การออกในปัจจุบันนิยมทำกันในรูปแบบของการลงทุนในหุ้น LTF หรือ RMF เนื่องจากผลกำไรที่ดีและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ภาครัฐจึงเล็งเห็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่นิยมการออมจึงได้รับการยกเว้นภาษี โดยรูปแบบการออมที่ได้รับการยกเว้นภาษีที่ภาครัฐโดยสรรพภากรกำหนดนั้นประกอบด้วย
1. การออมด้วยบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ โดยดอกเบี้ยจะได้รับยกเว้นในส่วน 20,000 บาทแรกตลอดปีภาษี หากมีการฝากเกิน 20,000 บาท จะต้องนำมารวมเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ทั้งจำนวนด้วย เช่น อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ 0.87% ต่อปี ผู้มีเงินได้ไม่ควรฝากเงินไว้เกิน 2,298,850 บาท ทั้งนี้หากมีเงินฝากเกินจำนวนที่กล่าวมา จะทำให้เจ้าของบัญชีถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ในอัตรา 15% ของดอกเบี้ย)
2. การออมในรูปแบบสลากออมสิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลประเภทฝากเผื่อเรียก ดอกเบี้ยจากสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์
3. การออมแบบฝากประจำ ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยผู้ฝากจะต้องมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป เมื่อทำการรวมกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน30,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น หมายความว่าเป็นเงินฝากเพื่อบรรเทาภาษีให้กับผู้ที่สูงวัย
4. การออมแบบฝากประจำตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่เริ่มฝากเงินเป็นรายเดือน โดยมียอดเงินฝากแต่ละครั้งของการฝากในจำนวนเท่ากัน ต้องไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน และรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท รูปแบบนี้เป็นการส่งเสริมการออมรายเดือน
5. เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ไม่รวมถึงกองทุนรวมเพื่อลดหย่อนภาษี) จะได้รับยกเว้นภาษี กล่าวคือ ในฐานะบุคคลธรรมดา การลงทุนในกองทุนรวมจะได้รับยกเว้นภาษี เฉพาะส่วนต่างของราคาขายและราคาซื้อ (กำไรจากส่วนต่าง)
6. ในส่วนของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป สามารถได้รับยกเว้นเงินได้เพิ่มเติมได้อีก190,000 บาทตลอดปีภาษี เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้กับผู้สูงอายุอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน
โดยสรุปการออมที่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดนั้น ผู้มีเงินได้สามารถวางแผนภาษีจากการออมเงินในรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้นได้ ทั้งนี้ยังจะเป็นการเพิ่มผลตอบแทนจากการออมแล้ว ยังส่งเสริมให้มีวินัยในการออมอีกด้วย