หนี้เสียบัตรเครดิตพุ่ง กว่าล้านบัตร ด้านเครดิตบูโรเริ่มกังวล
เรียกได้ว่าในปีนี้เศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ส่งผลให้ หนี้เสียบัตรเครดิตพุ่ง จนทางเครดิตบูโรเริ่มกังวล ข้อมูลจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโรเผยให้เห็นว่าหนี้เสียจากบัตรเครดิตในไตรมาสแรกของปี 2567 พุ่งสูงกว่า 1 ล้านบัตร คิดเป็นมูลค่ากว่า 64,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 14.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน เราจึงจะพาทุกคนมาร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ และวิกฤตหนี้บัตรเครดิตในปีนี้กัน
วิกฤตหนี้ หนี้เสียบัตรเครดิตพุ่ง เครดิตบูโรเริ่มกังวล หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทย
ช่วงเวลานี้ ต่อให้คุณเป็นพนักงานเงินเดือนที่มีรายได้มั่นคงก็ยังสัมผัสได้ถึงปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพพุ่งสูงเสียจนเงินเดือนที่เราเคยใช้พอในแต่ละเดือนเริ่มกลายเป็นเดือนชนเดือนกันแล้ว ไม่ต้องพูดถึงวิกฤตหนี้เสียบัตรเครดิตพุ่ง เครดิตบูโรเริ่มกังวลเลย เพราะเวลาที่เราเริ่มมีเงินไม่พอใช้ สิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นปลายเดือนไปได้ก็คือบัตรเครดิตนั่นเอง
แต่ก็มีเหตุผลอยู่เหมือนกันว่าทำไมเครดิตบูโรถึงออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้เสียของบัตรเครดิต เพราะจากข้อมูลล่าสุดดูเหมือนว่าจะมีหนี้สินจากบัตรเครดิตที่ไม่สามารถปิดได้พุ่งสูงถึง 1 ล้านใบ และยังต้องจับตามองอีกมากกว่า 190,000 บัตรเลยทีเดียว
ทางผู้จัดการใหญ่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อเครดิตบูโร ได้โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2567 เฉพาะในส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิต โดยฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนในเครดิตบูโรมีข้อที่น่าเป็นห่วงอยู่ 5 ประการ ประกอบไปด้วย
- ตั้งแต่ก้าวเข้าสู่ปี 2567 การชำระหนี้ขั้นต่ำบัตรเครดิตเริ่มต้นอยู่ที่ 8% จากเดิมทีในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ได้มีการผ่อนผันลงมาเป็น 5%
- หากมีการออกกติกาใหม่ จะก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสีย NPLs พุ่งขึ้นหรือไม่ จะทำให้ SM หรือหนี้กำลังจะเสียพุ่งขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า
- ตัวเลขในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยอดหนี้สินจากบัตรเครดิตกว่า 24 ล้านใบ คิดเป็นเงินกว่า 5.5 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 3.2% หากเทียบกับเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว แต่หากเทียบแต่ช่วงสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมา ถือว่าหดตัวลงไป 5.1% ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ
- จากตัวเลขในบัญชีสินเชื่อบัตรเครดิต NPLs คงค้างมากกว่า 90 วัน เป็นจำนวนกว่า 1 ล้านกว่าใบที่คิดเป็นเงินถึง 6.4 หมื่นล้านบาท โตขึ้นกว่า 14.6% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล
- หากดูยอดหนี้สินกำลังจะเสียหรือ SM พบว่ามีบัตรที่ยังชำระหนี้ได้อยู่ แต่เป็นการชำระหนี้แบบตะกุกตะกัก มีความติดขัดอยู่ถึง 1.9 แสนใบ คิดเป็นเงินจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นร่วม 32.4%
จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาถือว่าน่ากังวล เนื่องจาก เพียง 3 เดือนแรกที่มีการปรับยอดชำระขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 3% กลับพบว่านี่กำลังจะเสียพุ่งสูงขึ้นถึง 32.4% นอกจากนี้ ยังโตจากช่วงปลายปี 2566 กว่า 20.6% อีกต่างหาก ซึ่งปัญหาการชำระหนี้บัตรเครดิตก็มาจากเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว เศรษฐกิจเปราะบางจนถึงขั้นนุ่มนิ่ม สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการชำระหนี้สินเชื่อบัตรเครดิตเริ่มเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับประชาชน
สถานการณ์สินเชื่อ บัตรเครดิต Gen Y และ X เข้าขั้นวิกฤต
ทางผู้จัดการใหญ่เครดิตบูโรได้มีการเปิดเผยกราฟแสดงตัวเลขเกี่ยวกับสินเชื่อบัตรเครดิตในส่วนที่เป็น SM หรือหนี้สินกำลังจะเสีย ตรวจสอบว่าบัตรเครดิตเกือบ 200,000 ใบที่กำลังน่าเป็นห่วงมีการเปิดบัตรมานานแค่ไหนแล้ว โดยสามารถแจกแจงข้อมูลได้ ดังนี้
- บัตรเครดิตที่เปิดมามากกว่า 4 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี จำนวน 45,000 ใบ เป็นของคน Gen Y 30,000 ใบ เป็นของคน Gen X 12,000 ใบ
- บัตรที่เปิดมามากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 4 ปี จำนวน 39,000 ใบ เป็นของคน Gen Y 27,000 ใบ เป็นของคน Gen X 9,200 ใบ
- บัตรที่เปิดมาไม่เกิน 2 ปี จำนวน 36,000 ใบ เป็นของคน Gen Y 23,000 ใบ
คนที่อยู่ใน Gen X และ Gen Y ถือเป็นคนวัยทำงานสำหรับช่วงเวลานี้ จึงไม่น่าแปลกใจหากตัวเลขผู้ถือบัตรเครดิตที่กำลังจะกลายเป็นหนี้สินกำลังจะเสียส่วนใหญ่จึงเป็นคนสอง Generation นี้ แต่ในขณะเดียวกันเองก็สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคนวัยทำงานที่กำลังเผชิญเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงินเช่นกัน
เพราะเราต้องไม่ลืมว่าช่วงเวลานี้คนทั้งสอง Generation กำลังแบกรับภาระถึง 2 ทาง ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ที่มีอายุมากขึ้นจนมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ในขณะเดียวกันเองคน Gen Y ก็กำลังมีลูกเล็ก ส่วนคน Gen X ลูกก็กำลังจะเรียนจบในอีกไม่ช้า เมื่อค่าใช้จ่ายมารุมที่คนคนเดียวในครอบครัว จึงทำให้เกิดปัญหาหนี้สินบัตรเครดิตตามมานั่นเอง
สรุปแล้ว หนี้เสียบัตรเครดิตพุ่ง เครดิตบูโรเริ่มกังวล ถือเป็นการสะท้อนสัญญาณเตือนวิกฤตเศรษฐกิจที่ใกล้เข้ามา ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง ขณะเดียวกันเองเราก็ต้องมีสติในการใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิต ต้องมีการวางแผนการใช้เงิน และเก็บเงินให้ดี ไม่อย่างนั้น เราเองอาจจะกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่ประสบปัญหาวิกฤตหนี้บัตรเครดิตในอนาคตได้เช่นกัน