หนุ่ม ๆ สาว ๆ แรกเริ่มทำงานทั้งหลาย บ้างก็เพิ่งจะมีรายได้ก้อนแรกจากการทำงานด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง ก็อาจจะเพลินไปกับการจับจ่ายซื้อของที่ตนต้องการ ถ้าเป็นสมัยก่อนที่การจะทำบัตรเครดิตสักใบ เราต้องมีรายได้ประจำมาก ๆ มีการตรวจสอบว่าคนที่สมัครนั้นจะสามารถจ่ายเงินคืนได้หรือเปล่า จะมีบัตรเครดิตสักใบก็ไม่ใช่ง่าย ๆ เลย
แต่ปัจจุบันนี้ คุณ ๆ บางคนอาจจะเบื่อหน่ายที่จะรับสายโทรศัพท์ของบรรดาผู้ออกบัตรเครดิตหลาย ๆ แห่ง ที่ต่างก็โทรเข้ามาชักชวนและนำเสนอสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้กับคุณเพื่อให้คุณ ๆ ได้ลงปากกาสมัครบัตรเครดิตกับทางเขา หากคุณเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังจะทำบัตรเครดิตสักใบ เราอยากแนะนำให้คุณลองประเมินเงื่อนไขและกติกาการ ใช้บัตรเครดิต ให้ดีก่อน เพราะบัตรเครดิตแผ่นบาง ๆ นั้น พกพาสะดวก รูดใช้จ่ายง่ายด้วยวงเงินที่มากกว่าเงินสดในกระเป๋าของคุณ ดังนั้นคุณเท่านั้นที่เป็นผู้คุมเกมนี้ คุณจึงจำเป็นต้อง ใช้บัตรเครดิต ให้ถูกทาง ให้บัตรเครดิตเป็นผู้ช่วย แต่ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ของคุณในอนาคตค่ะ
กติกาข้อที่ 1
ก็คือ คุณต้องท่องให้ขึ้นใจว่า ดอกเบี้ยบัตรเครดิตนั้นสูงมากถึง 20% ต่อปี ในขณะที่ดอกเบี้ยเงินฝากวิ่งกันอยู่ที่ 1.5% และ อัตราการปรับเงินเดือนก็ไม่น่าจะเกิน 3% ต่อปี รู้อย่างนี้แล้ว ทุกครั้งที่จะรูดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต้องใช้เมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และ ต้องประเมินด้วยว่ากำลังของคุณสามารถจ่ายชำระยอดทั้งหมดได้ในครั้งเดียว และ ต้องมีวินัยคือชำระตรงเวลาไม่ผิดนัดเด็ดขาด เพราะดอกเบี้ยจะฉายแววเบ่งบานให้สะเทือนใจแน่ ๆ ค่ะ ถ้าคุณจ่ายช้าไปแค่วันเดียวเท่านั้น
กติกาข้อที่ 2
เมื่อไรก็ตามที่คุณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ไม่ว่าจะใช้ซื้อของ หรือ จ่ายค่าบริการ หรือ เบิกเงินสดเงินก้อนออกมา บันทึกเอาไว้ให้หมดและตรวจสอบดูด้วยว่า จำนวนยอดหนี้ที่คุณ ๆ ต้องผ่อนชำระนั้นยังไม่เกินไปกว่า 10% ของรายได้ต่อเดือนของคุณ หรือถ้าจะให้ดี คุณควรจะประเมินกำลังรายได้ของตัวเอง และเบิกถอน หรือ กู้เงินไม่มากเกินไปกว่า 20% ของรายได้ทั้งปีของคุณนะคะ ไม่อย่างนั้น คุณจะหงาบเงิบกับการวิ่งวุ่นถอนนี่ไปโปะนู่น ไม่เหลือเงินออม แล้วยังต้องคิ้วขมวดเพราะต้องมานั่งรับสายของทางธนาคารฯ ที่พากันมาเตือนวันครบกำหนดชำระตลอด ๆ ถ้าไม่อยากให้ตัวเองต้องวัน ๆ หนึ่ง นั่งเสียอารมณ์ไปกับหนี้บัตรเครดิต ก็ต้องวางแผนการใช้บัตรเครดิตให้เป็นนะคะ
กติกาข้อที่ 3
เข้าตำรารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชำระร้อยครั้ง ดังนั้นถ้าคิดจะรูดบัตรเครดิต คุณก็ควรศึกษาให้ดี ๆ ว่าเขาคิดดอกเบี้ยคุณอย่างไรบ้าง จะได้รู้ว่าถ้าซื้อของแล้วไปผ่อนจ่ายเขา เราเสียดอกเบี้ยไปเท่าไรกันบ้าง โดยมากทางผู้ออกบัตรก็จะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในกรณีที่เราจ่ายเพียงบางส่วน บางแห่งก็คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เขานำเงินไปจ่ายร้านค้าต่าง ๆ แทนเรา และบางที่เขาก็เริ่มคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่เราค้างชำระเขานั่นแหละค่ะ เราถึงจำเป็นต้องคิดให้ดี ๆ ถ้าไม่อยากจมหนี้บัตรเครดิตในวันข้างหน้าค่ะ
กติกาข้อที่ 4
ความละเอียดรอบคอบเป็นนิสัยเด่น ๆ อีกอย่างของคนรวยค่ะ เมื่อคุณ ๆ ได้รับรายละเอียดการใช้บัตรเครดิตทุก ๆ เดือน คุณต้องดูและเช็คให้ละเอียดนะคะ ว่ารายการตรงกับที่คุณใช้จ่ายออกไปหรือเปล่า ถ้าพบเห็นว่าข้อมูลไม่เหมือนกันกับสลิปที่คุณใช้จ่าย คุณก็ต้องรีบแจ้งกลับไปยังธนาคารผู้ออกบัตรฯโดยทันทีค่ะ เพราะเงื่อนไขอย่างหนึ่งที่มักมีอยู่ในการใช้บัตรเครดิตก็คือ หากคุณแจ้งกลับเขาล่าช้ากว่ากำหนด เขาจะถือว่าคุณได้ยอมรับการใช้จ่ายตามใบแจ้งหนี้ไปเรียบร้อยแล้ว ผิดถูกอย่างไรทีนี้คุณก็ต้องจ่ายให้เขาค่ะ สิทธิและเงินของเรา อย่ามัวรีรอค่ะ ปกป้องกันไว้นะคะ
กติกาข้อที่ 5
ถ้าคุณเลินเล่อเผลอใช้จ่ายเกินตัว คุณจะตกอยู่ในสถานะลำบาก คือ คุณไม่มีเงินมากพอจะไปจ่ายให้ครบตามจำนวนที่เรียกเก็บ หรือ คุณเริ่มจ่ายเงินช้ากว่ากำหนด ซึ่งคุณต้องรู้ไว้เลยว่า ถ้าคุณทำอย่างนั้นคุณจะเพิ่มหนี้ไปอีก 3 เด้ง นั่นก็คือเจอกับค่าปรับเรื่องชำระหนี้ล่าช้า, โดนค่าธรรมเนียมติดตามหนี้ที่คุณเองก็อารมณ์เสียตั้งแต่เขาโทรตามคุณ และ ยังเจอกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีก และถ้าคุณไม่เร่งแก้ไข ไม่รีบไปชำระเงินเขา ปล่อยเวลาออกไปนานเกินกว่า 3 เดือน คุณเองก็จะเสียเครดิต เสียประวัติทางการเงินค่ะ
กติกาข้อที่ 6
ใช้บัตรเครดิตให้เป็น เริ่มต้นที่เลือกบัตรเครดิตที่เหมาะกับชีวิตของคุณ เช่น ถ้าคุณขับรถเป็นประจำ จะดีกว่าหรือเปล่าถ้าคุณจะสมัครบัตรเครดิตที่เขาจะให้ส่วนลดค่าน้ำมันมากถึง 5% ในทุก ๆ การใช้จ่ายที่ปั๊มที่ร่วมรายการ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณเดินทางโดยสารรถไฟฟ้าเป็นประจำ บัตรเครดิตที่ให้โปรโมชั่นเติมเงินค่าโดยสารรถ BTS ผ่านบัตรเครดิตรับส่วนลดทันที ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ตรงกับคุณมากกว่า จริงหรือเปล่าหล่ะคะ
อยากมีบัตรเครดิต สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ สมัครโดยตรงกับธนาคาร สะดวก ปลอดภัย >> คลิก <<