเอง และเพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษี
ดังนั้น การจัดทำบัญชีของธุรกิจจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน และหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ดังนี้ การประกอบธุรกิจ กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจประเภทนิติบุคคลไม่ว่าจะอยู่ระหว่างดำเนินกิจการ หรือไม่ดำเนินกิจการก็ตาม จะต้องจัดทำบัญชี ซึ่งผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำบัญชีขององค์กรธุรกิจมีดังนี้ องค์การธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและร้านค้าบุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ เจ้าของนั่นเองค่ะ